สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ (ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

      ถาม:  ............................?
      ตอบ :  โอ้โฮ...ฤๅษีเขารักษาศีลมาคนละหลายสิบปีเลยอายไม่กล้าโผล่มาให้เห็น อ้อนมาก ๆ เข้าถึงโผล่ นั่นน่ะอานุภาพของศีล แต่ที่เล่าคือฤๅษีเขาอยู่ป่ามานาน กินแต่ผลไม้หัวเผือกหัวมัน ร่างกายขาดสารอาหาร ขาดวิตามินเยอะ สามเดือนสี่เดือนครั้งต้องตระกายเข้าบ้านเข้าเมืองมาหาของที่เหมาะสมกับธาตุขันธ์ตัวเองครั้งหนึ่ง ถึงว่าใจไม่ได้อยากแต่ร่างกายต้องการนี่ แหม...บังคับเอาแย่เลยเหมือนกัน
              ในพวกภยตูปัฏฐานญาณคือญาณที่เห็นว่าร่างกายนี้เป็นโทษเป็นภัยเป็นของน่ากลัว เขาบอกว่าให้พิจารณาอยู่เสมอ เหมือนกับเสือที่เลี้ยงไม่รู้จักอิ่ม ถ้าไม่หาให้กินก็ขบกัดทำร้ายเรา คือทำให้หิวโหยปวดท้องปวดไส้เป็นลมเป็นแล้งอะไรไปเลย แล้วให้เห็นว่าในเมื่อมีโทษขนาดนี้แล้ว เราจะไปยึดติดทำไม นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อะไรบางอย่างที่ร่างกายต้องการถ้าไม่ผิดศีลผิดธรรมผิดพระวินัยก็หาให้มันเถอะ
      ถาม :  วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร ?
      ตอบ :  ๒ ปีเศษ เริ่มสร้างปี ๒๕๒๘ เสร็จเรียบร้อยปี ๒๕๓๐ สมัยก่อนเคยคิดนะ ตูทำได้สักเมตร หนึ่งในร้อยก็พอแล้วเริ่มจากเพิงหมาแหงนหลังเดียว แล้วกลายเป็นวิหารร้อยเมตร พระท่านสั่งเพิ่มทีละนิดทีละหน่อย จนหลวงพ่อท่านรู้ ท่านบอกว่า “จริง ๆเป็นอย่างไรว่ามาเลยครับ” จะบอกทีเดียวกลัวแกจะไม่ทำ ใช้เงินเยอะ ของเราเองไปอยู่เกาะพระฤๅษีใหม่ ๆ มาก็เฮ้ย...ทำศาลาสักหลังหนึ่งสิ เผื่อใครเข้ามาจะได้มีที่พักไม่ต้องตากแดดตากฝน เราบอกว่า “ถ้าคนจะมาหา ไมใช่แค่ศาลานะครับ ห้องน้ำห้องส้วมก็ต้องมีนะครับ” “เออ...กำลังจะบอกให้แกทำ” คราวนี้ของเราหลวงพ่อท่านเล่าบ่อยจำลีลาได้ บอกว่า “จริ งๆ หลวงพ่อจะเอาเท่าไรบอกมาเลยครับ ผมขี้เกียจถามหลาย ๆ หน” แหม...ท่าบอกซะหมดเลยน่ะ จำนวนที่เกาะนั่นน่ะบอกหมดเลยยกเว้นหอประชุมด้านนอกนะ ด้านนอกนี่ไม่ได้บอก ด้านนอกทำเอง ตอนนั้นมีพวกพี่มุกดามีพวกน้าเล็กมีพวกท่านแสงอะไรอย่างนี้ ไปถึงก็ปักหลักขึงเชือกเล่นกัน เป็นพวกเด็กเล่นขายของเลย จะมีแค่สี่เสาล้อมอยู่อันนี้เหลี่ยมใหญ่อันนี้เหลี่ยมเล็กอยู่ตรงไหนตรงไหนอย่างนี้ เหลือเชื่อจริง ๆ เป็นวัดมาได้ภายในปีเดียว
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  ไม่เคยถาม รู้แต่ว่ามีโคมระย้าอยู่ร้อยสามสิบเจ็ดดวง ดวงหนึ่งราคาแสนสี่หมื่นบาท เอาโคมอย่างเดียวก็พอ อย่างอื่นไม่รู้ ดวงแสนสี่สิบดวงเท่าไร ล้านสี่ แล้วร้อยดวงเท่าไร สิบสี่ล้าน แล้วมีอยู่ ๑๓๗ ดวง บริษัทส่งเจ้าหน้าที่มาล้างทำความสะอาดให้ทุกปี เขาบอกว่า “หลวงพ่อสั่งโคมจากร้านเขาคนเดียว เท่ากับเขาส่งขายในประเทศสามปี เขาเลยบริการทำความสะอาดให้ทุกปี ถึงเวลาจะส่งเจ้าหน้าที่มาตั้งนั่งร้านแล้วก็นอนเช็ดทีละเม็ด ๆ บริจาคช่วยกันอยู่หลายคนชื่อจะติดตามเสา
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  เป็นหน้าที่ของเพระศรีอาริยเมตไตรยท่าน แต่คนของพระพุทธเจ้าในอดีตหลายคนเพิ่งโผล่มาในยุคนั้น ก็ต้องได้รับการสงเคราะห์ต่างหาก ถ้าพระพุทธเจ้าในอดีตมาตรัสบอกด้วยพระองค์ ขอให้พระศรีอาริยเมตไตรยท่านสงเคราะห์ทางด้านไหน ท่านจะสงเคราะห์ให้ ถ้าไม่สงเคราะห์เดี๋ยวไปเกิดยาวไปอีก ถ้าขนาดพระศรีอาริยเมตไตรยนี่นะ ท่านเทศน์ครั้งหนึ่ง คนได้มรรคผลเป็นล้าน เพราะส่วนใหญ่บริวารท่านสร้างสมบารมีมาในระดับของอุคฆฏิตัญญู เหมือนกับผลไม้ที่งอมแล้วแตะหน่อยก็ร่วงไม่ต้องเสียเวลาไปบ่มนานเหมือนพวกเรา บ่มไปบ่มาไม่สุกเผลอ ๆ เน่าอีกต่างหาก
      ถาม :  พระศรีอาริยเมตไตรยเป็นพระพุทธศาสนาไหมคะ ?
      ตอบ :  เป็น เป็นผู้ตรัสรู้ เรียกว่าพุทธะ ในเมื่อเป็นพุทธะ เป็นศาสนาคือพุทธศาสนา
      ถาม :  เคยอ่านหนังสือหลวงพ่อ เป็นหนังสือลูกศิษย์บันทึกครับ เขาเล่าให้ฟังว่า เขาคุยกับหลวงพ่อ หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่าพระศรีอาริยเมตไตรยจริง ๆ เป็น (ฟังไม่ชัด) ?
      ตอบ :  ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะหนังสือลูกศิษย์ไม่ค่อยได้อ่านเยอะมีมั่ว อ่านไป ๆ อันไหนมั่วก็ข้ามไปเลย
      ถาม :  แล้วไม่ได้เช็คก่อนหรือครับ ?
      ตอบ :  คนตรวจทานคือด็อกเตอร์ปริญญา รับเรื่องแล้ว เสร็จแล้วพิมพ์เนื้อหาเสร็จไปให้หลวงพ่อตรวจ เออ...พิมพ์ไปได้เลย คือพูดง่าย ๆ คือจะได้เห็นไปเลยว่ากิเลสมครมีแค่ไหน อันนี้ไปนึกถึงหลวงพ่อสมเด็จพุฒาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม
              สมัยก่อนหลวงพ่อฤๅษีลิงดำของเราก็วิ่งรับใช้ท่านอยู่ลักษณะเป็นฐานานุกรมของท่านองค์หนึ่ง หลวงพ่อสมเด็จพุฒาจารย์พอช่วงทำบุญอายุของท่าน หลวงพ่อท่านก็ไปคัดเทศน์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์จารึกเอาไว้ จารึกเอาไว้สมัยที่ยังหนุ่ม ๆ อยู่มีจำนวนมาก และชอบสำนวน เทศน์ดีเหลือเกิน ก็จะเอามาพิมพ์เป็นหนังสือแจกในงานทำบุญอายุ แต่คราวนี้ไปเจอตอนท้ายนะซิ ด้วยอานิสงส์ของธรรมทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าเกิดใหม่มีเมียสวย ๆ ทีเดียวพร้อมกันร้อยคน ท่านจารึกเอาไว้เลยนะ หลวงพ่อก็เออ...เสร็จแล้วไปกราบเรียนหลวงพ่อสมเด็จ ท่านบอกว่า “หลวงพ่อครับ ไปค้นมาแล้ว ได้มาหลายผูกเลยที่ชอบใจ จะขออนุญาตพิมพ์แจกในงานทำบุญอายุ แต่ขอตัดบางส่วนออกได้ไหมครับ ?” หลวงพ่อสมเด็จถามว่า “แกจะตัดตรงไหน ?” ตัดตรงท้ายที่หลวงพ่อจารึกอธิษฐาน พระที่ท่านดีแล้วท่านไม่อาย แบบเดียวกับหลวงพ่อชา หลวงพ่อชาท่านตั้งใจสู้กับราคะจริต สู้กับราคะจริตเดินจงกรมสู้กับมัน ท่านบอกว่า “ถึงขนาดว่าอวัยวะสัมผัสผ้าก็เกิดความรู้สึกทนไม่ได้ ก็ตลบผ้าพันเอวแล้วก็เดิน ลักษณะเหมือนอย่างกับแก้ผ้า มีแค่สบงพันเองอยู่เดินจงกรมจนกว่าชนะ จนกว่าอารมณ์นั้นจะถอยไป” คราวนี่ลูกศิษย์พอจะทำประวัติหลวงพ่อชา อ่านมาถึงตรงนี้ก็อายแทนอาจารย์ บอกว่า “ขอตัดออกได้ไหม ?” หลวงพ่อชาบอก “ถ้าตัดออกก็ไม่ต้องทำประวัติฉันหรอก” พระที่ท่านดีแล้วท่านไม่อายนะ ท่านรู้ว่าสู้มากแค่ไหน ผ่านมาได้เพื่อที่คนอื่นจะใช้เป็นตัวอย่างได้ ถ้าไปตัดออกนี่ แหม...รสชาติหมดไปเยอะเลย ตอนทีเด็ดด้วย ท่านถึงได้บอกว่า “ถ้าตัดออกก็ไม่ต้องทำประวัติท่านให้เสียเวลาหรอก เดี๋ยวไปเจอตอนอื่นตัดออกอีกอย่างนี้”
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  ในส่วนของศีลห้า ถ้าเราผิดมีโทษ เพราะเป็นการเบียดเบียนตัวเองหรือเบียดเบียนคนอื่น แต่ตั้งแต่ศีลข้อหกขึ้นไป เป็นส่วนความละเอียดของใจแทน ถ้าขาดนี่ศีลไม่ขาด แต่ส่วนที่เป็นธรรมะบกพร่อง ถ้าเราสามารถทำได้ แสดงว่าสภาพจิตของเราละเอียดพอ การเข้าถึงธรรมก็ง่ายขึ้น แต่ถ้าเราบกพร่อง ในส่วนของธรรมะยังบกพร่องอยู่ โอกาสเข้าถึงธรรมก็น้อยลงไม่ใช่ศีลขาดแล้วลงนรก เป็นส่วนพร่องของธรรมะ อย่างเช่นการกินเข้าวเย็นนี่ ถ้าเราละได้ก็ไม่ต้องห่วงไปมื้อหนึ่ง ไม่ต้องไปเสียเวลา ปฏิบัติได้เต็มที่ขึ้น การที่เราไม่ดูการละเล่นไม่ดูอะไรคือไม่ไปกระตุ้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของตัวเองด้วยสิ่งภายนอก ไม่ตกแต่งร่างกายด้วยของหอมเครื่องย้อมเครื่องทาก็เหมือนกัน ถ้าจิตใจปลดได้ปล่อยได้ขนาดนั้น ก็ช่วยให้เข้าถึงธรรมได้ง่ายขึ้น แต่ขณะเดียวกันว่าศีลแปดจริ งๆ แล้วเป็นกำลังของพระอนาคามีจะยาก พระอนาคามีจะเป็นกันจริง ๆ ต้องปล้ำฌานสี่ให้ชัด ฌานสี่ไม่คล่องตัวเป็นไม่รอด เพราะว่าเรื่องของราคะเรื่องของโทสะต้องอาศัยกำลังฌานกดเอาไว้
      ถาม :  การนั่งสมาธิแล้วเรามีการตัดร่างกาย อันนี้ถือเป็นวิปัสสนาญาณหรือเปล่าคะ ?
      ตอบ :  อันนั้นเป็นวัปัสนึก ถือว่าเป็นสัญญา อยู่ในลักษณะของการท่องจำ แต่ยังดีนะ คือจำได้ก็ยังดี เพราะเราทวนไปเรื่อย ๆ พอกระทบของจริงปั๊บ จะเกิดความรู้สึกใจวูบขึ้นมา เออ...เราต้องทำอย่างนี้ ถ้าตอนนั้นเราตัดสินใจปุ๊บว่าทำอย่างนี้แล้วเราทำได้ จะเป็นตัวปัญญา ไม่ใช่สัญญาจำได้ แต่ตอนนี้เป็นปัญญาทำได้ เพราะฉะนั้น...สัญญาจำได้นี่เราต้องย้ำบ่อย ๆ ทำแล้วทำอีก ย้ำแล้วย้ำอีก ต้องไม่รู้จักเบื่อไม่รู้จักหน่าย ถึงทำได้แล้วด้วยความไม่ประมาทท่านทั้งหลายเหล่านั้นก็จะทวนย้ำอยู่ตลอด ถึงเวลาพอบอวก่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา แล้วไม่เถียงเลยโอเคใช้ได้ ถ้าบอกว่าไม่ใช่ของเรา อือ...ทำไมวันนี้เจ็บโนปวดนี่ ยังห่วงมันอยู่
      ถาม :  บริวารหลวงพ่อวัดท่าซุง สร้างบารมีมามากแค่ไหน ?
      ตอบ :  อย่างน้อย ๆ หนึ่งอสงไขยกับแสนมหากัป ถ้าตามมาจากระยะแรก ๆ จะเกินสิบ แต่ว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้จะมีจุดที่ทำให้ยากอยู่อย่างหนึ่ง คือวิสัยมาคล้าย ๆ พระพุทธเจ้า ในเมื่อวิสัยมาคล้าย ๆ พระพุทธเจ้าเพราะสร้างบารมีมายาวนานถึงเวลาจะทำเพื่อเข้ามรรคผลเลยกลายเป็นคนที่อยากรู้ไปหมดทุกเรื่อง ในเมื่ออยากรู้ไปหมดทุกเรื่องก็ต้องทำย้ำแล้วย้ำอีกทำแล้วทำอีก ถึงไม่อยกาจะรู้ไปหมดทุกเรื่องแต่วิสัยเก่าเหมือนกับวิสัยของครูก็ยังรู้มากว่าเขาอยู่ดี
              เพราะท่านทั้งหลายเหล่านี้เวลาที่จะเลี้ยวเข้ามรรคผลนี่ แหม...กว่าจะย่ำให้ฉ่ำได้แต่ละจุดนี่ เล่นกันเหงือกแห้งเลย เหมือนอย่างกับช้า แต่จริง ๆ ไม่ใช่นะ ต้องชัวร์ คนอื่นขึ้นบันได้มามันขึ้นเลย แต่ของท่านทั้งหลายเหล่านี้นี่ไปนั่งเช็คว่าบันได้กว้างเท่าไร ยาวเท่าไร แต่ละขั้นประกอบจากวัสดุอะไรบ้าง พร้อมจะสร้างบันไดใหม่ ไม่ต้องอาศัยบันไดอันนี้เลย แต่สาวกภูมิเขาเดินมาฉับ ๆ รู้ว่ามีบันไดเท่านั้นแหละ บางทีกี่ขั้นยังไม่รู้ซะด้วยซ้ำ แต่นั่นใช้วัสดุอะไรรู้หมด พร้อมจะสร้างเอง
      ถาม :  เขาบอกคนที่จะไปนิพพานถือว่าเป็นคนที่เหนือดวงแล้ว ไม่ต้องไปดูแล้วจริงไหมคะ ?
      ตอบ :  จริง ๆ เพราะกำลังของท่านทั้งหลายเหล่านี้ ส่วนใหญ่มั่นคงอยู่กับทาน ศีล ภาวนาเป็นปกติ คนที่มั่นคงในทานศีลภาวนา เรื่องของดวงนี่ให้ผลได้ไม่เกิน ๒๕ เปอร์เซ็นต์ อีก ๗๕ เปอร์เซ็นต์เป็นไปตามกำลังใจท่านนึกว่าดีก็ดี
              อย่างอาตมาสมัยก่อนคนเขม่นตาซ้ายร้ายจะมา เขม่นตาขวาดีจะมาอะไรก็ไม่รู้ ของเราเขม่นตาซ้ายลาภใหญ่จะมา เขม่นตาขวาลาภใหญ่กว่านั้นยิ่งจะมา อยู่กับตูนี่ดีหมด กำลังใจล้นซ้ะแล้ว พอเกิดขึ้นเราก็เฉย ๆ ไม่ได้สนใจเรื่องโชคเรื่องลางเล็ก ๆ น้อย ๆ
      ถาม :  การรักนิพพานเป็นอารมณ์นี่ จะเสมอไปไหมคะที่ว่าบารมีจะ (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  ถ้าจะรักพระนิพพานได้ต้องเป็นปรมัตถบารมี จิตใจเกาะนิพพานเป็นปกติ จิตใจรักนิพพานเป็นปกติ ถ้าพวกบารมีต้นนี่ พูดถึงนิพพานไม่กระดิกหูเลย ดีไม่ดีมาถามอีกคำนี้แปลว่าอะไรหรือ
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  แบบเดียวกับที่โน่น หลววงพ่อมหามุนีเขาจะมีหุ่นที่หล่อจากบรอนซ์จากอะไรที่บุเรงนองยึดมาจากไทย เขาไปลูบ ๆ จนพุงทะลุน่ะ เขาบอกว่าถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยตรงไหนแล้วลูบตรงนั้นแล้วจะหาย
      ถาม :  มีคนบอกว่าไทยเอามาจากเขมร แล้วพม่าก็มาเอาจากไทย ?
      ตอบ :  ใช่ ดูแล้วลักษณะเหมือนกับไทยโบราณหน่อย ๆ แต่น่าจะไม่ใช่ฝีมือไทยหรอก น่าจะเขมรจริง ๆ นั่นแหละ จะมีสิงห์ มีช้าง แล้วก็เทวรูปลูบซะพุงทะลุจริง ๆ ไม่น่าเชื่อว่าคนลูบแล้วจะสากได้ขนาดนั้น เป็นโลหะลักษณะที่เรียกว่าสำริดน่ะ แต่ฝรั่งเรียกว่าบรอนซ์
      ถาม :  ทุกข์เกิดจากจิตใจเราหรือเปล่าครับ ?
      ตอบ :  ต้องดู สมมติเราเอานิ้วไปจิ้มไฟก็ร้อนใช่ไหม เลิกจิ้มเสียก็เลิกร้อนแล้ว ตกลงร้อนเกิดจากจิตใจหรือเปล่า แหย่เข้าไปใจไม่ได้เกี่ยวเลย แต่จริง ๆ แล้วคือว่าเขาให้หาเหตุให้เจอ คือ สมุทัย เจอแล้วอย่าสร้างเหตุนั้นทุกข์ก็ดับลง
              เพราะฉะนั้น...อริยสัจจริง ๆ ดูแค่สองตัว คือทุกข์ กับสมุทัย แต่จริง ๆ ดูแค่ทุกข์ตัวเดียวก็พอ รู้ว่าทุกข์แล้วยังอยากเกิดต่อไหม พอถึงเวลาเราเลิกสร้างเหตุทุกข์ก็ดับ ความดับเขาเรียกว่านิโรธ การที่เราไม่สร้างเหตุทำให้ทุกข์เราดับลงได้เขาเรียกว่ามรรค คือหนทางที่จะดับทุกข์ และสองอย่างแค่คำเรียก ที่เหลือเป็นการกระทำ พระพุทธเจ้าท่านบอกรายละเอียดไว้เพื่อให้คนแยกแยะได้ ทำเอาจริง ๆ ตัดเอามาครึ่งเดียว หรือถ้าเก่งจริ งๆ เอาแค่ครึ่งหนึ่งในสี่ก็พอ
      ถาม :  ทำไมถึงมีการเรียกว่านิโรธสมาบัติ ?
      ตอบ :  คนละเรื่องกัน สมาบัติคือการเข้าถึง นิโรธสมาบัติคือการเข้าถึงความดับ ภาษาบาลีเขาเรียกสัญญาเวทยิตนิโรธ คือความดับซึ่งความจำและความรู้สึกทั้งปวง คนละเรื่องกับตัวนิโรธดับด้วยปัญญา อันนี้ยังเป็นส่วนของฌานสมาบัติ เพียงแต่ว่าใครเข้านิโรธสมาบัติตัวนี้เท่ากับว่าร่างกายได้พักผ่อนจริง ๆ เหมือนคนตายไปชั่วคราว กระทั่งอวัยวะภายในบางส่วนหลายส่วยก็หยุดทำงาน แม้ทำงานอยู่ก็ทำแบบแผ่วเบามากจนกระทั่งเครื่องมือวิทยาศาสตร์จับไม่ได้ หรือจับได้ยาก
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  ร้อยปี คงจะปีหน้าประมาณเดือนมีนาคม ฉลองอายุ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระราชาคณะ ที่อายุถึง ๑๐๐ ปี ผมยังไม่เคยได้ยินมาเลย คงจะมีองค์นี้องค์แรก ให้ท่านทำวัตถุมงคลรุ่นอายุวัฒโก ผู้เจริญด้วยอายุ เพราะท่านเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชวัดสุทัศน์ สายโน้นท่านจะชำนาญเรื่องสร้างพระกริ่ง
      ถาม :  บุญในการสร้างวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร ?
      ตอบ :  อันดับแรกเป็นวิหารทานชัดเลย อันดับที่สองถ้าเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูป เป็นที่ตั้งของรูปพระสงฆ์ก็เป็นพุทธานุสติ เป็นสังฆานุสติ อันดับที่ สามสิ่งท่านสร้างเป็นการเลียนแบบข้างบน ดึงความคุ้นเคยเก่า ๆ ของเราให้กลับมา จะติดตาติใจ คราวนี้ติดตาติใจแล้วจิตเกาะ จิตเกาะเมื่อไร ต้องนึกว่าวิหารร้อยเมตร วิหารร้อยเมตรอยู่ที่ไหน วัดท่าซุง วัดท่าซุงมีหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ กลายเป็นว่าดึงให้เขาเกาะความดีทางอ้อม
              ดูอย่างนางฟ้าปูทะเล แกเป็นแม่ค้าขายปู เสร็จแล้วในชีวิตได้ถวายสังฆทานกับหลวงพ่อแค่ครั้งสองครั้งเอง แต่แกไปแล้วแกชอบใจมณฑปแก้วที่ตั้งพระองค์ที่ ๑๐ องค์ที่ ๑๑ แกจะไปนั่งชื่นชมของแกอยู่อย่างนั้น ถึงเวลาแกก็กลับคราวนี้ใจเกาะอยู่ ตอนตายนึกถึงมณฑปแก้ว ตายแล้วไปเป็นนางฟ้าอยู่ข้างบนมีวิมานเป็นเพชรทั้งหลัง ใจเกาะความดี
      ถาม :  อย่างนี้ถ้าใจเกาะนิพพานจะไปนิพพานได้ไหมครับ ?
      ตอบ :  ถ้าเกาะได้จริง ๆ ก็ไปได้
      ถาม :  ..............................
      ตอบ :  ผมเองผมไม่ได้พึ่งเฉย ๆ ผมพิงเลย ท่านช่วยได้จริง ๆ สอบนักธรรมเอกสมัยผมท่านกอล์ฟเห็นนี่ประสาทกลับไปเลย ปัญหายากสาหัสแล้ว ผมก็ดูหนังสือไม่ไหวด้วย เพราะไวรัสลงตับซะแผ่หลาเลย อ่านก็ไม่ได้อ่าน เรียนก็ไม่ได้เรียน ยากถึงขนาดนั้น ต้องอาศัยท่าน พอถึงเวลาทำข้อสอบไปแล้วก็จับ ๆ มาดู โอ้โฮ...ตรงทุกตัวอักษร ถ้าเขาจับว่าทุจริตเถียงเขาไม่ได้ เหมือนทุกคำ แล้วคุณไม่ได้ทุจริต คุณไม่ได้ลอก เหมือนได้อย่างไร ...!
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  ของผมนี่ผมเถียงท่านไม่ได้เลยนะ มีอยู่อันหนึ่ง นักธรรมเอกผมโดนตัดไปห้าคะแนนเลย เจ็บใจมากเลยเขียนผิดคำเดียว เสียงท่านบอกบาลีชัด ๆ อยู่ในหู บอก “นะ หิ รุณเณนะ โสเกนะ สันติง ปัปโปติ เจตะโส” ถ้าจิตเข้าถึงสันติคือความสงบแล้ว ย่อมไม่ทุกข์โศกร่ำไร คราวนี้ของเราแทนที่จะรีบไปเปิดทวน ไม่เปิด พอดีเข้าห้องสอบพอดีออกจ๊ากมาพอดี ผมนึกคำสุดท้ายไม่ออกผมก็เขียนไปเรื่อยเปื่อย แทนที่จะเป็นสันติง ปัปโปติเจตะโส กลายเป็นติปัสสิโน กลายเป็นเห็น เลยโดนหักไปซะห้าคะแนนเต็ม ๆ เจ็บใจมากเลย ผิดคำเดียวหักไปตั้งห้าคะแนน อยากหักมานแล้วหักไม่ได้ซักที เอาทีเดียวคุ้มเลย คำเดียวนี่หักเราคะแนนหนึ่งก็น่าเกลียดแล้วนะ ความจริงน่าจะให้อภัยซะด้วยซ้ำไป เป็นผมตรวจได้ตขนาดนั้นนี่ผมให้จริง ๆ ไปเจอกรรมการโคตรเขี้ยวเข้า หักผมห้าคะแนน
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  สมัยที่ยังเรียนอยู่ จำได้ว่าเป็นวิชาหน้าที่พลเมืองกับศีลธรรม คราวนี้วิชาศีลธรรมนี่เขาให้ท่องประวัติของพระเถระสำคัญ ๆ อย่างพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พระมหากัสสป พระอานนท์อะไรอย่างนี้ ท่องจนกระทั่งขึ้นใจ พอเป็นพระเรียนเลยสบาย เพราะจำได้ตั้งแต่ตอนเป็นนักเรียนแล้ว ท่องได้จริง ๆ ท่องได้ทุกอย่าง เพราะว่าครูให้ท่องจำเลยทั้งประวัติ
              อย่างพระมหากัสสปเดิมชื่อปิผลิอย่างนี้ อยู่บ้านกะปิละ สกุลกัสสป ท่องกันเป็นฉาก ๆ ไปเลย สมัยนี้เด็กไม่ค่อยได้ท่องนะ เขาบอกว่าท่องแล้วเป็นนกแก้วนกขุนทอง จริง ๆ คือวิธีให้เด็กรู้คิด บ้านเราไม่ได้มีพื้นฐานมาจากครอบครัว จะให้เด็กคิดเองเด็กคิดไม่ค่อยเป็น แล้วพอไม่ให้ท่องเด็กเลยพลอยไม่ได้อะไรไปด้วย พื้นฐานครอบครัวเราเลี้ยงเด็กทะนุถนอมเกินไป