ถาม :  เนกขัมมะนี่เป็นกำลังใหญ่มั้ยครับ ?
      ตอบ :  สำคัญมากเลย เพราะว่าถ้าหากว่าตราบใดที่จิตของเรายังผูกพันกับกามฉันทะนี่โอกาสจะหลุดพ้นมันยาก มันเป็นวังวนใหญ่ที่จะดึงดูดเราให้หลุดพ้นได้ยากที่สุด พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ชัดเลยว่า เรื่องของการเสพกามอย่างหนึ่ง เรื่องของการอยู่ในอำนาจอย่างหนึ่ง เรื่องของการนอนอย่างหนึ่ง เรื่องของการกินอย่างหนึ่ง ทำอย่างไรคนก็ไม่เบื่อ เดี๋ยวมันก็หวนกลับไปอีกอยากอีก มีอีกเป็นอีก
              หลักการของต่าง ๆ ของมันฟังดูดีอยู่นะ เคยได้ยินมั้ย ๕ ม. ของมันน่ะมี มังสะกินเนื้อ มัทนะกินเหล้า มันตรามีการท่องมนต์ มุทรามีการร่ายรำ เมถุนมีการเสพกาม เขาบอกว่าถ้าหากว่าทำจนถึงที่สุดมันจะเบื่อไปเอง เป็นไปไม่ได้ ถ้าหากไม่ใช่บุคคลที่เห็นภัยในวัฏฏะสงสารจริง ๆ จะไม่มีวันที่จะปลีกตัวออกจากกาม มีแต่จะขลุกอยู่กับมัน
      ถาม :  ยกเว้นว่าต้องมีของเก่าช่วยจริง ๆ ถึงจะออกมาได้ ?
      ตอบ :  ไม่งั้นรอดยาก ตำราของตันตระเขาบัญญัติขึ้นมาเลย แต่ว่าจะทำอย่างไรก็บรรลุไม่ได้ แต่ว่าคนมันชอบ ในเมื่อเป็นสิ่งที่คนชอบมันก็เอา ถึงเวลาก็สมัครเป็นลูกศิษย์กันเป็นแถว
      ถาม :  กิเลสมันก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ ?
      ตอบ :  ก็คนกินเหล้าจะหลุดพ้นได้อย่างไร สติสัมปชัญญะมันไม่มี โอกาสของมันมีอยู่อย่างเดียว ตัวมันตราการท่องบ่นภาวนา ทีนี้พอมันเลิกท่องบ่นภาวนาไปขลุึกอยู่กับ ๔ ตัวมันก็เจ๊งแล้ว ก็ยังดีมันมีความดีขึ้นมาเป็นพัก ๆ
      ถาม :  แล้วอย่างท่องบ่นภาวนานี่ ยิ่งท่องมันก็ยิ่งคล่องมันก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ ?
      ตอบ :  ตัวสมาธิมันมีนะ เมื่อสมาธิทรงตัวขึ้น ปัญญามันก็มี กูไม่น่าจะต้องมาเหนื่อยอยู่อย่างนี้เลย มันน่าจะมีวิธีที่ง่ายกว่านี้
      ถาม :  จริง ๆ กามก็มีประโยชน์เหมือนกันใช่มั้ยครับ ?
      ตอบ :  มีอยู่ ทุกอย่างถ้ามันพอดีมีประโยชน์ แต่คนเรามันไม่ค่อยพอดีหรอก มันไม่ขาดก็เกิน
      ถาม :  อย่างบางครั้งเราต้องอาศัยเสียงเพลงเพื่อคลายเครียดบ้าง อะไรบ้าง ?
      ตอบ :  ใช่ แต่คราวนี้มันก็ต้องระวังสุดขีด เผลอไม่ได้เผลอเมื่อไหร่ก็จะไหลตามเพลง อาตมาโดนถีบลงน้ำทั้ง ๆ ที่เป็นพระก็เพราะไหลตามเพลง
              เข้าไปที่เมืองลับแล เข้าไปใหม่ ๆ ก็ไม่ีมั่นใจว่าจะมีอันตรายหรือเปล่า ใจมันทรงตัวเป๊ะเลย อยู่นั่นตลอด ๕ วันไม่มีคลายเลยแม้แต่นิดเดียว ทีนี้ตอนเดินทางกลับพอผ่านป่าใหญ่มาถึงจุด ๆ หนึ่งจำได้ว่า หลังจากตรงนี้ไปไม่นานจะมีหมู่บ้าน ใจมันก็คลาย สบายใจแล้วอีกนิดหนึ่งก็จะถึงบ้านคนยังไงรอดแน่ มันแทนที่จะภาวนามันก็ดูฟ้าดูดินเห็นบรรยากาศใจก็ไหลเป็นเพลงตามที่เคยได้ยินมา ไม่รู้ใครเมตตาถีบโครมเดียวหัวทิ่มลงห้วยไปเลย หน้าหนาวด้วยเปียกหัวถึงตีนเลย สั่นแหง็ก ๆ สมน้ำหน้า
      ถาม :  อย่างนี้ก็เลยไม่แน่ใจว่าดีมั้ย ถ้าเผลอไหลไปตามเพลงนี่ช่วยได้มั้ย ?
      ตอบ :  ก็มีการผ่อนสั้นผ่อนยาวไง ลักษณะของพระมีการเปลี่ยนอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เอาท่าเดียวนาน ๆ ไม่ไหวร่างกายมันแย่ ถึงเวลาก็ไปเดินดูฟ้าดูดินบ้าง แทนที่เราจะไปประเภทนั่งภาวนาอย่างเดียว อาจจะไปรดน้ำต้นไม้บ้าง อาจจะไปกวาดลานวัดบ้าง จับอริยาบถต่อไป พอถึงเวลามันคลายขึ้นมาบ้าง หายเครียดก็ไปนั่งภาวนาของเราต่อ เดินจงกรมของเราต่อ
      ถาม :  ใ้ห้เราเข้าฌานได้ทุกสภาวะ แล้วเวลาเดินแล้วมันค้างเราจะทำอย่างไรคะ ?
      ตอบ :  ก็ถ้าหากว่ามันค้างก็ลดลงมาเหลือแค่ ๒ หรือ ๑ มันก็เดินต่อได้แล้ว
      ถาม :  คลายออกใช่มั้ยคะ ?
      ตอบ :  ถอยมันลงมาหน่อยแล้วก็เิดินต่อไป เสร็จแล้วก็ตั้งท่ายื้อกับมันหน่อย ดูซิจะไปได้มั้ย ? เหมือนกับเข้าเกียร์รถไว้แล้วลองพยายามเข็นดู ปกติรถเข้าเกียร์อยู่ ถ้าเครื่องมันติดมันไปได้ใช่มั้ย ? ทีนี้เราจะเข็นให้มันไปเครื่องมันติดน่ะซิ
      ถาม :  ทีนี้เข็นไปแล้วก็จอดใช่มั้ยคะ ?
      ตอบ :  ก็เข็นไปนี่เครื่องมันติดเลย จริง ๆ แล้วไม่ต้องมาต่อก็ได้ มันเป็นเองแล้ว ต่อไปมันจะรู้วิธีแล้วว่าแค่ไหนพอดี มีอยู่ช่วงที่ฝึกใหม่ ๆ ยังทำอยู่ เดินจงกรมทั้งวัน ภาวนาทั้งวัน นับลูกประคำทั้งวันหรือประเภทนั่ง ๆ นอน ๆ ทั้งวัน ประเภทใครเห็นต้องว่าบ้าแน่ ๆ นั่งลงไปแล้วก็นอน ๆ อยู่แค่นี้ แต่ความจริงแล้วเราก็ทรงสมาธิ่ตามลำดับของมัน พอเรานอนก็เต็มที่ของมันเลย เวลาคลายก็เต็มที่ของมัน โอ๊ะ...สนุกมากเลยช่วงนั้น แต่คนเห็นว่าเราบ้าทุกคน นั่ง ๆ นอน ๆ
      ถาม :  เหมือนคุณพ่อเลยค่ะ นั่ง ๆ นอน ๆ เหมือนคนบ้า จะพาไปโรงพยาบาล คุณพ่อบอกไม่ต้องไม่เป็นไร ไม่ต้องพาไปก็ไม่มีใครเชื่อ ?
      ตอบ :  ไม่มีใครเชื่อหรอก เพราะคนบ้าบอกตัวเองไม่บ้าสักราย
      ถาม :  คนเราเกิดมาจะมีกรรมใช่มั้ยครับ คือคนแวดล้อมที่จะทำกับเราจะเกิดกับเราในลักษณะนี้ ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร ?
      ตอบเกิดจากเราทำเอาไว้เอง ทุกอย่างที่เราทำ ....เลิกเกิด....เป็นวิธีแก้ที่ง่ายที่สุด ถ้าเลิกเกิดก็ไม่มีปัญหาอะไร ทุกสิ่งที่เราทำไว้ไม่ว่าดีหรือชั่ว ถึงเวลาผลจะเกิดกับเรามันจะส่งผลกระทบมารอบด้านเลย
      ถาม :  จะมีทางบรรเทามั้ยในกรณีไม่ดี ?
      ตอบ :  ถ้ามันดีจะบรรเทาทำไม ในกรณีไม่ดีก็โดยการสร้างบุญใหญ่ขึ้นมาแทน ในเมื่อเราสร้างบุญใหญ่ขึ้นมาแทนกำลังบุญมันสูง มันก็จะห่างกรรมไปชั่วระยะหนึ่ง ถึงเวลากำลังบุญมันต่ำลงกรรมมันก็ตามทันอีก ก็ต้องทำใหม่ ที่เขาเรียกว่าสะเดาะเคราะห์ จริง ๆ คือหลอกให้เราทำบุญใหญ่ บุึญทั้งหมดก็อยู่ที่ทาน ศีล ภาวนานั่นแหละ บุญกิริยาวัตถุคือ สิ่งที่เราทำมี ๑๐ อย่างด้วยกันสำคัญที่สุดตรง ๓ ข้อแรก คือ ทาน ศีล ภาวนา เพราะเป็นบุญใหญ่ โดยเฉพาะทานนี่เขาจะเน้นในวิหารทาน ธรรมทาน
      ถาม :  แล้วต้องแผ่เมตตาด้วยใช่มั้ยครับ ?
      ตอบ :  ทำด้วยก็ดี
      ถาม :  ถ้าใช้ปัญญาทางโลกในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ นี่ก็ไม่รู้จบ ?
      ตอบ :  ก็ไม่รู้จบ วิชาโลกเรียนเท่าไรไม่รู้จบ
      ถาม :  คือกรรมมันก็จะสนองอยู่อย่างนั้น แก้ไปก็ไม่จบ ?
      ตอบตราบใดที่เรายังมีการกระทำอยู่ ตราบนั้นมันก็จะให้ผลไปเรื่อย ๆ เหมือนกับว่าที่เราไปนั่งหมุนกงล้อ ถ้ายังหมุนอยู่กงล้อมันก็วนไปเรื่อย ๆ เลิกเมื่อไรมันก็หยุด
      ถาม :  ขอยกเหตุการณ์จริง ๆ นะครับ สมมติถ้าเราพูดในแนวที่่ว่าใช้ความรู้มาก ซึ่งคนบางคนอาจจะไม่ชอบ แล้วถ้าเรารู้ว่าจุดนี้คือจุดปัญหา แล้วเราแก้ได้อย่างนี้จะตัดปัญหาได้มั้ยครับ นี่เราใช้ปัญญาทางโลก ?
      ตอบ :  ไม่ได้แล้ว สมมติว่ามีคนฟังอยู่ ๑๐ คน แล้วคนโน้นไม่ชอบพูด อีก ๙ คนเตะคุณเพราะมันจะฟัง มันมีแต่ปัญหาไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ
      ถาม :  ในเมื่อถูกหรือผิดก็เป็นสิ่งสมมตินี่แล้วเราจะยึดหลักอะไร ?
      ตอบ :  ก็ยึดตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอน สิ่งที่ท่านว่ามาเป็นสิ่งที่ตรงและง่ายที่สุด สั้นที่สุดในการตัดกระแสกรรมให้มันน้อยลง
      ถาม :  ในการที่ต้องอยู่ในทางโลกล่ะครับ ?
      ตอบ :  ก็ศีลเป็นเครื่องวัด เราเอากรอบแค่ศีลไป อย่าให้มันล้นกรอบ
      ถาม :  เวลาเราต้องตัดสินใจทำในหน้าที่การงาน ?
      ตอบ :  ก็ต้องไม่ประกอบด้วยอคติ ๔ ต้องตรงไปตรงมาจริง ๆ อคติ ๔ ก็ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะโกรธ ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะหลง มันจะอดไม่ได้หรอก อาตมานี่ลำเอียงไม่มีหรอก
              สมัยเป็นฆราวาสฝึกมาดี หลวงพ่อท่านสอนไว้เยอะ พอถึงเวลาวันเกิดคนมันเยอะ เฝ้าประตูกั้นเอาไว้ โอ๊ย...สารพัดเลย คนโ้น้นก็เส้้นใหญ่ คนนี้ก็เส้นโต พอมาถึงก็ประกาศตนฉันเป็นคนนั้น ฉันเป็นคนนี้ต้องเข้าหาหลวงพ่อได้ บอกหันไปดูข้างหลังโน่นแน่ะ แม่ผมเองผมยังไม่ให้เข้าเลย ยังไม่ถึงคิว ขนาดแม่ตัวเองยังไม่ให้เข้า คนอื่นไม่ต้องอ้างเลย ฝึกเอาไว้ดีเรื่องอคติไม่ค่อยมี
      ถาม :  ฝึกยังไงล่ะครับ ?
      ตอบ :  จริง ๆ มันก็คือ ตัวสติ สมาธิมันต้องทัน ถ้าหากไม่ทันปุ๊บ มันก็อดไม่ได้ ระหว่างสมมติว่าผู้หญิง ๒ คนนั่งอยู่ตรงหน้าเราอย่างนี้ คนหนึ่งสวยคนหนึ่งไม่สวย นี่เจ๊งแล้วอย่างนี้ใจเราจะเริ่มลำเอียงแล้ว ตัวนี้เขาเรียก ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักก็จะไปลำเอียงว่าคิดว่าคนนี้ต้องดีแน่ กว่าจะรู้ตัวว่าแม่เจ้าประคุณไม่ดีก็หลงเมตตาสงเคราะห์ไปซะบานแล้ว
      ถาม :  ต้องประกอบไปด้วยสติเหรอครับ ?
      ตอบสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน มีสติอย่างเดียวปัญญาไม่พอก็ไม่กล้าทำอะไร จด ๆ จ้อง ๆ อยู่นั่นแหละ กลัวผิดกลัวพลาด มีปัญญามากไป สติไม่พอก็โฉ่งฉ่าง เดี๋ยวก็หกล้มหัวแตก ๒ อย่างมันต้องไปพร้อมกันมันถึงจะเกิดประโยชน์
      ถาม :  ถ้าขาดทั้ง ๒ อย่างล่ะครับ ?
      ตอบ :  ขาดทั้ง ๒ อย่างก็เกิดอีกนาน
      ถาม :  พระแต่ละองค์นี่เลือกวัดอย่างไรครับ ว่าจะอยู่วัดไหน ?
      ตอบ :  อันนั้นไม่ต้องเลือกหรอก ถ้าหากว่าเราเป็นฆราวาส แล้วเราชอบวัดไหนก็บวชวัดนั้นก็อยู่วัดนั้นแหละ ยกเว้นถ้าถึงเวลาไม่ชอบก็มีเหมือนกัน ทำเรื่องโยกย้ายได้อยู่เหมือนกัน แต่มันลำบากหน่อย ถ้าหากว่าตามหนังสือสุทธิพระนี่คุณมีสิทธิย้ายได้ถึง ๑๐ ครั้ง ครั้งที่ ๑๑ มันย้ายไม่ได้แล้ว ช่องที่จะให้กรอกมันหมด คนเราถ้ามันย้ายได้ถึง ๑๐ ครั้งนี่มันคบยากแล้วนะ
      ถาม :  เคล็ดลับในการซ่อนความจำที่ไม่รู้ลืม ?
      ตอบ :  โอ้โห...จริง ๆ แล้วมันต้องลืมนะ ถ้าหากว่าไม่รู้ลืมนี่กำลังสมองมันไม่พอที่จะเก็บเอาไว้ ถ้าหากว่าสมาธิของเราดีนี่ความจำจะแม่นยำ ถึงเวลามันจะจัดหมวดหมู่เก็บของมันเองแต่ละไฟล์ของมันจะเก็บซุกเงียบไม่รู้อยู่ตรงไหน พอถึงเวลาปุ๊บ มันจะโผล่ขึ้นมาเอง
              บางคนเขาจะแปลกใจว่าคนมาที่นี่ไม่รู้จักเท่าไหร่ ต่อเท่าไหร่ แต่ทำไมเราจำเขาได้ทุกคน ถึงเวลาทำบุญไม่ต้องไปถามชื่อถามเสียงใหม่ จดได้ถูกต้อง จริง ๆ แล้วเราจำคนเดียวคือ คนที่มาใหม่ที่เหลือมันจำได้แล้วนี่ เพราะฉะนั้นพอจำคนเดียวมันจำง่าย แต่พอบอกคนอื่นเขาหาว่าบ้าจำคนเดียวจริงมั้ยล่ะ ? จำคนเดียว คนมาใหม่
      ถาม :  จำคนมาใหม่แต่คนเก่าก็ยังต้องอยู่นี่คะ ?
      ตอบ :  ก็มันจำแล้วไง
      ถาม :  เคล็ดลับตรงจำคนที่อยู่นี่ค่ะ ?
      ตอบ :  ถ้าหากว่าสมาธิดี พระพุทธเจ้าท่านกล่าวเอาไว้ว่า บุคคลที่ีมีสติตั้งมั่น บุคคลที่มีใจตั้งมั่นท่านใช้คำว่าระลึกถึงเรื่องที่ทำมานานแล้วได้ ระลึกถึงเรื่องที่พูดมานานแล้วได้ ถ้าหากว่ากำลังใจตั้งมั่นแล้ว ตัวความจำมันก็จะดีตามไปด้วย หรือถ้าหากว่าอยากจะอัจฉริยะจริง ๆ ก็ชาตินี้ถวายพระไตรปิฎกสักตู้หนึ่ง พอถึงเวลาเกิดใหม่ชาติใหม่ ทีนี้เรียนด๊อกเตอร์ ๓ ใบก็ยังไม่หายมันเลย อย่างอื่นมันง่ายไปหมด
      ถาม :  หาแนวร่วมได้มั้ยคะ ?
      ตอบ :  ได้จ้าได้ ถึงเวลาถ้ากำลังเราไม่พอ คนอื่นให้เขามีส่วนด้วย ถ้าไปฉลาดพร้อม ๆ กัน แล้วจะไปหลอกเขาอย่างไรล่ะ มันต้องฉลาดคนเเดียวสิ
      ถาม :  ต้องถวายฉบับไหนครับ ฉบับประชาชน ?
      ตอบ :  เลือกเอา จริง ๆ แล้วหนังสือทุกประเภทถือเป็นธรรมทานหมด เพียงแต่ว่าประโยชน์มันมากน้ิอยต่างกันทำให้อานิสงส์มันมากน้อยต่างกันไปด้วย ถ้าจะเอาให้ชัวร์ ๆ เลยก็พระไตรปิฎกนั่นแหละ เพราะเป็นการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจริง ๆ
      ถาม :  ต้องเป็นภาษาบาลีมั้ยครับ ?
      ตอบ :  บาลีมันทำให้ต้องลำบาก ต้องแปลอีก ภาษาไทยก็ได้ ฉบับของ ส.ธรรมภักดี สยามรัฐ อะไรก็ได้
      ถาม :  คน ๒ คนที่ีมีกรรมกันแล้วทะเลาะกันโกรธกัน สมมติว่าอีกคนยอมปรับตัว แต่ว่ายังมีกรรมกันอยู่นี่จะเกิดอะไรขึ้นครับหรือว่าจะมีเรื่องใหม่อีก ?
      ตอบ :  ถึงเวลาผลมันก็จะสนองไปอีก ถ้าหากว่าพูดถึงในปัจจุบัน ถ้าฝ่ายหนึ่งยอมปรับตัวอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับได้มันก็ดีกันได้ แต่ว่าสิ่งที่ทำไปแล้วม้ันก็ส่งผล มันไม่ได้ส่งผลในปัจจุบัน แต่มันส่งผลในอนาคต สิ่งที่เราทำในปัจจุบันจะเป็นผลในอนาคต ถ้าไม่ได้เอ่ยขออโหสิกรรมต่อกัน ผลอันนั้นก็จะไปเกิดในอนาคตอีก
      ถาม :  เกิดเป็นคนอื่นหรือเป็นคนเดิม ?
      ตอบ :  อาจจะเป็นคนเดิมหรือคนอื่นอาจจะสร้างผลอันนี้ให้กับเรา ในลักษณะเดียวกันในแบบเดียวกันต้องรับแน่ ๆ จริง ๆ ถ้าขออโหสิกรรมได้ตรงที่สุดจะใช้วิธีไหนก็ได้ว่าสิ่งทั้งหมดที่เราได้ล่วงเำกินเธอมาทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันขอให้เป็นอโหสิกรรมได้มั้ย ? ถ้าเขาโอเครับได้ก็จบเลย เพราะฉะนั้นไปหาทางหลอกให้เขาพูดให้ได้ก็แล้วกัน จะเต็มใจหรือไม่เต็มใจถ้าคุณหลุดปากออกมาก็เจ๊ํงแล้ว ไม่เต็มใจจะให้แต่เผลอไปเซ็นแล้วผลตามกฎหมายมันมีแล้วนี่
      ถาม :  คิดว่าเราไม่รู้จักกับเขาเลย ไม่อยากผูกกรรมกับเขา ?
      ตอบถ้าหากว่าเราไม่ต้องการผูกกรรม กำลังใจเราคลายฝ่ายเดียวก็โดนเขาตีฝ่ายเดียว เราเองจะทนไปได้กี่ชาติก็ไม่รู้ ให้เขาอโหสิกรรมนี่เป็นการแก้ไขโดยตรง หรือไม่อีกทีหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์เสีย
              ถ้าเป็นพระอรหันต์นี่ท่านบริสุทธิ์เสียจนกระทั่งกรรมต่าง ๆ มันจะตามไม่ทัน มันจะเป็นการอโหสิกรรมโดยอัตโนมัติ แต่ว่าตราบใดที่ท่านยังมีร่างกายอยู่กระแสกรรมมันก็เศษกรรมมันจะทวงได้ แต่ว่ากรรมใหญ่ที่ทำไว้จะจบลงหมดเกลี้ยง
      ถาม :  แล้วอย่างที่คนเสียชีวิตไปแล้วเราไปขออโหสิกรรมนี่ เป็นการขออโหสิกรรมของเรา ?
      ตอบ :  อันนี้เราฝ่ายเดียวแน่ ๆ ยกเว้นว่าเขาจะโผล่หน้าออกมาบอก เออ ยกโทษให้ แล้วเราก็ช็อก (พูดถึงการใช้มโนมยิทธิ) ความจริงก็น่าภูมิใจนะต่อหน้าครูเก่งเป็นบ้าเลย ลับหลังครูไปไม่เป็น มันก็สไตล์เดียวกันนั่นล่ะ เคล็ดลับมันมีอยู่แค่นั้น แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า สภาพของจิตเราไม่มีอะไรขวางได้
              อย่างเช่นเรานึกถึงบ้านตอนนี้ ถ้าคนที่ได้อภิญญาหรือทิพจักขุญาณจะเห็นตัวเราไปยืนอยู่ที่บ้านเลย แค่นึกก็ถึงแล้ว ไม่ต้องเปิดประตู ไม่ต้องลงบันได ไม่ต้องขับรถ ไม่ต้องขึ้นรถเมล์ ไม่ต้องนั่งรถแท๊กซี่ แสงว่าเดินทางด้วยความเร็ว ๑๘๖,๐๐๐ ไมล์ต่อนาที แต่ว่าจิตมันเร็วกว่านั้น เรานึกถึงดวงอาทิตย์ นึกถึงแค่นั้นมันถึงแล้ว แสงมันใช้เวลา ๘ นาทีกว่า ๆ เ้พราะฉะนั้น มันไม่มีอะไรจะมาขวางความเร็วของจิตได้ แค่นึกก็ถึงแล้ว
              เมื่อครูฝึกเขาบอกว่าให้ยกจิตขึ้นสู่จุึฬามณีเจดีย์สถาน ให้นึกเดี๋ยวนี้เลย ให้เราหยุดอยู่ตรงหน้าจุฬามณี ถ้าเขา่ถามว่าจุฬามณีมีสภาพอย่างไร ความรู้สึกแรกบอกว่ายังไงให้บอกตามนั้นเลย ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนคนอื่นเขา โดยเฉพาะถ้าฝึกร่วมกันนี่ ถึงเวลาคนหนึ่งเขาตอบอย่างนี้่ แล้ว เอ๊ะ....เรารู้สึกไม่เหมือนเขาแล้วไปตอบอีกอย่างหนึ่งเจ๊งเลย คนที่ัมันจะรู้สึกเหมือนกันตอบเหมือนกันมันต้องลงที่เดียวกัน
              สมมติว่าเรามาจากกรุงเทพมาลงบางแค อีกคนไปลาดพร้าว อีกคนไปพระโขนงโน่น มาจากกรุงเทพเหมือนกันใช่มั้ยล่ะ ? แล้วมันจะเห็นเหมือนกันมั้ยล่ะ ? โลกของเราทั้งโลกหย่อนลงไปสวรรค์ชั้นหนึ่งมันเท่ากับส้มใบเล็ก ๆ ในเข่งเท่านั้นเอง สวรรค์มันใหญ่กว่านั้นเยอะ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าตอบไปคนละทิศคนละทางคนละเรื่้องคนละโลกกับเขาก็ไม่ต้องสงสัย เพราะว่านั่นคือที่ ๆ เราไป ขณะที่เขาตอบคือที่ ๆ เขาไป เราต้องมั่นใจในตัวของเราเอง เอาความรู้สึกแรกเป็นหลัก
              แรก ๆ มันจะมองไม่เห็นเพราะว่าส่วนใหญ่แล้วสมาธิมันไม่ดี การตัดกิเลสมันก็ไม่คล่องตัว ก็เหมือนกับคลำของในที่มืด เขาส่งของให้เราชิ้นหนึ่ง เราก็ต้องหลับตา ไม่หลับตาก็มองไม่เห็น คลำไปคลำมาซักพักหนึ่งก็ตอบได้ สมมติว่าสมุดเล่มนี้พอถึงเวลาก็บอกว่าได้ว่าสมุด ถ้าคลำบ่อย ๆ จับบ่อย ๆ ก็บอกได้เลยว่าสมุด ความคล่องตัวมันจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
              คราวนี้ก็จะสู่ขั้นตอนที่ลำบาก เพราะว่าถึงเวลานั้นกำลังใจของเราจะมั่นคง เมื่อกำลังใจของเรามั่นคง สมาธิเริ่มทรงตัวภาพจะปรากฎ มันลำบากตรงไหน มันลำบากตรงความเคยชินของเรา เราเห็นภาพด้วยตาจนเคย พอถึงเวลาภาพปรากฏปั๊บ อยากจะให้ชัดมากกว่านั้นโดยที่ไม่นึกถึงข้อจำกัด
              ข้อจำกัดก็คือว่ามีพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่มองเห็นอะไรชัดโดยตลอดไม่มีอะไำรปิดบังเหมือนอย่างกับยามเที่ยง พระปัจเจกพุทธเจ้าได้อย่างกับคืนวันเพ็ญ มันก็ยังมีที่หลบมุมได้บ้างอะไรได้บ้างใช่มั้ย ? พระอัครสาวกนี่เหมือนกับคบไฟดวงใหญ่ ถึงสว่างอย่างไรรอบข้างมันก็มืดเยอะ พระอริยเจ้าทั่ว ๆ ไป เหมือนแสงเทียนดวงน้อย ของเรานี่ถ้าได้มโนมยิทธิจริง ๆ ยังไม่ได้เป็นพระอริยเจ้าคือทรงฌานโลกีย์มันเหมือนกับพระอาิทิตย์โพล้เพล้ยามค่ำ ทีนี้โพล้เพล้ยามค่ำบางทีมันเหมือนค่ำสนิทจริง ๆ เราไม่นึกถึงข้อจำกัดตรงนี้ ก็จะใช้สายตาเพ่งเพื่อให้มันชัด เราต้องไปถึงสถานที่นั้น เราถึงเห็นภาพได้ การใช้สายตามันต้องนึกถึงตา นึกถึงตาคือนึกถึงตัว เท่ากับเราดึงจิตย้อนกลับ ภาพมันจะหายไป ทีนี้เราก็มานั่งกลุ้มซิ ทำไมถึงหายไปนะ ยิ่งฟุ้งซ่านก็ยิ่งหาภาพไม่เจอ พอใจสงบภาพมาปรากฎอีกเพ่งอีก ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นักปฏิบัติติดกันมาก
              อาตมาเองก็ติดอยู่เป็นปี ๆ จนกว่าเราจะทำใจได้ว่า ก่้อนหน้านี้ ความรู้สึกของเราก็ถูกต้องแม่นยำดีอยู่แล้ว ภาพนี้จะปรากฏหรือไม่ปรากฏก็ช่างเถอะ เราพอใจแค่นี้ล่ะ เห็นก็เอาไม่เห็นก็เอา ถ้าอย่างนั้นภาพจะปรากฏแล้วทรงตัวได้นาน คราวนี้นึกออกมั้ยว่าของเราผิดพลาดตรงไหนมันถึงไม่ได้ซะที อย่าบอกนะว่าทุกขั้นตอน จำไว้นะว่าอย่าอยาก