สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ (ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

      ถาม:  พระโพธิสัตว์ที่ต้องการลาพุทธภูมิ ?
      ตอบ :  ไม่จำเป็นจ้ะ ลาข้างบนก็ได้ เจ้าแม่กวนอิมก็ลาอยู่ข้างบน
      ถาม :  การที่เรามีอดีตังสญาณ จะเป็นสิ่งที่บอกได้ไหมครับว่าสัญญามีอยู่หรือไม่ ?
      ตอบ :  ชัด ๆ อยู่แล้ว ไม่เที่ยงจริง ๆ พอข้ามชาติก็ลืม
      ถาม :  แต่ว่าเราก็ยังสามารถใช้อดีตังสญาณ ?
      ตอบ :  ใช่ มีย้อนกลับไปดู บางคนข้องใจตรงไหนรู้ไหม ? เกิดมาแล้วทำไมต้องทำให้เราลืมด้วย พอถึงเวลาจะมาเกิดใหม่นะ ถ้าของไทยเราเขาจะให้กินผลไม้เรียกว่าลูกลืมชาติ บางคนเก็บไว้ไม่ยอมกิน เกิดใหม่เลยจำได้ ถ้าของจีนเขาจะให้กินน้ำชาด้วยหนึ่ง น้ำชาของคุณยายเม่ง ถ้ากินเข้าไปก็จะลืมเหมือนกัน
      ถาม :  ทำไมต้องให้ลืมด้วย จำได้ไม่ดีกว่าหรือครับ บางคนเห็นภพเห็นชาติ ?
      ตอบ :  ไม่ใช่ ถ้าจำความดีได้หรือว่าจำความชั่วได้ ทำดีทำชั่วแล้วได้รับผลอย่างไร จะเป็นการทำความดีความชั่วที่ไม่ได้ออกจากน้ำใสใจจริง ทำดีเพราะอยาก ไม่ทำชั่วเพราะกลัว ไม่ใช่ในลักษณะทำด้วยน้ำในใจจริง จะเหมือนอย่างกับทำเพราะถูกบีบบังคับ
      ถาม :  การปฏิบัติธรรมนั้นคือบางส่วน คือพอเราได้ดีทำดีแล้วก็มีการระลึกชาติ เพื่อให้ความหวังในการปฏิบัติ ?
      ตอบ :  คือให้ดูแล้วถามตัวเองซิว่าเข็ดหรือยัง กี่ชาติ ๆ ก็ยังทุกข์อย่างนี้ แต่สำหรับทั่วไป ๆ ที่เวียนตายเวียนเกิดอยู่ ถ้าไม่ให้ลืมก็ไม่ใช่ว่ทำดีทำชั่วจากน้ำใสใจจริง แต่เป็นประเภทที่เรียกว่าถ้าทำดีเพราะอยากคืออยากเป็นเทวดา อยากเป็นพรหมอย่างนี้ หรือไม่ก็ประเภทที่ว่าพยายามที่จะไม่ทำชั่วเพราะกลัว ไม่ได้เกิดจากความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง กลายเป็นการละเมิดกฎของกรรม เลยต้องให้ลืมซะ เสร็จแล้วจะไปทำอย่างไรก็ให้ออกหัวออกก้อยข้างหน้าเถอะ
      ถาม :  การลืมของจีนทำไมกินน้ำชาละครับ ?
      ตอบ :  ประเภทประเพณีของคนจีนเขาติดน้ำชามากกว่า เขาเลยเอาชาให้เจี๊ยะ ยังดีนะของไทยเราไม่ติดเหล้ามาก ไม่อย่างนั้นเอาเหล้าให้กินน่ะหมดเลย
      ถาม :  ที่ว่าคนทำดีขึ้นสวรรค์ คนทำชั่วลงนรกนี่ คนชาติอื่นเป็นอย่างไรครับ ?
      ตอบ :  ที่เดียวกันหมดจ้ะ
      ถาม :  ที่เดียวกันหมด ?
      ตอบ :  ที่เดียกวันหมดจ้ะ เพียงแต่ขนบธรมเนียมประเพณีความเชื่อถือแล้วก็ความหยาบของจิตที่รู้เห็นต่างไป เลยทำให้สิ่งที่รู้เห็นต่างกัน แต่จริง ๆ ทั้งหมดที่เดียวกัน ถ้าอย่างเราเอาประเภทเวดาแต่งตัวเต็มบุญเต็มบารมีเมหือนกับใส่ชุดลิเกไปให้ฝรั่งดู ไม่รู้หรอกว่าใคร แต่ถ้าใส่ชุดขาวรุ่มร่าม ๆ มีวงแสงปิ๊งบนหัว มีปีกขาว ๆ เขารู้ว่านี่เทวดา
              เพราะฉะนั้น...ถึงเวลาไปเขาเลยต้องแสดงให้เห็นภาพนั้น ไม่อย่างนั้นเขาไม่รู้ว่าอันนี้คือเทวดา ดังนั้นความเชื่อถืออย่างหนึ่ง ประเพณีอย่างหนึ่ง ความหยาบละเอียดของจิตอีกอย่างหนึ่ง ทำให้การรู้เห็นต่างกันไป แต่ว่าทั้งหมดน่ะอยู่ที่เดียวกัน ไม่มีการแบ่งประเภทนรกไทยนรกจีน สวรรค์ไทยสวรรค์จีนไม่มีหรอก ที่เดียวกันหมด
      ถาม :  หิ้งเอาไว้ตั้งฉากจะถวายอาหาร จะหันหน้าไปทางใต้ได้ไหมคะ ที่วางอาหาร ?
      ตอบ :  ใต้กับตะวันตกนี่ถ้าไม่ใช่หน้าพระไม่ได้เป็นไร ถ้าหน้าพระหันไปนี่ลำบากหน่อย ทำงานเก่งแค่ไหนก็เงินหมดจ้ะ
      ถาม :  ถ้าวางอาหาร มีจานผลไม้ ?
      ตอบ :  วางอาหารไม่เป็นไรจ้ะ แต่ว่าหน้าพระให้ไปตะวันออกหรือเหนือไว้
      ถาม :  การทำบุญจำเป็นต้องเขียนซองไหมครับ มีความพิเศษอย่างไรครับ ?
      ตอบ :  พูดง่าย ๆ ถ้ากำลังใจเราเพียงพอก็ไม่ต้อง กำลังใจไม่พอก็ระบุซักหน่อย
      ถาม :  อย่างนี้ถ้าเกิดเราทำบุญแล้วเราเขียนชื่อคนอื่นอย่างนี้ ?
      ตอบ :  ได้ ตัวเราได้ก่อน เขียนให้เขาถ้าเขาไม่ได้โมทนาก็เท่านั้นแหละ
      ถาม :  เรื่องไปเมืองนอกกับหลวงพ่อฤๅษีไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
      ตอบ :  เมืองนอกจริง ๆ กับหลวงพ่อผมไม่ได้ไป ผมปฏิเสธอยู่คนเดียว ค่าเครื่องบินสามหมื่นกว่าบาท กลัวไปแล้วไม่คุ้มค่าเครื่องบิน เพียงแต่ว่าแหม...ไปลักษณะนั้นไปให้เสียสตางค์ทำไมวะ เราไปไม่ต้องเสียสตางค์เราก็ไปได้ (หัวเราะ) ง่ายกว่าด้วย ไปไม่ต้องเสียสตางค์ดีกว่า ท่านไปไหนเราก็ย่องตามไปด้วย อยากรู้ว่าวันนี้หลวงพ่อทำอะไรก็ย่องไปกราบท่านซะก่อน ขออนุญาตท่านแล้วก็ตามดูไปสิท่านไม่ได้ว่าอะไรนี่ เที่ยวนั้นเฉพาะครูฝึกที่ไปกับหลวงพ่อ ๓๒ คน จ่ายค่าเครื่องบินไปกลับรวมแล้วล้านกว่าบาท กราบเรียนหลวงพ่อบอกว่า “หลวงพ่อครับ เสียค่าเครื่องบินเป็นล้านจะคุ้มหรือครับ ?” คือถ้าเราไปคิดถึงรายรับนะ บางครั้งจะเข้าเนื้อซะด้วยซ้ำไป หลวงพ่อท่านบอกว่า “ถ้าสอนคนไปนิพพานได้แม้แต่คนเดียวถือว่าคุ้ม เพราะว่าเงินล้านซื้อนิพพานไม่ได้” คิดคนละอย่างกับเรา เถียงท่านไม่ได้เลย เอาเงินล้านไปซื้อนิพพานที่ไหนได้ ถ้าซื้อได้ผมรีบซื้อไปนานแล้ว
      ถาม :  หนังสือโลกทิพย์ส่วนมากเป็นเรื่องให้เขายกเมฆมากกว่า ?
      ตอบ :  ตอนที่เขาไปขอเรื่องของผมน่ะ เขาสารภาพว่าส่วนใหญ่แล้วจ้างเขา เขาบอกว่า “ถ้าไม่ใช่ครูบาอาจารย์ที่คนนับถือกันเต็มบ้านเต็มเมืองจริง ๆ ที่เขาเจตนาเอาประวัติลงเพื่อจะขายหนังสือ ที่เหลือส่วนใหญ่ต้องจ้างให้เขาลงประวัติ” ถามว่า “แล้วได้อะไร ?” เขาว่า “อันดับแรกได้ค่าจ้าง เขาให้ค่าจ้างเอาประวัติเขาลง อันดับที่สองพอลงคนก็คิดว่าวัดนั้นดี พระองค์นั้นดีก็อยากจะไปทำบุญ เขาก็จัดรถไป ก็ได้ค่ารถอีกต่างหากอย่างนี้ ตัวเองขายหนังสือได้ เพราะถ้าเป็นลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพนับถืออาจารย์องค์นั้นอยู่แล้ว ก็มาซื้อหนังสือตัวเอง ส่วนอาจารย์องค์นั้นจ้างเขาลงได้อะไร คนไปวัดมากขึ้นทำบุญกับตัวเองมากขึ้น มีรายรับเข้าวัด ได้เผยแพร่ชื่อเสียงของตัวเองมากขึ้นอะไรอย่างนี้ ที่เขายอมสารภาพเพราะตอนนั้นเขาขอซื้อเรื่องแล้วผมไม่ยอมให้ ผมบอกว่า “ผมกลัวดัง” เขาบอกว่า “หลวงพี่ครับ รู้หรือเปล่าครับว่าพวกที่ลง ๆ กันนี่ส่วนใหญ่ต้องจ้างผมลงทั้งนั้น” พอเขาให้เหตุผลเสร็จเรียบร้อย บอกว่า “ก็ไปให้คนเขาจ้างคุณต่อก็แล้วกัน...!”
      ถาม :  กรรมฐานไม่ค่อยก้าวหน้า
      ตอบ :  ไม่ก้าวหน้ามีแต่ทำเกินกับทำขาด ทำพอดีจะก้าวหน้า ส่วนใหญ่พวกเราทำขาด ที่ทำขาดคือตอนเจริญากรรมฐานแล้วรักษาอารมณ์ได้ แต่พอลุกขึ้นเลิกแล้วเราไม่ประคองอารมณ์ต่อ เราจะไปทิ้งเลย ต้องประคับประคองอารมณ์สบายที่ได้จากกรรมฐานให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ พอเคยชินในการประคองอารมณ์อยู่นาน ๆ สภาพจิตยอมรับ จากที่เคยได้ครึ่งชั่วโมง จะได้ชั่วโมงหนึ่ง ได้สองชั่วโมง สามชั่วโมง ได้ครึ่งวัน ได้วันหนึ่ง ได้สองวันสามวันไล่ไปเรื่อย ความก้าวหน้าจะมี แต่ส่วนใหญ่แล้วเราไปปล่อย การปฏิบัติเหมือนกับว่ายทวนน้ำ พอเราปล่อยก็ลอยตามน้ำไป ถึงเวลาเราทำใหม่เราก็ว่ายอีก แล้วก็ปล่อยลอยตามน้ำอีก ตกลงเราขยันมากเลย มีงานทำทุกวันแต่หาผลงานไม่ได้เลย เพราะอย่างเก่งก็เท่าเดิม หรือไม่ก็น้อยกว่าเดิมเสียอีก เพราะลอยไกลไปหน่อย
      ถาม :  ทรงอารมณ์สบายกับความรู้สึกสบาย แตกต่างกันอย่างไรครับ ?
      ตอบ :  ต่างกัน อันหนึ่งเราต้องตั้งสติประคับประคองอยู่ การทรงอารมณ์คือการตั้งสติประคับประคอง ระมัดระวังไว้ให้อยู่กับเราไม่ให้เสียไป ส่วนตัวสบายใจจริง ๆ นั่นน่ะ ถ้าทำถึงเป็นของเราแล้วจะสบายใจ หรือไม่อีกทีหนึ่งคือเราทำถึงแล้วเราก็ปล่อยให้สบายเฉย ๆ พอผลหมดลงก็หายสบาย คราวนี้เราก็ลำบากต่อไป
      ถาม :  การทรงอสุภกรรมฐาน แล้วอาจเกิดอารมณ์ไม่สบายใจขึ้น ?
      ตอบ :  อสุภกรรมฐานจริง ๆ แล้วเต็มที่ได้ไม่เกินปฐมฌาน แต่คราวนี้พอเราพิจารณาอารมณ์ใจทรงตัวแล้วเขาให้จับอานาปานสติภาวนาต่อ จะได้ฌานสูงขึ้นจากตรงอานาปานสติ คราวนี้ถ้าเราทำบ่อย ๆ ทำจนชินแล้วจับปุ๊บก็เป็นฌานสี่ รักษาอารมณ์ได้ก็จะกดตัวราคะให้นิ่งไป ถ้าทำไปนาน ๆ เหมือนเอาหินทับหญ้าไว้ เดี๋ยวหญ้าตายไปเอง หรือไม่ก็พิจารณาเห็นจริง ๆ ว่าร่างกายของราก็มีสภาะเหมือนอสุภะอย่างนี้ ร่างกายของเขาก็มีสภาพอย่างนี้ ยินดีไปก็เท่านั้น ถึงเวลาก็สลายตัวลง ถอนความยินดียินร้ายจากมันได้เมื่อไรก็พ้นไป คราวนี้สบายยาว
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  เป็นมโนกรรม ถ้าพูดออกมาเป็นวจีกรรม ถ้าทำก็เป็นกายกรรม ถ้าเราเป็นพระ ถ้าเกิดจิตกำหนัดขึ้นมาพูดจาเกี้ยวเขาก็เป็นสังฆาทิเสส เกิดจิตกำหนัดจับต้องกายเขาเป็นสังฆาทิเสส แต่ถ้าว่าทำการเสพเมถุนก็เป็นปาราชิกไปเลย
      ถาม :  ............................
      ตอบ :  ไม่แน่ ไม่ได้หมายความว่าราคะตัวเดียวที่ตีเราอยู่ โทสะกับโมหะก็เอาด้วย สังเกตไหมว่าคนแก่ ๆ มักขี้โมโห คนแก่ส่วนใหญ่หมดสมรรถภาพไปเยอะแล้ว แต่ออกไปในทางขี้โมโหแทน เอาแต่ใจตัวเอง เพราะฉะนั้น....เรื่องของกิเลสจะตีเรานี่ แหม...อย่าคิดว่าเสื่อมสมรรถภาพแล้วจะปฏิบัติง่ายขึ้นนะ อาจจะยากกว่าเดิมอีก
      ถาม :  ไม่คงตัวขนาดปาราชิกได้ ?
      ตอบ :  เอาตัวอย่างพระมหากัปปินะ พระมหากัปปินะเดินจงกรมอยู่ในป่าแหงหน้าขึ้นมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง พระจันทร์เต็มดวงนี่จริง ๆ ยังไม่มืดนะ เพราะวันขึ้น ๑๕ ค่ำจริง ๆ พระจันทร์กับพระอาทิตย์ประชันกัน พระอาทิตย์ยังไม่ตกพระจันทร์ขึ้นมาครึ่งฟ้าแล้ว ท่านเลยนึกขึ้นมาว่า เอ๊ะ...วันนี้เป็นวัน ๑๕ ค่ำวันอุโบสถ ต้องฟังปาฏิโมกข์ ท่านก็นึกต่อไปว่า “เราเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ต้องไปทวนปาฏิโมกข์ก็ได้” คิดแค่นั้นพระพุทธเจ้าท่านเปล่งฉัพพรรณรังสีปรากฏเฉพาะหน้าเลย บอกว่า “มหากัปปินะ ถ้าทุกคนคิดอย่างเธอแล้วศาสนาจะตั้งอยู่ได้อย่างไร ?” การไม่ลงปาฏิโมกข์โดนปรับปาจิตตีย์ ข้อไม่เอื้อเฟื้อพระวินัย คนโดนอาบัติบ่อย ๆ จิตหยาบ พอมากขึ้นมากเข้าเดี๋ยวก็ทำอาบัติหนักกว่านั้นได้
      ถาม :  ตอนจำพรรษาอยู่วัดอยู่ในป่า ?
      ตอบ :  ถ้าอยู่ไม่ถึงสี่องค์ไม่ต้องปาฏิโมกข์ อยู่องค์เดียวอธิษฐานอุโบสถ อยู่สององค์บอกบริสุทธิ์ต่อกัน อยู่สามองค์ตั้งญัตติและบอกบริสุทธิ์ ถ้าอยู่สี่องค์ขึ้นไปถึงสวดปาฏิโมกข์
      ถาม :  ถ้าไปอยู่ปริวาสบ่อย ๆ ?
      ตอบ :  ปริวาสบ่อย ๆ ก็โกหกเขาบ่อย ๆ เพราะเราต้องไปประกาศว่าเราโดนสังฆาทิเสสข้อไหน ถ้าไม่โดนคือโกหกเขา แล้วหลวงพ่อฤๅษีลิงดำท่านไม่เคยสนับสนุนเรื่องปริวาสเลย ท่านบอกว่า “ถ้าใครเป็นอาบัติสังฆาทิเสสจริง ๆ แล้วมาบอกจะได้จัดปริวาสให้ แต่ถ้าไม่โดนอย่าไปเลย ยกเว้นอยู่อย่างเดียวว่าจะไปศึกษารูปแบบของเขาไว้จะได้รู้ว่าทำอย่างไร ต่อไปเราจะได้ทำถูก”
      ถาม :  อย่างพระรูปที่บางองค์ใช้คำว่า คือการไปเอื้อเฟื้อผู้อยู่ใหม่ แล้วตัวผู้อยู่ใหม่ผู้มาบวชใหม่นี่ก็คล้าย ๆ กับว่าเป็นสถานที่ที่ใช้ในการปฏิบัติ ?
      ตอบ :  คุณอย่าลืมว่าตอนเก็บรัตติเฉททุกเช้าต้องประกาศบอก เราโดนอาบัติอะไรมา ขณะนี้ได้อยู่ปริวาสไปแล้วเป็นเวลากี่วันกี่คืน ถ้าคุณไม่โดนอาบัติตัวนั้นเท่ากับว่าคุณโหกเขาอยู่ทุกวัน
      ถาม :  ถ้าเกิดไม่อาบัติสังฆาทิเสส แต่ว่าร่วมกับเขาร่วมเฉพาะขณะ ?
      ตอบ :  เราร่วมอยู่ลักษณะปกตัตตะ หรือเป็นอาจารย์กรรมก็ได้ ไปอบรมไปสั่งสอนอย่างนี้
      ถาม :  ขอใช้สถานที่อย่างนี้ ?
      ตอบ :  ไปสังเกตการณ์ไปดูอะไร แต่ไม่ต้องไปร่วมเข้ากับเขา เพราะไปร่วมเข้ากับเขาเท่ากับว่าไปสารภาพผิดอยู่ทุกวัน ถ้าไม่ได้ทำเองก็ผิดซ้ำเข้าไปเรื่อย ระยะหลังมีการล่าปริวาส เขาใช้คำว่าล่าปริวาสเลย คือจะมีรายการทั่วประเทศไทย วัดไหนจัดปริวาสขึ้นกี่ค่ำแรมกี่ค่ำเดือนไหนจะมีไว้หมด แล้วจะตระเวนไปตามนั้นน่ะ มีการปั่นกลายเป็นว่าพระที่อยู่ปริวาสใครได้ทำบุญก็จะได้บุญมาก พระที่อยู่ปริวาสต้องเป็นพระที่ต้องสังฆาทิเสส สังฆาทิเสสน่ะขาดความเป็นพระชั่วคราว ศีลไม่เท่าเขา ศีลไม่บริสุทธิ์จะบุญมากได้อย่างไรก็ไม่รู้ ในเมื่อเขาปั่นอย่างนั้น คนก็ชอบไปทำบุญทำบุญด้วยเงินบ้างทำบุญด้วยของบ้าง สงเคราะห์ด้วยอาหารการกินบ้าง อุดมสมบุณณ์อยู่สบายกินสบายเที่ยวไปได้เรื่อย บางวัดแจกหนังสือแจกย่ามแจกเงินค่ารถกลับอีกต่างหาก สบายไปกันเรื่อย เสร็จแล้วเท่าที่เคยเจอมาคือไปตั้งแก๊งค์กัน ไปสุมหัวแล้วก๋ทำความชั่วซ้ำ เขาเรียกปุนัปปุนัง โดนแล้วโดนอีก บอกง่าย ๆ ปริวาสสมัยนี้มีไม่กี่วัดที่จัดได้ดีจริ งๆ นอกนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นการส่งเสริมให้คนชั่วมากขึ้น
      ถาม :  มีที่ไหนบ้างครับที่ดี ?
      ตอบ :  วัดชากสมอที่ชลบุรีนั่นจัดทั้งปีเลย ชัดละ ๑๕ วัน แล้วโหดมากเลย ไปถึงต้องฟังเขาทุกอย่าง เพราะเขาจัดเพื่อการสงเคราะห์เพื่อนสหธรรมิก คนไหนไม่แน่ใจความบริสุทธิ์ตัวเอง คิดว่าโดนอาบัติตัวไหนไปเลย บอกได้เลยอยู่กันไป
      ถาม :  อย่างมโนกรรมบางครั้งผมไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือผิดครับ ?
      ตอบ :  คิดไม่เป็นไร ไม่ได้พูด ไม่ได้ทำศีลไม่ได้ขาด แต่ว่าเป็นกรรมอย่างหนึ่งเหมือนกัน
      ตอบ :  บวกไปเท่านั้นกับอีกหกวันหกคืน อย่างปิดบังไว้สามเดือนก็จะเป็นสามเดือนกับหกวันหกคืนอย่างนี้ ปิดไว้ปีหนึ่งก็เจอปีหนึ่งกับหกวันหกคืน ถ้าอ้างว่าจำไมได้ท่านให้ปรับตั้งแต่วันแรกที่บวช ถ้าเป็นอาตมาก็เจอเกือบยี่สิบปีบวกไปอีกหกวันหกคืน
      ถาม :  อย่างนี้ที่จัด ๆ กันอยู่ ๗ วัน ๗ คืนก็ไม่มีใครหลุดเลย ?
      ตอบ :  ไม่มีใครหลุดหรอก เพราะส่วนใหญ่ถ้าปิดเอาไว้จะนานเกินไป แต่คราวนี้ของเขาถือว่าเก็บมานัตต์ตัดรัตติเฉทได้ เขาก็บวกไปเรื่อย ผมอยู่ที่นี่ ๗ วันผมไปอยู่ที่โน่น ๗ วันไล่ไปเรื่อยกว่าจะครบ ๓๖๕ วันอะไรอย่างนี้
      ถาม :  ช่วงระยะเวลาที่สึกไปนับเวลาตรงนั้นด้วยหรือเปล่าครับ ?
      ตอบ :  นับแค่อายุการบวช คนที่โดนอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส สึกไปแล้วทำกินไม่ขึ้น สังเกตมาเยอะแล้ว ยิ่งปาราชิกนี่ยิ่งชัดเลย
      ถาม :  ถ้าต้องสังฆาทิเสสต้องแก้ไขอย่างไร เวลาใกล้ ๆ จะสึกครับ ?
      ตอบ :  ต้องบอกสารภาพ ถึงเวลาก็ไปอยู่ปริวาสให้เรียบร้อยกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วสวดยกขึ้นเป็นสงฆ์ก่อนแล้วค่อยสึก
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  ถ้าเราบวชแล้วโดนสังฆาทิเสส โดนตั้งแต่วันไหนเขานับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันสึก คุณบวชใหม่คุณก็ไปสารภาพผิดแล้วก็ชดใช้คืนไปซะบวกไปอีกหกวันหกคืน
      ถาม :  ถ้าลงปาฏิโมกข์ละครับ ?
      ตอบ :  พาคนอื่นเจ๊งไปด้วย เพราะว่าสังฆาทิเสสหรือปาราชิกลงปาฏิโมกข์หรือว่าลงสังฆกรรมอะไรก็ตาม ทำสังฆกรรมเขาเสียหมด เพราะสังฆกรรมเป็นสมานสังวาส คือต้องมีศีลเสมอกัน แต่พอกลายเป็นนานสังวาส ศีลไม่เสมอกันเข้าไปสังฆกรรมจะเสีย ไม่บริสุทธิ์ มีแต่จะสร้างกรรมเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เขาบวชพระก็ไม่เป็นพระ เพราะว่าผู้ที่อยู่ในสังฆกรรมไม่บริสุทธิ์ สมัยนี้น่ากลัวมาก
      ถาม :  พระลากลับบ้าน ?
      ตอบ :  ไปเชียงใหม่มีโอกาสผ่านไปทางแม่วาง แวะสำนักสุสานไตรลักษณ์กราบหลวงปู่ขันด้วย
      ถาม :  แม่วางตำบลอะไรครับ ?
      ตอบ :  ถามเขาว่าหลวงปู่ขันสำนักสุสานไตรลักษณ์ ชาวบ้านบอกได้ทั้งนั้น
      ถาม :  ใกล้โรงพยาบาลแม่วางครับ
      ตอบ :  เคยไปที่ไหน แบบเดียวกับหลวงปู่หลวง หลวงปู่หลวงถ้าไม่ตายนี่ไม่เล่านะ ไปเจอข้างบนโน่น อยู่ ๆ หลวงตาเดินเตาะแตะ ๆ มา แหม...หน้าตาท่านอ้วนท้วนน่ารัก ก็เข้าไปแล้วกราบ ๆ ที่เท้า ถามว่า “หลวงพ่ออยู่วัดไหนครับ ข้างล่างนะครับ ไม่ใช่ข้างบน ?” ท่านบอกว่า “เอาอย่างนี้นะ ผมชื่อหลวง ฉายากตปุญโญ ไปถาม ๆ ดูเถอะมีคนรู้จักอยู่หรอก” ถามไปถามมาหลวงปู่หลวง วัดป่าสำราญนิวาส ถ้าท่านไม่มรณภาพอาตมาไม่เล่าให้ฟังนะ ไม่อย่างนั้นไปกวนท่านตายเลย นั่นก็ไม่เคยเจอบนโลกมนุษย์ ไปจ๊ะเอ๋ท่านข้างบนเข้า ถึงได้รู้จักท่าน