ถาม :  การท่องคาถานี่เป็นธรรมทานมั้ย ถ้าเกิดเราท่อง จิต คำนึงนี่.....(ฟังไม่ชัด) ......มีผลยังไง ?
      ตอบ :  เฮ้ย คุณท่องคาถาเป็นธรรมทาน ไม่เข้าใจคำถามคุณว่ะ ?
      ถาม :  อ๋อ คือเรื่องมันเป็นอย่างครับ คือผมท่องคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วทีนี้สังเกตว่ารู้สึกว่าจะผิด...(ฟังไม่ชัด)...?
      ตอบ :  ทำไมล่ะ ? เรื่องของคาถาถึงผิดถ้าเข้าใจเราเชื่อมั่นมันมีผลตามนั้น นะโมพุทธายะ กลายเป็นนะโมพุทธาเเยะ เขายังเสกหินมากินได้เลย เคยได้ยินเรื่องนี้มั้ยล่ะ ? เออนั่นแหละ หลวงตาออกธุดงค์กลางป่า อาจารย์ก็สอนให้ภาวนานโมพุทธายะ หลวงตาก็หนังสือหนังหาไม่เคยเรียนมาใช่มั้ย ? ฟังไปฟังไปพออยู่ป่าเผลอกลายเป็นนะโมพุทธาแยะ แต่แกก็แยะไปแยะมากำลังใจมันมั่นคงนี่ มันอภิญญาเกิด แกก็จับหินขึ้นมาอธิษฐานให้กลายเป็นอาหารก็เป็นอาหาร ให้กลายเป็นขนมก็กลายเป็นขนม ให้กลายเป็นวุ้นก็กลายเป็นวุ้นกินได้สบายเลย
              ทีนี้ไปเจอพระนักเรียนมันเข้าไปธุดงค์เหมือนกัน ไปถึงก็อยู่สบายกินสบายอยากกินอะไรหลวงตาก็ทำให้ ทำไปทำมาก็สงสัยก็ถามอาจารย์ครับ อาจารย์ใช้คาถาอะไรถึงเสกหินเป็นอาหารกินได ้เขาบอกใช้นะโมพุทธาแยะ พระนักเรียนเขาก็รู้ว่ามันผิด มันไม่ใช่ครับหลวงตา มันต้องนะโมพุทธายะ ผมเรียนมาไอ้นะโมพุทธาแยะเนี่ยไม่ใช่แน่ เล่นเอาหลวงตาหมดกำลังใจ เสกหินเมื่อไหร่มันก็กลายเป็นหินเหมือนเดิมอดทั้งคู่ ต้องตะกายกลับวัดมา มาถามอุปัชฌาย์ใหม่ อุปัชฌาย์ก็บอก คุณ...ไอ้นะโมพุทธาแยะนั่นมันตัวเมียมันใช้ได้อยู่ แต่ถ้าจะให้ดีใช้ตัวผู้นะโมพุทธายะดีกว่าเยอะเลย เกิดความมั่นใจขึ้นมาอีก
              อีทีนี้แยะก็ได้ยะก็ได้ ถ้าไม่ได้อาจารย์เก่งนี่เจ๊งเลยใช่มั้ย ? เขาหมดความมั่นใจไปแล้ว ถ้าคุณมั่นใจถึงคาถาผิดก็ใช้ได้ผล แต่ถ้าหากว่าคุณขาดความมั่นใจมัวแต่ไปสงสัยอยู่ผลมันจะน้อย เพราะฉะนั้นก็เปลี่ยนเอาตัวที่เรามั่นใจ
      ถาม :  อยากจะขอคาถาสะเดาะกุญแจไว้ เผื่อว่า.............(ฟังไม่ชัด).....?
      ตอบ :  คาถาสะเดาะกุญแจในหนังสือประวัติหลวงปู่ปานก็มี ก็ใช้นะมะพะทะ ถอยหลังก็ใช้ทะพะมะนะ แต่เคล็ดลับมันอยู่นิดเดียวนะ คืออยู่ที่อย่าคิดว่ามันเป็นกุญแจหรืออย่าคิดว่ากุญแมันล็อคอยู่ ลองกับลูกบิดก็ได้ ตอนที่คุณเปิดลูกบิดคุณรู้ว่าลูกบิดมันไม่ได้ล็อค คุณบิดมันสบายใจยังไงตอนที่มันล็อคแล้วคุณก็ว่าคาถาทำใจมันให้ได้อย่างตอนนั้น เช๊ะเดียวหลุดเลย
      ถาม :  การท่องคาถาเป็นกรรมฐาน เวลาเราจะใช้สมมุติว่าจะสะเดาะกุญแจ อารมณ์นี่ต้องถึงขั้นไหน ?
      ตอบ :  อารมณ์ต้องถึงขั้นไหน เรื่องของคาถานี่ตั้งแต่อุปจารฌานได้ผลแล้ว คือมากกว่าตอนนี้นิดเดียวก็เริ่มใช้ได้ผล ยิ่งสมาธิสูงเท่าไหร่ยิ่งได้ผลมากเท่านั้น อารมณ์แน่นกว่าปกตินิดเดียวก็เริ่มมีผลแล้ว ส่วนใหญ่มันอยากมากเกินไปมันก็เลยไม่มีผล
              ตอนนี้ที่วัดมีพระอยู่องค์หนึ่งอยากทุกเรื่อง แต่อยากแล้วไม่ทำชาติหน้าบ่าย ๆ มันคงได้อย่างที่ตัวเองอยาก ระยะหลังนี้กลัวไม่กล้าเข้าใกล้เลย เราอยู่ทางด้านนี้ มันจะหนีไปอยู่อีกมุมวัด เพราะว่าเขาอยู่ใกล้ ๆ แล้วคิดอะไรเราพูดออกไปหมด เขาเข็ดไม่กล้าอยู่ใกล้เราก็ไม่ได้ว่าอะไร เขาคิดผิดเราก็จะบอกเขาว่าอย่างนั้นมันผิดมันต้องตั้งอารมณ์อย่างนี้ ว่ามันไปหลายทีด้วยความเมตตาแท้ ๆ มันกลัวซะจนไม่กล้าเข้าใกล้เลย ...ตกลงว่าคุณอ่านลายมือคุณผิดใช่มั้ย ? มันท่องคาถาเป็นกรรมฐาน อ่านไปว่าเป็นธรรมทาน ขนาดเขียนเองยังอ่านไม่ออกเลย (หัวเราะ)
      ถาม :  เวลาท่องคาถา ถ้าเกิดอารมณ์เลยฌาน ๑ แล้วจะมี กรรมฐานจะต้องติดต่อกันมั้ย ?
      ตอบ :  คือถ้าหากว่ากำลังใจของคุณละเอียดอยู่ในลักษณะของฌานใช้งาน มันจะภาวนาอยู่มันยังเป็นตลอดอยู่ แต่ถ้าหากว่ามันไม่ใช่ลักษณะฌานใช้งานเป็นการเริ่มต้นใหม่ ๆ ถ้าถึงช่วงนั้นแล้ว คำภาวนามันจะหาย บางทีลมหายใจก็จะหายไปด้วย พอจิตกับประสาทมันเริ่มแยกเป็นคนละส่วนกันมันจะบังคับร่างกายไม่ได้ พอบังคับร่างกายไม่ได้ลมหายใจมันถึงหายใจอยู่เราก็ไม่รับรู้มัน ฉะนั้นบางทีคำภาวนาหายไปไม่หายใจไปเปล่าลมหายใจก็หายไปด้วย ทีนี้ตรงนั้นอย่าตกใจตะกายหายใจใหม่นะ มันไม่เป็นอะไรหรอกมันอยู่ได้สบายมาก
      ถาม :  จำเป็นมั้ยครับต้องหลับตา หรือลืมตาก็ได้ ?
      ตอบ :  อยู่ที่ตัวเรา บางคนหลับตาแล้วอะไรที่มันเข้าทางประสาทตาตัวเองไม่วอกแวก ลืมตาภาวนาก็ได้ เก่งกว่าด้วย แต่ถ้าหากว่าเรารู้สึกว่าลืมตาแล้วเดี๋ยวอันโน้นมาเดี๋ยวอันนี้มาทำให้วอกแวกไปสนใจมัน ๆ จะเสียการภาวนาเราก็หลับตามันซะ
      ถาม :  ส. ศิวะรักษ์ครับ พูดถึงหลวงพ่อคูณครับ บอกว่าพระที่สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล ไม่ใช่กิจของสงฆ์อย่างนี้คิด....?
      ตอบส. ศิวะรักษ์ไม่ใช่สงฆ์ตอบแค่นี้ หลวงพ่อคูณสร้างโรงเรียนสร้างโรงพยาบาลมันบอกว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ ก็เลยบอกว่า ส.ศิวะรักษ์มันไม่ใช่สงฆ์ ประเภทนี้มันจะเอาพระประเภทที่นั่งเฉย ๆ แล้วบริสุทธิ์สิ้นเชิงมันอยากได้หัวตอ ฮึ! พระเขาเกิดมาเขารู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มีความสามารถทำได้เขาก็ทำ โดยเฉพาะเสืออย่างหลวงพ่อคูณด้วย เดี๋ยวก็หัวขาดหรอก
      ถาม :  พอดีเมื่อวานครับ เวลาประมาณตี ๔ ตี ๕ ผมได้เจอแมลงสาบตัวหนึ่งกำลังนอนชักอยู่ใกล้จะตาย พอดีกำลังท่องคาถาอยู่ก็เลยท่องคาถาไปด้วยแล้วบอกเขา อย่างนี้เขาจะฟังรู้เรื่องมั้ย ?
      ตอบ :  ถ้าจิตเขาเกาะนี่เขามีโอกาสได้ดีเลย ลักษณะแบบเดียวกับงูเหลือมฟังธรรม ค้างคาวฟังธรรม แต่ตอนที่มันชักเวทนามันเยอะ ไม่แน่ว่าจิตเขาจะเกาะหรือเปล่า ? เพราะฉะนั้นต้องดูว่ากำลังใจของเขา ๆ เกาะเสียงของเราที่ภาวนารึเปล่า ? ถ้าหากว่าเขาเกาะเสียงของเราที่ภาวนาคาถาหรือว่าตั้งใจอยู่ในความดีนี่เขาได้ประโยชน์ไปเลย ทำไปเถอะ เขาจะเกาะหรือไม่เกาะทำไปเถอะ ถ้าเขาเกาะเขาได้ดีไปดีเขาไม่ลืมเราหรอก อ้าว... หมดแล้ว สงสัยมันไม่หมดจริงหรอกมันอ่านไม่ออก (หัวเราะ)
      ถาม :  เวลาที่ทำกรรมฐานแล้วมีอารมณ์เข้ามาแทรก แต่ว่าเป็นอารมณ์พิจารณาถือว่าเป็นพุทธานุสสติ สังฆานุสสติ ถือว่าเป็นอารมณ์เข้ามาแทรกนี้ ?
      ตอบ :  ดูว่าตอนนั้นเราทำกรรมฐานตามกองมั้ย ? ถ้าเราทำกรรมฐายตามกองนี่อารมณ์แทรกอื่นต้องตัดออกให้หมด ถ้าเราไม่ได้ทำกรรมฐานตามกอง ภาวนาเฉย ๆ แล้นมันอยากจะพิจารณาก็ว่าไปได้เลย

      ถาม :  ตัดอารมณ์นี่ยังไง ?
      ตอบ :  ถ้าหากว่าเป็นการภาวนากรรมฐานตามกอง อย่างเช่นว่าภาวนากสิณอยู่ อย่างนั้นอารมณ์อื่นที่แทรกเข้ามาตัดมันออกไปเลย
      ถาม :  ถ้าอย่างเราท่องคาถา ๔-๕ ชั่วโมงแล้ว ?
      ตอบ :  น้อยไปมั้ง ๔-๕ ชั่วโมง มันต้อง ๒๔ ชั่วโมง (หัวเราะ)
      ถาม :  แล้วอย่างนี้จะถึงจุดสูงสุดของความต้องการของอารมณ์แล้วยัง ?
      ตอบ :  ไม่ใช่นะ ระยะเวลาไม่ได้เกี่ยวกับความดีของทางใจกำลังใจอาจจะขึ้นสูงสุดภายในวินาที ๒ วินาทีก็ได้ ระยะเวลาไม่ใช่เครื่องวัด ไอ้นั่นดีไม่ดีนั่งทนแข่งกัน สมัยก่อนเคยไปนั่งแข่งกับทางด้าน

*
*
*
*
ในหนังสือเล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๑ ซ้ำกับเล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๑ จึงขอข้ามหน้านี้ไปก่อน
ประโยคจึงไม่ต่อเนื่องนะคะ หากได้ข้อมูลแล้วจะนำมาพิมพ์เพิ่มเติมค่ะ
*
*
*
*

กำลังมันจะทรงตัวแล้วมันก็เลิกกังวล มันจะคิดเฉพาะหน้าตอนนี้ เราทำอะไรมันจะทำแค่นั้น พอเสร็จจากอันนี้แล้วจะทำอะไรค่อยคิดต่อ คราวนี้จะไม่กังวลแล้ว แบบเดียวกับว่า เรานั่งอยู่ที่นี่แต่ว่าถ้าเกิดว่าเมื่อเช้านี้เราซักผ้าแล้วเราก็ตากผ้าอยู่ที่บ้าน ดูฟ้าแล้ว เอ้า ! ฟ้ามันมืดฝนจะตก กังวลไปก็ไร้ประโยชน์ยังไงก็กลับบ้านไม่ทันอยู่แล้ว ก็ต้องคิดให้เป็นด้วยว่า เออ...ในเมื่อมันไม่มีประโยชน์จะไปกังวลกับมัน เรามาอยู่ตรงนี้เรามาทำบุญเรามาทำความดี
              เพราะฉะนั้นเราเองควรจะทำตรงจุดนี้ที่ปัจจุบันนี้ของเราให้ดีที่สุดดีกว่า อดีตที่ผ่านมาแล้วก็ปล่อยมันไป อนาคตยังมาไม่ถึงไปแก้ไขไม่ได้ก็ช่างมัน ถ้าแก้ไขได้ก็แก้ไข เวลานั้นเอาอยู่กับปัจจุบันก่อน ทำตอนนี้เดี๋ยวนี้ให้ดีที่สุดก่อน สมาธิต้องดีแล้วจะเลิกกังวล
      ถาม :  แล้วตัววิตก วิจารณ์ ล่ะครับ ?
      ตอบตัววิตก วิจารย์มันมีเป็นปกติของทุก ๆ คนแต่ว่าเอาสติรู้ก็สามารถที่จะตัดมันเลย ถ้าตัดไม่ได้ก็รู้อยู่แล้วคุมมันเอาไว้ให้มันอยู่ในกรอบ อยู่ในกรอบก็คือว่าให้มันวิตกวิจารย์อยู่ในด้านดี ๆ อย่างเช่นว่า นึกถึงเรื่องของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นึกถึงเรื่องของศีล นึกถึงเรื่องของการให้ทานอย่างนี้
      ถาม :  คืออย่างนี้ครับ คือเรานัดเขาเวลานัดเวลา ๙ โมงทีนี้ช่วงที่เรายังไปไม่ถึงมีอุปสรรค บางทีอย่างเช่นฝนตก จิตมันก็เป็นห่วง เออ...เพื่อนเรารออยู่นะ ตัวนี้ตัดยากครับ
      ตอบ :  จริง ๆ แล้วก็คือมันต้องคิดให้เป็นว่าอย่างไร ๆ มันก็ต้องรออยู่แล้ว ในเมื่อมันจะต้องรออยู่แล้วเราไปกังวลหรือไม่กังวลมันก็ราคาเท่ากัน แล้วจะไปกังวลให้มันเสียอารมณ์ของเราทำไม
      ถาม :  มันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานหรือเปล่าครับ ?
      ตอบ :  ตัวกังวลนี่มันไม่มีทางเป็นฌานได้หรอก (หัวเราะ) ถ้ายังห่วงกังวลอยู่มันทรงฌานไม่ได้
      ถาม :  .........(ไม่ชัด)...........มีความจำดี
      ตอบ ความจำดี...อันนี้มันก็เกี่ยวกับสมาธิเหมือนกัน ถ้าสมาธิทรงตัวจิตมันผ่องใส สมองมันเหมือนกับมันจัดอันดับของมันเองสามารถเรียงลำดับเรื่องข้อมูลของมันได้เปรี้ยะ ๆ เลย สมมุติว่าอาจารย์พูดมาเรื่องอะไรมันก็จะจับประเด็นได้เร็ว
              ลักษณะนี้บางทีพูดแล้วมันเข้าใจยากเอาเป็นว่ายกตัวอย่างว่า หลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่า เจ้าคุณพระมงคลชัยสิทธิ์ เวลาไปหาท่านแต่ละทีนี่ ท่านชอบให้คาถาแล้วคาถาท่านยาวมาก พอให้เสร็จแล้วไม่พอ ท่านเขกหัวเปรี้ยงเบ้อเร่อเลย บอกเอ้าให้เอ็งไปใช้
              แต่ว่าทีนี้พอสมาธิมันดีมันสามารถเรียงลำดับได้หมดเลยว่าคาถาของท่านเนื้อหามันเป็นอย่างไร มันขึ้นต้นมันก่อนหลังอย่างไร แล้วเราจะจัดลำดับการจำแล้วมันแยกแยะออกมาเสร็จเรียบร้อย แล้วมันจะจำได้ขนาดที่ว่าบอกคนอื่นบางทีเขา ๓ เที่ยวแล้วยังจำไม่ได้ถ้าสมาธิดีเหมือนอย่างกับสมองมันแยกออกเป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นระดับของมันเองจะจัดเรียงของมันเรียบร้อยเลยว่าต้องจำอย่างไรแล้วมันจะจำของมันได้
              อยากจะจำต้องหัดภาวนาเยอะ ๆ เข้าไว้ ถ้าสมาธิดีแล้วเหมือนกับเจ้าจอย มันนั่งมองอาจารย์เขาอยู่เพื่อนข้างหลังห้องก็เล่นกัยโยกโต๊ะโยกเก้าอี้ โยกไปโยกมามันโยกเกินศูนย์ถ่วง เก้าอี้มันหงายฟาดโครมลงไป เพื่อนอีก ๓๐ กว่าคนหันไปมองเป็นตาเดียวกัน เจ้าจอยมันนั่งมองแต่หน้าอาจารย์ สมาธิมันดีขนาดรอบข้างมีอะไรมันไม่รู้เรื่อง ได้ยินแต่เสียงอาจารย์อยู่อย่างเดียว เขาทำได้ขนาดนั้น ถ้าเราสมาธิดีขนาดนั้นเรื่องความทรงจำไม่มีปัญหาเลย
              ส่วนใหญ่แล้วเด็กสมัยใหม่สมาธิสั้น รีโมทคอนโทลมันทำพิษนึกออกมั้ย ? ไม่ชอบใจเปลี่ยน ๆ ความจำมันขาดเป็นท่อน ๆ เหมือนตัวจิ๊กซอว์ในเมื่อความจำมันขาดเป็นท่อน ๆ เหมื่อนตัวจิ๊กซอว์ ความสนใจจุดสนใจจุดใดจุดหนึ่งมันก็น้อยมันกลาย มัน........
      ถาม :  มันเป็นแบบนี้รึเปล่าคะคือ คนสมัยนี้ไม่ค่อยได้เดิน สมัยก่อนเดินเยอะ
      ตอบ :  มันก็มีส่วนเหมือนกัน จะมากจะน้อยส่วนของมันมีอยู่แต่ว่าจริง ๆ ก็คือสังคมปัจจุบัน พวกเกี่ยวกับพวกคอมพิวเตอร์หรือพวกเครื่องเล่นอะไรต่อมิอะไรที่มันใช่ระบบดิจิตอลที่จะสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้เร็วมาก รับข้อมูลได้เร็วค้นหาข้อมูลอะไรได้เร็วอะไรอย่างนี้มันทำให้คนสมาธิสั้นลง
      ถาม :  เพราะว่าสมัยก่อนชาวนาเขาปลูกข้าว กว่าเขาจะปลูกได้ไร่หนึ่งเขาใช้ความเคยชิน ถ้าเดินนี่นับ ....
      ตอบ :  นับครั้งไม่ถ้วน สมัยนี้มันเล่นรถดำนา (หัวเราะ)
      ถาม :  เปลี่ยนแปลงง่าย ฉะนั้นเวลาทำอะไรซ้ำ ๆ เป็นพัน ๆ ครั้งทำให้ได้เรื่องสมาธิ
      ตอบ :  ของเราความสนใจเฉพาะที่มันน้อยความจำไม่ก็เลยไม่ดีไปด้วย เขาเรียก “สมาธิสั้น”
      ถาม :  การแยกกายกับใจแยกอย่างไร ?
      ตอบ :  แยกกายกับใจ ถ้าหากว่าสมาธิทรงตัวตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปกับจิตกับกายจะเริ่มแยกเป็นคนละส่วนกัน คือตอนนั้นจิตจะสนใจแต่อาการภายใน ประสาทร่างกายที่ถือว่าเป็นกายจริง ๆ ภายนอกมันไม่ค่อยจะรับรู้กันแล้ว ถึงไม่ใช้ความพยายาในการแยกมันก็จะแยก ทีนี้ในความหมายของเรา แยกจิตแยกกายมันเป็นการถอดกายในออกไปแบบที่เขาเรียกว่าถอดกายทิพย์หรือเปล่า ? ถ้าหากว่าเป็นลักษณะอย่างนั้น ต้องฝึกอีกแบบหนึ่ง
              เขาจะมีการฝึกให้ถอดกายในไปเพื่อที่จะไปท่องเที่ยวภพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรก สวรรค์ พรหม นิพพานอะไรเหล่านี้เป็นต้น แต่ถ้าหากว่าได้แยกจิตแยกกายลักษณะที่ว่านี้ แค่เราทำสมาธิได้ปฐมฌานก็เริ่มแยกได้แล้ว
      ถาม :  แค่ได้ปฐมฌานนี่ได้ยังไงคะ ?
      ตอบ :  คือกำลังใจมันจะทรงตัวอยู่ระดับหนึ่ง ในระดับนี้สิ่งที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อะไรมันไม่ค่อยได้รับความสนใจเพราะจิตมันเป็นสุขอยู่กับการภาวนาเฉพาะหน้า คราวนี้การที่เราภาวนาซะจนชิน คำว่า “ชิน” ภาษาบาลีเขาเรียกว่า “ฌาน” ปฐมฌานคือความเคยชินขั้นที่ ๑ มันมีอยู่ด้วยกัน ๔ ขั้นเขาเรียก ฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ คราวนี้ว่าแค่เข้าถึงความเคยชินขั้นที่ ๑ ก็เป็นอันว่าจิตกับกายมันเริ่มจะห่างกันแล้ว พอเริ่มเป็นฌาน ๒ บางทีมันเริ่มไม่รับรู้การหายใจ คำภาวนามันก็หายไปด้วยถ้าถึงฌาน ๓ ยังกับประเภทกลายเป็นหินไปเลยก็มี คือสภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายมันจะแปลก ๆ แล้วฌาน ๔ นี้ ไม่รับรู้อาการภายนอกแน่นอนเลยฟ้าผ่าข้างหูไม่เอาด้วยไม่ได้ยิน เพราะประสาทร่างกายมันไม่ได้ทำงานตรงนั้นแล้ว