ถาม:  เวลานั่งกรรมฐานชอบฟุ้งไปเรื่องอื่น ?
      ตอบ :  ให้หยุดอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก มันก็หยุดฟังแล้วจ้ะ ง่ายดีนะ
      ถาม :  มันหยุดเรื่องนี้ เดี๋ยวจิตก็ไปคิดเรื่องหนึ่ง
      ตอบ :  นั่นล่ะจ้ะ พยายามดึงมันกลับบ่อย ๆ เหมือนกับเราถือเชือกที่ผูกคอลิงอยู่ ลิงมันวิ่งไปก็ดึงมันกลับ วิ่งไปก็ดึงมันกลับ ดึงไปดึงมาเดี๋ยวลิงมันเหนื่อยมันก็ยอมอยู่เฉย ๆ เอง เพียงแต่ตอนที่ดึงนั้นเราจะมีความอดทนมากไหม เขาถึงได้บอกว่าขันติบารมี ๑ ในบารมี ๑๐ ที่จะทำให้เราเข้าสู่พระนิพพานได้ ของเราส่วนใหญ่แล้วอดทนไม่พอ ใจร้อนรุ่นใหม่ใจร้อน ทำปุ๊บจะให้ได้ปั๊บเลย
      ถาม :  ท่านพูดอยากได้เลย ...(ไม่ชัด)....?
      ตอบ :  นั่นมันทุกข์ตั่งแต่เริ่มอยากแล้ว เริ่มอยากก็เริ่มทุกข์แล้ว อยากได้ดีมันก็ทุกข์
      ถาม :  พอไม่ฟุ้งก็ง่วงนอน?
      ตอบ :  เขาพยายามจะขวางเราทุกวิถีทางเพราะว่า การปฏิบัติในทาน ศีล ภาวนา จะให้ไปนิพพานได้ง่าย ในการทำอย่างอื่นมันยังยากแต่ ๆ ๓ อย่างนี้ไปได้ง่าย ในเมื่อไปได้ง่ายกำลังมันสูง มารก็ต้องขวางให้เต็มที่ เขาก็แกล้งเราสารพัดวิธี
      ถาม :  คือพอจะเผลอก็หาว ภาวนาไปปะติดปะต่อ?
      ตอบ :  เปลี่ยน ถ้านั่งเฉย ๆ บางทีเป็นเดิน เดินเป็นก็หยุดยืน ยืนเป็นก็หยุดนอน
      ถาม :  นอนก็จะหลับ ?
      ตอบ :  นอนแล้วหลับก็แย่หน่อย เพราะว่าต้องทำให้ได้ว่าหลับและตื่นเรารู้ตัวเท่ากันถ้าหลับและตื่นรู้ตัวเท่ากัน แรก ๆ อาตมากว่าจะหัดได้นี่หลับไปเสียมาก ระยะหลัง ๆ ใช้วิธีเปิดเทปหลวงพ่อแล้วตั้งใจว่าเราจะฟังให้ได้จนถึงคำสุดท้าย จะต้องรู้เรื่องให้ได้ตลอด แล้วก็พยายามตั้งสติเอาไว้มันก็เลยอยู่ได้ พออยู่ได้ตอนนั้นหลับและตื่นอารมณ์ใจมันเท่ากัน เอาอารมณ์ตอนนั้นไม่มากหรอกแค่ปฐมฌานละเอียดก็ทำอย่างนั้นได้แล้วในเมื่อถึงระดับนั้นได้แล้วตอนนี้เราก็คอยนะวังรักษาใจเรามันจะคอยระวังอยู่ตลอดเวลา มีความชั่วอยู่ใหม ถ้ามีขับไล่มันออกไป ระวังไว้อย่าให้มันเข้ามา มีความดีอยู่ไหม ถ้าไม่มีสร้างมันขึ้นมา ถ้ามีแล้วทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
      ถาม :  ให้ทำแบบเปิดเทปแล้วง่วงนอนก็นอนฟัง ทีนี้หลับไปเลยมาตื่นตอนเทปมันติดดังตึ๊บ ?
      ตอบ :  อันนั้นก็ยังดีเพราะถ้าจิตมันไม่ถึงปฐมฌานหยาบเป็นอย่างน้อยมันก็ไม่หลับ มันต้องทรงฌานได้ มันหลับ เคยสังเกตไหมจิตที่ว้าวุ่นคิดไปคิดมามันไม่หลับหรอก ตัวที่คิดไปคิดมาไม่หลับนั้นคือ อุทธัจจะฟุ้งซ่าน เราจะตัดพวกนิวรณ์กิเลสหยาบพวกนี้ได้อย่างน้อยต้องเป็นปฐมฌาน ถ้าอย่างนั้นก็ดี ดีใจที่อย่างน้อย ๆ เราก็เป็นปฐมมฌานหยาบไปพรหมชั้นที่ ๑ ได้
      ถาม :  บางทีภาพเหตุการณ์เก่า ๆ มี่เราเป็นเด็ก หรือว่าอะไร ชอบย้อนกลับมา ?
      ตอบ :  รีบไล่มันออกไปให้เร็วที่สุด ไม่มีอะไรดีเลยไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เราพอใจหรือไม่พอใจก็แล้วแต่จิตที่ส่งไปในอดีตหรืออนาคตพาให้ทุกข์ทั้งนั้นแล้วอีกอย่างถ้าเรามัวไปคิดอยู่ ตายตอนนั้นก็เจ๊งอีก
      ถาม :  นั่งกรรมฐานอยู่จะคิด แต่ก่อนคนนี้เลยว่าเราบ้าง คนนี้เคย ....(ไม่ชัด)....
      ตอบ :  สังเกตไหมว่ามันปรุงแต่งได้แค่ ๒ อย่าง ไม่อดีตก็อนาคต ถ้างั้นเราหยุดอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก คือปัจจุบันนี้ มันทำอันตรายเราไม่ได้หรอก รู้ตัวปุ๊บรีบดึงมันอยู่กับลมหายใจ ไม่อย่างนั้นลิงตัวนี้มันไปทั่ว มือไว ๆ กระตุกกลับ ๆ เดี๋ยวมันเคยชิน มันก็ยอมนิ่งเอง
      ถาม :  สวดคาถาเงินล้าน ?
      ตอบ :  ทำไมล่ะ
      ถาม :  สวดใหม่ ๆ ๑๐๘ จบ เมื่อยปากเมื่อยลิ้นมาก ไม่เคยสวดยาวอย่างนี้ ?
      ตอบ :  ใช้ภาวนาในใจ
      ถาม :  ไม่ทราบไปออกเสียง
      ตอบ :  จ้ะ
      ถาม :  ทีนี้คอก็แห้ง?
      ตอบ :  จ้ะ
      ถาม :  ไม่กล้าไปกินน้ำ เดี๋ยวลืม ?
      ตอบ :  ดีจ้ะดี
      ถาม :  เดี๋ยวลืมว่าจับเม็ดไหน ?
      ตอบ :  อย่างน้อย ๆ สัจจบารมีก็ดีแล้ว
      ถาม :  ทนให้ได้ ๑๐๘ จบ ทนพอแค่นี้ ?
      ตอบวิริยบารมี ดีอีกต่างหาก ใช้ได้ ๆ คราวหน้าใช้ภานาในใจนะจ้ะ ภาวนาเป็นกรรมฐานเลย ควบกับลมหายใจเข้า - ออก จะมาเป็น พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขาปารายันติ ให้มันเข้า- ออกอยู่อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องเร่ง ไปช้า ๆ เอาคุณภาพ ไม่ต้องการปริมาณ ถ้าหากจำเป็นต้องทำธุระอื่นก็แบ่งออกเป็นชุด ๆ อาจจะเป็น ๑๐๘ จบ เช้า ๓๖ จบ กลางวัน ๓๖ จบ เย็น ๓๖ ก็ครบ ๑๐๘ แล้ว
      ถาม :  อ๋อ !ได้ใช่ไหมเจ้าคะ ?
      ตอบ :  ได้
      ถาม :  หนูเข้าใจว่าต้องรวดเดียว ๑๐๘ จบ ?
      ตอบ :  ถ้ามีธุระร้อนขึ้นมาก็ยุ่งนะสิ
      ถาม :  เข้าใจว่าถ้าพอไม่ครบ แล้ววางไว้เดี๋ยวต้องมาเริ่ม ๑ ใหม่ ?
      ตอบ :  ไม่ต้องหรอกจ้ะ แบ่งเป็นชุด ๆ ได้ เพียงแต่ว่าให้ได้อย่างน้อยแค่นั้นต่อวันแล้วกัน เรื่องของคาถา เราต้องจริงจังและสม่ำเสมอ ถ้าทำจริงจังสม่ำเสมอผลจะปรากฏเร็ว ประเภททำ ๆ ทิ้ง ๆ มากบ้าง น้อยบ้าง แล้วจะไปหวังผลปรากฏมันยาก ตัวเองก็ขาดสัจจะเสียแล้ว คาถาเป็นบาทคือเบื้องต้นของอภิญญา ในเมื่อเป็นเบื้องต้นของอภิญญาคนจะปฏิบัติอภิญญาได้ต้องเป็นคนจริงจัง สม่ำเสมอ มีสัจจะ เพราะฉะนั้น ดูว่าเรามีคุณสมบัติอย่างนี้ไหม ถ้าคุณสมบัติอย่างนี้มีอยู่ก็พอจะทำคาถาขึ้นบ้างใช่ว่าทำขึ้น ๆ ก็คือทำให้ได้ผล
      ถาม :  .....(ไม่ชัด).....?
      ตอบ :  ทุกอย่างเหมือนกันหมด ถ้าไม่จริงจังสม่ำเสมอโอกาสจะเห็นมันยาก โดยเฉพาะเรื่องของการปฏิบัติตัวสม่ำเสมอคือ ต้องรักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่องไปโดยไม่ขาดตอน ส่วนใหญ่พวกเราทำพอลุกขึ้นก็ลืม เลิกไปเลย เสียดาย อุตสาห์กอบโกยมาตั้งเยอะตั้งแยะ กองไว้ตรงนั้นแหละ แล้วเดินหนีเสียดื้อ ๆ จริง ๆ ต้องประคับประคองอารมณ์ที่เราทำได้ตอนนั้นให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ให้จิตเคยชินอยู่กันการทรงความดีให้มากที่สุด พอนานไป ๆ ระยะเวลาก็จะยาวขึ้นเราจะเป็นสุขอยู่ในฌานสมาบัติหรือว่าสุขอยู่ในธรรมนานขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดก็ตัดกิเลสขาดได้โดยอัตโนมัติเพราะว่าถ้าหากเราทรงสมาธิอยู่ให้ตลอดก็สามารถพ้นกิเลสไปได้ เพียงแต่ว่าพ้นแบบใช้กำลังกดเอาไว้กิเลสมันตายไปเอง
      ถาม :  ....(ไม่ชัด)....?
      ตอบ :  จริงแล้วเท่ากันหมด สำคัญตรงที่เราดิ้นรนมากแค่ไหน คนไหนดิ้นรนมากคนนั้นก็โดนตอบโต้มาก เพราะฉะนั้นยิ่งจะดิ้น ตั้งใจจะหนีมันมากเท่าไรมันก็เอาหนักเท่านั้นเพราะมันไม่อยากให้เราพ้นมือมันฟังดูแล้วน่าท้อไหม?
      ถาม :  เราก็ไม่ชนะ?
      ตอบ :  ไม่ใช่ไม่ชนะเฉย ๆ เราเป็นทาสมันเลย เพราะฉะนั้นถามว่ากิเลสมันเท่ากันไหม ? มันเท่ากันทุกคน แต่เพียงแต่ว่าคนโดนหนักโดนเบาขึ้นอยู่กับเราดิ้นรนต่อสู้มันมากแค่ไหน ยิ่งดิ้นรนมากมันก็ยิ่งพยายามต่อต้านเรามาก
      ถาม :  ศีล ๘ นี่อมน้ำแข็งได้ไหมเจ้าค่ะ ?
      ตอบ :  ได้ เคี้ยวก็ได้ เรื่องของศีล ๘ เขาห้ามอาหาร ถ้าหากว่าไปกินเข้าศีลก็ไม่ขาด อ้าว ! ยุ่งล่ะสิ รักษาศีล ๘ ไปกินอาหารเข้าทำไมศีลไม่ขาดก็อย่ากินให้เลยเที่ยงสิ เมื่อตะกี้นี้ใช้คำพูดผิด ศีลขาดแต่ไม่ลงนรกฟังง่ายขึ้นใช่ไหม เพราะว่าศีล ๘ ตั้งแต่ข้อ ๖ ขึ้นไปเป็นส่วนของธรรมะเสียมาก ถ้าเราสามารถปฏิบัติได้จิตมันละเอียดขี้นการเข้าถึงธรรมะก็ง่ายขึ้น ไม่ใช่ว่าขาดแล้วมีโทษ ดังเช่นว่า ศีลข้อแรกฆ่าสัตว์มีโทษแน่ ๆ ทำลายชีวิตเขาให้ตกล่วง แต่กินข้าวนี่เปล่าเลย แค่ทำให้ส่วนของธรรมะหมอง เนื่องจากว่าเราสามารถที่จะปฏิบัติไดัคนที่ไม่กินข้าวเย็นอันดับแรก – สบายไปมื้อหนึ่งไม่ต้องไปหุงหามัน อันดับที่สอง - ร่างกายที่ไม่มีอาหารหนักอยู่ในกระเพาะเลือดลมมันโปร่งเบา สามารถภาวนาให้จิตสงบได้ง่าย ก็เลยกลายเป็นว่าถ้าหากศีลขาดไม่ลงนรกแค่เพียงแต่ว่าถ้าหากเรากำลังไม่สูงจริง ๆ รักษายาก ศีล ๘ เป็นคุณสมบัติของพระอนาคามี พระอนาคามีนี่รักษาศีล ๘ อัตโนมัติ เป็นเองโดยธรรมชาติ ของเราอยากเป็นพระอนาคามีก็ต้องแบกช้าง พระอนาคามีกำลังท่านสูง ต้องทรงฌาน ๔ คล่องตัวมาก ฌาน ๔ ไม่คล่องนี่ละรักละโกรธไม่ได้
      ถาม :  แล้วอย่างลักษณะผู้ที่ทรงฌานจะทรงฌานมันจะทำให้ไม่พูด ...(ไม่ชัด)....?
      ตอบ :  ไม่ใช่ พูดเป็นปกติ แต่ผู้ทรงฌานจะพูดอย่างมีสติและอยู่ในกรอบของศีลของธรรมเท่านั้น ไม่ใช่ไม่พูด ที่ไม่พูดนั้นหัดใหม่ เพราะว่าพอเริ่มเป็นปฐมฌานจิตกับประสาทมันเริ่มแยกจากกัน เมื่อแยกจากกันแล้วท่านขี้เกียจขยับให้มันต่อกัน มันเสียเวลาท่าน ทำให้การรับรู้อยู่กับตัวตลอด ฟ้าผ่าเปรี้ยงพวกเราสดุ้งเฮือก หันมาดูสิ หันมาดู อาตมานั่งเฉย คือเราไม่ได้ไปใส่ใจมันเพราะจิตมันอยู่กับตัวอยู่แล้ว
      ถาม :  ......(ไม่ชัด).....?
      ตอบ :  เพราะเราไปเผลอจับอารมณ์ภายนอก เราจะไม่รู้ตัวหรอกว่าเราไปจับอารมณ์ภายนอก กว่าจะรู้มันพาเราไปไกลแล้ว ตอนที่สดุ้งพอเกิดอะไรขึ้นสภาพจิตจะวิ่งกลับมาที่ร่างกายเพื่อรับรู้การที่มันวิ่งกลับมาเร็วเกินไปเป็นอาการสะดุ้ง เป็นอย่างไรบ้างรถใหม่ (ดีค่ะ / โยมตอบ)
              ก่อนขึ้นรถก็ตั้งใจสวดมนต์ภาวนาบอกกว่าเทวดารักษารถให้เขาช่วยด้วย แล้วเราทำบุญอะไรไปก็ให้เขาโมทนาด้วย รับรองว่าปลอดภัยยาวประมาทวันไหนโดนทั้งนั้นแหละ อาตมาก็จอดทิ้งไว้อย่างนั้นแหละไม่เห็นจะหายคนเขาก็แปลกใจทำไมไม่ทำประกันชั้นหนึ่งเผื่อรถหาย ไม่เป็นไรหรอกคนเฝ้าของเราเก่ง เขาไม่รู้หรอกว่าใครเฝ้า ขำอะไรไม่ขำ ฮอนด้า ซิตี้ ไทพ์ รุ่นแรก จอดอยู่หน้าบ้านตัวเองแล้วหายไอ้เรานะขำ ตูจอดทิ้งไว้เป็นอาทิตย์ก็อยู่นั่น ถ้าหากทำพิธีถูกต้อง ทำอะไรถูกต้อง เขามีเทวดารักษา เราอย่าลืมท่านแล้วกันถึงเวลาบอกกล่าวท่าน ช่วยดูแลด้วยเราทำบุญให้ท่านโมทนาด้วยทุกครั้งมีการแลกเปลี่ยนที่สมน้ำสมเหนื้อ ท่านก็เต็มใจของเราโผล่ไปบางที่ยืนอยู่เพลิน ๆ ตกใจ แหม ! ยื่นอยู่ใกล้ ๆ นึกว่าใคร กำลังเช็ดโน่นเช็ดนี้เพลิน ๆ อ้าวใครมายืนว่ะ อ๋อ ! เหลียวกลับไปดูเขายืนเฝ้าอยู่
      ถาม :  อย่างที่เราอุทิศบุญกุศล เราอุทิศว่า โอเค ผลบุญทั้งหมดตั้งแต่อดีตจนถึงอนาคต ?
      ตอบ :  ไม่ต้องอนาคต จากอดีตถึงปัจจุบัน อนาคตยังไม่ได้ทำอะไรให้เขาล่ะ
      ถาม :  ก็เลยกะว่าตอนแรกคิดว่าจะแอดวานซ์ก่อน เราก็ทำอนาคต ?
      ตอบ :  ถ้าอย่างนั้นก็บอกเขาว่า ต่อไปข้างหน้าถ้าเราทำบุญอะไรขอให้เขาโมทนาทุกครั้งเลยไม่ต้องให้บอก ถ้าอย่างนั้นเขาเอาแน่ แต่ประเภทให้หาอนาคตด้วยเขาไม่รู้ว่าจะคว้าที่ไหน ยังไม่ได้ทำ
      ถาม :  กับคนที่เราไม่รู้จักเลย เราไม่ทราบว่าเขาทำบุญให้เรา ๆ โมทนาให้เขาได้หรือไม่
      ตอบ :  เราไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าเขาทำอะไร แล้วจะไปโมทนาอะไรเขาล่ะ โมทนาจริง ๆ ก็คือว่าในวาระที่เราอยากทำบุญมาก โอกาสในการทำบุญของเราไม่มี คนอื่นเขามีโอากาสนั้นเราเลยยินดีกับเขา เป็นตัวมุทิตาจิตแท้ ๆ ในสมัยปัจจุบันโมทนาสาธุของเรามันแฝงความหมายว่าเราจะเอาก็เลยทำให้การโมทนาบุญเบี่ยงเบนความถูกต้องไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างแท้จริง แต่ก็เอาเถอะยินดีกับเขาก็ยังดีกว่าอิจฉาเขา
      ถาม :  แล้วได้บุญไหมคะ ?
      ตอบ :  ก็ได้อยู่ได้นิดหนึ่ง
      ถาม :  ได้น้อย ?
      ตอบ :  ถ้าวางกำลังใจถูกต้องมันจะเป็นบุญเอง เพราะเป็นตัวมุทิตาจิตในพรหมวิหารเท่ากับเราปฏิบัติกรรมฐานใหญ่สมัยนี้วางกำลังใจผิด
      ถาม :  อ๋อ !ถ้าวางกำลังใจถูกก็คือจะได้เต็ม ๆ ?
      ตอบ :  เต็ม ๆ เลย เห็นว่าได้ตั้ง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ดีกว่าทำเองตั้งเยอะ คุณครูเปิดเทอมหรือยัง
      ถาม :  เดี๋ยวใกล้แล้วค่ะ ?
      ตอบ :  แล้วเทอมนี้กะจะฆ่าเด็กสักกี่คน จำไว้นะว่าถ้าอารมณ์เสียนี่ไปไกล ๆ เลย ต้องเป็นธรรมชาติของเด็กว่าเขาดื้อกับซนเป็นปกติ ไม่อย่างนั้นพอเราสะสมอารมณ์ไปเรื่อย ๆ คนสุดท้ายบางทีทำผิดนิดเดียวเราลงโทษเสียหนักนั้นเราแย่เองไม่รู้ตัวเอง สมัยนี้อย่างเก่งก็แอบบิด เฆี่ยนได้ที่ไหน
      ถาม :  การเป็นแซลส์นี่....(ไม่ชัด )...?
      ตอบ :  แล้วอย่างไรล่ะ
      ถาม :  คืออยากจะรู้ว่า...(ไม่ชัด)....?
      ตอบ :  เราทำอาชีพอะไรก็ทำบุญได้ บุญไม่ได้มีแค่ ทาน ศีล ภาวนา เสียเมื่อไรล่ะ อปจายนมัย - อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่นเสมอก็เป็นบุญ เป็นเซลส์ถนัดที่สุดลองประเภทเชิดเข้าสิไม่เข้าหาลูกค้าหรือ อปจายนมัย – ความอ่อนน้อมถ่อมตน คนอื่นเห็นก็เมตตา เย็นใจ เกิดความรักใครเมตตาเราในเมื่อก็ความรักใครเมตตาเรา สภาพจิตของเขาดีเท่ากับว่าเราสนับสนุนให้เขาดี เราก็เลยได้บุญส่วนนั้นด้วย ปัตติทานมัย ทำบุญแล้วอุทิศส่วนกุศลให้เขา นี่ก็คือตัวเมตตา เราก็ได้บุญด้วย ปัตตานุโมทนามัย ยินดีในบุญที่คนอื่นทำ เวยยาวัจจมัย ขวนขวายช่วยเหลืองานคนอื่นเขาให้สำเร็จได้บุญ ธัมมเทสนามัย - ฟังธรรมแล้วนำไปปฏิบัติ ธัมมเทสนามัย ปฏิบัติได้แล้วเอาไปสอนคนอื่นต่อ โดยเฉพาะทิฏฐาชุกรรม –มีความเห็นถูกต้องว่าพระพุทธเจ้าสอนถูกต้อง เราจะทำตามอันนี้ได้อยู่เต็มประเป๋าตั้งเยอะตั้งแยะไม่ใช่ทาน ศีล ภาวนา เฉย ๆ อาชีพอะไรก็สามารถทำบุญได้ตลอดเวลาเดินผ่านขอทานก็ให้เขาไป แต่อย่าไปให้อย่างอีตาตือใช่ไหม ไปถึงควักแบงค์ ๕๐๐ บาท ให้ขอทาน ช็อคตาย บาปกรรมอีกคือเขาบอกผมให้ไปเลย ๕๐๐ บาท เขาจะได้ไม่ต้องลำบากมาขออีกหลายวันไม่ใช่หรอกบางทีพวกนี้เขาเป็นเก๊ง แต่เขาก็ทำถูกแล้วล่ะ อย่างน้อยให้เขาอุบอิบเหลือเอาไว้ได้บ้างเพราะคงไม่มีใครคิดว่าจะได้ทีเยอะขนาดนั้น เรื่องของทานต้องมีอุเบกขาอยู่ ให้แล้ว ๆ กัน รู้ว่าเขาต้องการก็ให้แล้วไม่ต้องไปเสียเวลาคิดว่าเขาเอาไปทำอะไร ถ้าอย่างคิดอยู่ไม่มีตัวอุเบกขา ผลทานมันยังน้อย ไอ้นั่นน่ะบ้า ของเราก็ให้เขา ๕ บาท ๑๐ บาท นี่ให้ที ๕๐๐ บาท