ถาม :  นี่ก็จะทำบุญตามวัดที่ในหลวงไป แต่ถ้าในหลวงไม่ไปวัดไหนนี่ก็ไม่ไปวัดนั้นเหมือนกัน
      ตอบ :  (หัวเราะ) ดีเหมือนกัน ใช้ในหลวงเป็นเข็มทิศ คือของพระองค์ท่านได้ทิพจักขุญาณ ตั้งแต่เจ็ดพรรษาตอนนั้นพระชนมายุได้เจ็ดพรรษา
      ถาม :  คิดว่าในหลวงท่านก็บรรลุเหมือนกันน่ะคะ ?
      ตอบ :  ก็ อันนี้บอกได้ยากนะจ้ะ ไอ้เรื่องของเกณฑ์มรรคเกณฑ์ผล หรือว่าการปฏิบัติอะไร จริง ๆ แล้ว เป็นหน้าที่ ที่พระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่จะพยากรณ์ คราวนี้ว่าหลวงพ่อท่านรับทราบมา แล้วท่านบอกก็ถึงได้กล้าพูดอันจุดไหนก็ตาม ถ้าหากว่าไม่ได้ฟังมาโดยตรงจะไม่พูดต่อ เพราะถือว่าผิดมารยาท รู้ก็พูดไม่ได้ ไม่รู้พูดไปยิ่งผิดใหญ่
      ถาม :  ตัวยารักษามะเร็งที่เขาลงหนังสือพิมพ์นี่จริงหรือเปล่าคะ ?
      ตอบ :  ไปทดสอบดูซิ แทนที่จะไปถามเขา มาถามพระ ถามเจ้าของยาเขาตรง ๆ ซิ ไอ้อะไร ไอ้วี ๑ ใ่ช่มั้ย ?
      ถาม :  เห็นมันเป็นสูตรยาแผนโบราณ
      ตอบ :  ไม่ทราบเหมือนกันจ้ะ ไอ้เรื่องโรคทั้งหลายเหล่านี้ บางทีโบราณมันอาจะไม่มีก็ได้ แต่อย่างมะเร็งนี่มีอยู่แล้ว โบราณเขามียารักษาอยู่ แต่่ว่าไอ้โรคเอดส์นี่มันไม่น่าจะมีสมัยก่อน ถ้าไม่มี มันก็ยังคงไม่มีสูตรยา
      ถาม :  ....................
      ตอบ :  อันนี้ก็ถือว่าเป็นสัญลักษณ์เฉพาะตัวของเรา ถ้าท่านมาลักษณะพระพุทธชินราช ก็แสดงว่างานมันจะลำบากแล้วตัวอาตมาเอง สัญลักษณ์เฉพาะตัวก็คือ สมเด็จองค์ปฐม เสด็จมาในลักษณะพระวรกายผิวดำ ก็งานลำบาก เลือดตากระเด็นนั่นแหละ แต่สำเร็จ แต่ถ้ามาแบบสีทองทุกอย่างสะดวก มันจะเป็นสัญลักษณ์เฉพาะ ที่ของหลวงพ่อก็ถ้าหากว่าเห็นสีแดงก็จะป่วย ยิ่งแดงมากก็จะป่วยหนัก เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องเฉพาะที่ท่านสงเคราะห์ให้ ถ้าเราไปบอกคนอื่นว่าเราเห็นพระพุทธชินราชแล้วงานหนัก งานยุ่ง คนอื่นเขาเห็นเขาอาจรวย คนละอย่างกัน
      ถาม :  มีประสบการณ์อยู่ว่าเวลานอน พอเคลิ้มแล้ว เห็นแสงสว่างทุกทิศเจิดจ้า...(ฟังไม่ชัด)........
      ตอบ :  ก็อาจเป็นไปได้ เรื่องของพระท่านจะแสดงให้นี่ ยังไงก็แสดงได้อยู่แล้ว พุทธานุภาพไม่จำกัดอยู่แล้ว
      ถาม :  ของผมจำไม่ได้เลย ท่านก็เทศน์ไปเรื่อย พอผมตื่นมาปุ๊บ
      ตอบ :  ให้ตั้งสตินะ ตอนที่ฟังเรายังรู้ตัวอยู่ ให้ตั้งสติตั้งใจจำ พอตื่นมาปุ๊บรีบโน๊ตเอาไว้ ไม่อย่างนั้นจะหายหมด หลวงพ่อท่านเตือนนักเตือนหนาว่า นักปฏิบัติที่ดี กระดาษกับปากกาต้องใกล้มือไว้เสมอ ถ้าทิ้งให้ผ่านระยะแป๊บเดียวเท่านั้นเองจะลืม
      ถาม :  กระดาษกับปากกาก็มี แต่ชะล่าใจ
      ตอบ :  ไอ้ชะล่าใจน่ะ อาตมาโดนมาแล้ว ไม่ต้องไปเสียเวลาทวนเลย จำอะไรได้ตรงไหนก็รีบโน๊ตไว้เลย แล้วถึงเวลามาค่อย ๆ ไล่แล้วจะคิดออก แต่ถ้าถึงเวลาไม่มีอะไรที่เป็นเค้าเลา ๆ ให้เราหน่อยนี่ มันหายหมดเลย
      ถาม :  มัวแต่นอนทบทวนไป ทบทวนมา หายไปเลย
      ตอบ :  ทิ้งระยะเวลาหน่อยเดียวไปเลย อันนี้เจอมาด้วยตนเอง ไอ้เราก็ว่าหลวงพ่อสั่งงานแค่สามข้อเรื่องเล็ก สามสิบข้อยังจำได้ใช่มั้ย ปรากฏว่าพอสว่างเท่านั้นแหละ หายเงียบไปเลย เหลืออยู่ข้อเดียว อีกสองข้อแคะยังไงก็แคะไม่ขึ้น หายไปเหมือนยังกับไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย
      ถาม :  ข้อที่ทำวัตรเช้า – ทำวัตรเย็น ใช่มั้ยครับ ?
      ตอบ :  ก็นั่นแหละ เหลือทำวัตรเช้า – ทำวัตรเย็น อยู่ข้อเดียวจริง ๆ ก็ข้อใจว่าทำวัตรเช้า – ทำวัตรเย็น ทำไมท่านเน้นท่านบอกว่าคนเราถ้านั่งอยู่หน้าพระ ปากมันก็สวดมนต์ด้วย ถึงมันจะคิดชั่วขนาดไหนมันก็ไปทำไม่ได้หรอก (หัวเราะ) อย่างน้อย ๆ ก็มีความดีอยู่
      ถาม :  .....................
      ตอบ :  มันถามหาของหนักเลยนี่หว่า จรณะ ๑๕ คือ ความประพฤติ ๑๕ อย่างด้วยกันนะ ประกอบไปด้วย
              อินทรีย์สังวร คือการสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
              โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักรับประทานอาหารแต่พอควร ยั้งปากเป็น
              ชาคริยานุโยค คือ ปฏิบัติธรรมของผู้ตื่นอยู่เสมอ ก็คือว่า สร้างสติให้สมบูรณ์อยู่เสมอนะ แล้วก็จะมี
              พาหุสัจจะ หรือพหูสูตร คือเป็นผู้ที่ได้ฟังมาก
              มีสติ
              มีปัญญา
              มีฌาน ๑ , ฌาน ๒ ,ฌาน ๓ ,ฌาน ๔

              นาน ๆ ถามทีชักจะหาไม่ค่อยเจอ มีหลายตัว ถ้าจะเอาจริง ๆ เดี๋ยวไปเปิดตำราให้ ๑๕ อย่าง ไล่ตัวแรกขึ้นมาก็จุกแล้ว อินทรีย์สังวร สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
      ถาม :  .........(ฟังไม่ชัด)..........แล้วต้องละนิวรณ์ ละอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล้วจะคุมอารมณ์ยังไงครับ ?
      ตอบ :  อิทธิบาท ๔ ห้ามละ อิทธิบาทจะเป็นตัวคุมทั้งหมด ถ้าอิทธิบาท ๔ ทรงตัว คือความพอใจที่จะทำมี ความเพียรที่จะทำมี จิตใจปักมั่นกับสิ่งที่เราทำ หมั่นทบทวนว่าเราทำไปถึงไหน สิ่งนั้นจะได้อยู่แล้ว คราวนี้ถ้าหากว่าเราเริ่มทรงฌานปุ๊บ นิวรณ์เข้าไม่ได้ มันก็เลยไม่ยาก พอทำอันหนึ่ง อันอื่นมันกลายเป็นง่ายหมด เพราะฉะนั้นให้ทำถึงเท่านั้นเอง
      ถาม :  แล้วเราจะเริ่มต้นยังไงครับ ?
      ตอบ :  เริ่มต้นยังไง จริง ๆ น่าจะเริ่มต้นตัวภาวนาเลยนะ ถ้าอยากทำก็ต้องทำ ในเมื่อต้องทำ ก็ต้องลงมือเลย เริ่มภาวนาพออารมณ์ใจมันเริ่มทรงตัวแล้ว อันอื่นก็ไม่ยากแล้ว
      ถาม :  ตัวมหาสติปัฏฐานนี่ครับ เวลาเราทำจริง ๆ จะเริ่มต้นตรงไหนครับ ?
      ตอบมหาสติปัฏฐานนี่ต้องเริ่มต้นตรงตัวอานาปานบรรพก่อนคือ ลมหายใจเข้าออกเป็นอันดับแรกเลย มันยากอยู่ตัวแรก ตัวอื่น ๆ นี่ส่วนใหญ่จะเป็นการพิจารณามากกว่า พอยิ่งไปถึงเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม อะไรพวกนี้ จะเป็นการที่เราใช้สติตามดูอยู่ตลอดนะ เพราะฉะนั้นจะลำบากอยู่อันแรก คือ ตัวอานาปานุสสติ
      ถาม :  คือเอาสติตามดูทั้งกายและใจ
      ตอบตามดู ให้มันรู้ว่ามันคือมัน เราคือเรา ไม่ได้เกี่ยวกันเลย ต่างคนต่างอยู่ จิตคือเรา เวทนาคือเรา อย่างนี้ มันจะต่างคนต่างอยู่กัน ตัวจิตในจิตก็คือว่า อาการที่มันเป็นไป เป็นยังไงขณะนี้จิตของเรามันตั้งมั่นหรือไม่ตั้งมั่น ขณะนี้จิตมันไม่ฟุ้งซ่านหรือฟุ้งซ่าน ตัวของธรรมในธรรมก็เหมือนกัน ก็ตามดูไปเรื่อยว่าเป็นยังไงดีมั้ย ไม่ดี สร้างมันขึ้นมาถ้าหากว่าสร้างมันขึ้นมาแล้ว ดีอยู่แล้ว ก็ทำให้มันยิ่ง ๆ ขึ้นไป มีสิ่งที่ไม่ดีมั้ย ถ้าหากมี ก็ไล่มันออกไป ระมัดระวังไว้ อย่าให้มันเข้ามา
      ถาม :  ต้องปฏิบัติรวม ๆ กัน
      ตอบ :  จริง ๆ แล้ว มันต้องรวมกันทั้งหมดนั่นแหละ แต่ว่าถ้าหากว่า ว่าตามขั้นตอนแล้ว อันดับแรกจะยากที่สดุเสร็จแล้วพอสรุปลงท้ายทุกบรรพ ท้ายทุกหมวด ทุกตอน ท่านจะลงท้ายว่า นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยติ คือ เธอจงอย่ายึดถืออะไร ๆ เลย แม้แต่น้อยหนึ่งในโลกนี้สักนิดเดียวก็ยึดไม่ได้ ที่สมเด็จพรพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิริทราวาส บอกว่า ให้ปล่อยข้างหน้า ให้ปล่อยข้างหลัง ให้ปล่อยตรงกลาง ข้างหน้าก็คืออนาคต ข้างหลังก็คืออดีต ตรงกลางก็คือปัจจุบัน ยึดไม่ได้ทั้งหมดเลย แรก ๆ ก็ตัดอดีต ตัดอนาคตให้เหลือแต่ปัจจุบันแล้วหลังจากนั้น ปัจจุบันก็ต้องปล่อย
      ถาม :  อย่างการฝึกมโน ..........(ไม่ชัด).........เหมือนการสร้างมโนภาพ
      ตอบ :  สร้างมโนมันยาก มันได้แต่ภาพ ไอ้สีกลิ่นรส มันไม่มี มันไม่สะใจ
      ถาม :  ผมเคยได้ยินว่า วัดแถวจังหวัดกาญจน์นะครับ ให้พิจารณาอสุภะให้สมไปเลยครับ แบบการแต่งตัว.............
      ตอบ :  ที่สำนักของ เกาะมหามงคลก็มี คือเขาบริจาคศพมาใส่โลงแก้ว ถึงเวลาก็ไปยืนดูกัน ของเราเองถ้ามันหาศพคนไม่ได้ หมู หมา กา ไก่ มันตาย ก็ลักษณะ้เดียวกันแหละ ถ้าเป็นวิฉิททกะอสุภ มันขาดเป็นท่อน ถ้าเป็นโลหิตตะกะอสุภ เลือดไหลโทรมเลย เป็นปุฬุุวกะอสุภะ มีแต่ซากหนอนเต็มไปหมดอย่างนี้ เป็นวินีละกะอสุภ ก็ขึ้นเขียวปี๋เลย
      ถาม :  เลือกกองใด กองหนึ่งก่อนใช่มั้ยครับ ?
      ตอบ :  ลักษณะว่าศพมันเป็นแบบไหน ก็คือกองนั้นน่ะ เราเลือกไม่ได้นี่ เจอศพแบบไหนก็พิจารณาแบบนั้นไป แต่ว่าสมัยนี้มันมีโครงกระดูกขายก็เล่นอัฏฐิกะอสุภไป แต่ว่าโครงกระดูกมันไม่ค่อยขายกัน ส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่นักศึกษาแพทย์ โอกาสครอบครองมันน้อย
      ถาม :  นักศึกษาก็มีโอกาสได้ปลงอสุภะได้มากที่สุด
      ตอบ :  พวกนั้นมันตายด้านกันหมด อยู่ซะจนชิน ถ้าหากว่าไม่มีปัญญาพิจารณามันก็จะตายด้าน ถ้ามีปัญญาพิจารณามันจะตายด้านลักษณะปล่อยวาง แต่ไอ้นั่นมันตายด้านเพราะชาชิน
      ถาม :  ต้องไปทำงานร่วมกตัญญู
      ตอบ :  คือจริง ๆ แล้ว ท่านทั้งหลายเหล่านั้นโอกาสมันมีเยอะ เพียงแต่ว่าของท่านเอง กำลังใจมันคิดทางด้านนี้หรือเปล่า ลองดูก็ได้ ร่วมกตัญญูก็ได้ โอกาสเจอเยอะ แน่นอนเลยวัน ๆ หนึ่ง ต้องได้เจอซักศพสองศพ
      ถาม :  แล้วที่ว่า คำภาวนาที่ อัฏฐิกัง ปฏิกุลัง เพื่อ.........
      ตอบ :  ตอนช่วงนั้นน่ะ เราใช้คำภาวนาพร้อมกับจำภาพ ต้องใช้คำว่า จำภาพ พอภาพมันทรงตัว แล้วคราวนี้ใช้คำภาวนาติดต่อกันไปเลย ปกติแล้วพอภาพติดตา คำภาวนาทรงตัวของเขาถือว่าสิ้นสุดแค่นั้น แล้วเกี่ยวกับอสุภกรรมฐาน แต่หลวงพ่อเราสอนให้ใช้วิปัสสนาญาณต่อไปเลย อย่างเช่น อัฏฐิกัง ปฏิกุลัง อย่างที่ว่านั้นใช่มั้ย ? สภาพของกระดูกมันเป็นอย่างไร สภาพที่แท้จริงของมัน จริง ๆ แล้วมันมีเลือด มีเนื้อ มีอะไรอยู่ กระดูกเป็นเพียงโครงหนึ่งเท่านั้น
              พอถึงเวลา ถ้าหากว่ามันยังใหม่ ยังสดอยู่ มันก็สกปรกไม่เห็นมีใครอยากได้ ตัวของคนอื่นก็เ็ป็นอย่างนี้ จะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย คนหรือสัตว์ ก็เหมือนกัน พิจารณาต่อไป เรื่อยจนใจมันยอมรับเพราะสภาพจริง ๆ แล้วตัวเรามันไม่ใช่ของเรา
      ถาม :  อย่างสมมุติว่าตัวอากาสนานัญจายตนะ ต้องใช้อารมณ์พิจารณาเข้าช่วยหรือเปล่า ?
      ตอบ :  ไม่ใช่แต่ตัวอากาสานัญจายตนะ ทั้งสี่ของอรูปฌานนั่นเกือบจะเป็นอารมณ์พิจารณาทั้งหมด คล้าย ๆ วิปัสสนาฌานเลย เพียงแต่เขาเริ่มต้นด้วยฌานสี่ตั้งรูปขึ้นมาก่อน เสร็จแล้วทิ้งรูป แล้วพิจารณาไปตามที่ตนเองต้องการว่าจะใช้ข้อไหน
              ถ้าเป็นอากิญจัญญายตนะนี่ มันวิปัสสนาญาณดี ๆ นี่เอง ต่อท้ายนิดเดียวก็ไปนิพพานได้ อากิญจัญญายตนะนี่ ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์ วัตถุธาตุ บ้านเรือน โรงอะไรในที่สุดก็เสื่อมสลาย ตายพังหมด ไม่มีอะไรเหลือสภาพจิตเดียวเท่านั้นเอง พอมันทรงอุเบกขาก็คือเต็มอารมณ์ของมัน พอเต็มอารมณ์ของมัน ตอนนั้นความรู้สึกของมัน มันเหลือแต่จิตดวงเดียว ตอนนั้นแม้แต่อะไรต่อมิอะไรก็ไม่เหลือ มันก็เป็นการพิจารณานั่นแหละ แต่เราใช้ฌานสี่เริ่มต้น
      ถาม :  แล้วเวลาเราเ้ข้า เราเข้าไปทีละอย่างใช่มั้ย ?
      ตอบ :  ทีละอย่าง
      ถาม :  แล้วก็มาอากิญ ฯ
      ตอบ :  แล้วแต่ พอคล่องแล้วก็สลับได้ แต่ถ้าหากว่าไม่คล่อง ว่าไปตามขั้นมันก่อน ตอนที่เล่นอยู่ก็แปลก ๆ ว่ามันเป็นตัววิปัสสนาญาณชัด ๆ เลย แต่เพียงแต่ว่าวิปัสสนาญาณส่วนใหญ่ของเรา นิยมตรงว่าถอยมาตรงอุปจารสมาธิ แล้วพิจารณาใ่ช่มั้ย ไอ้โน่นมันฟาดด้วยฌานสี่
      ถาม :  แล้วการเข้าฌานสลับฌานมันทำได้เหรอครับ ?
      ตอบ :  สลับได้ พอคล่องตัวแล้ว เราจะลดอารมณ์ของเราหรือเพิ่มอารมณ์ของเรา ให้ไปอยู่ตรงจุดไหน มันทำได้เดี๋ยวนั้นเลย
      ถาม :  คือจากสี่ไปสอง สองไปสาม ไปได้ ?
      ตอบ :  ได้สมัยที่ฝึกอยู่นี่ นั่ง ๆ นอน ๆ เป็นไอ้บ้าอยู่คนเดียว ถ้าลงก็ปึ๊บเต็มที่ พอขึ้นก็ปึ๊บ ๆ ทีละขั้นตรงนั้น สนุกอยู่คนเดียวแหละ ไม่อย่างนั้นแล้ว มันบังคับร่างกายไม่ได้นี่ ถ้าหากว่าปล่อยเต็มที่เลย ตัวมันเหมือนยังกับท่อนไม้ท่อนหนึ่งน่ะ ต้องหัดให้คล่องไว้ ถ้าไม่หัดให้คล่องนี่สู้กิเลสยาก พอกระทบปุ๊บนี่ต้องเกาะไว้ก่อนเลย บางคนเขาบอกว่าเป็นการติดฌาน ติดในอรูปฌาน ยังไม่ต้องไปฟัง ติดไว้ก่อน เกาะไว้ก่อนถ้าเราไม่เกาะนี่ มันปล่อยไม่ได้ พอเกาะเต็มที่แล้ว มันปล่อยของมันเอง
      ถาม :  แล้วเราต้องตั้งต้นด้วยกสิณก่อนมั้ย ?
      ตอบ :  เรื่องของรูปฌาน ไม่จำเป็นต้องเป็นกสิณ ใช้อานาปานุสสติก็ได้ แต่ว่าอรูปฌานนี่จำเป็นจะต้องใช้ภาพกสิณเข้ามาเป็นเครื่องช่วยเมื่อตั้งภาพขึ้นมาก็ลืมซะ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาพิจารณาไป
      ถาม :  จะปรึกษาเรื่องแต่งงาน ฤกษ์ไหนดี ?
      ตอบ :  ไปดูฤกษ์ในโน้น (ฤกษ์ที่หาไว้ให้แล้ว) หาวันดี ๆ ที่ไม่ตรงกับวันพฤหัส กับ เสาร์ มันจะมีฤกษ์อยู่ แปะอยู่ตรงนั้น เขาเรียกว่าฤกษ์พรหมประสิทธิ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะกับทำการมงคลต่าง ๆ แต่ว่าเรื่องแต่งงานนี่หลวงพ่อบอกว่าให้เว้น พฤหัส กับ เสาร์วันพฤหัสแต่งงานกันก็ไม่น่าจะเกินสามปี แต่ถ้าวันเสาร์แต่งงานกันนี่ ชีวิตจะมันมาก ทะเลาะกันประจำ ถ้าอยากได้คนใหม่เร็ว ๆ ก็แต่งวันพฤหัส ไปลอก ๆ เอาว่ามีวันไหนบ้าง
      ถาม :  ...........ทุกข์ สมุทัย ให้พิจารณายังไง ?
      ตอบ :  มันแล้วแต่ว่าเราจะถนัดตรงจุดไหน อย่างเช่น เรามองไปก็จะเห็นว่าทุกคนน่ะ เป็นทุกข์ ไอ้ตัวเล็กมันอยากจะเดิน มันอยากจะวิ่ง อยากจะพูด มันยังพูดไม่ได้อย่างใจ มันก็ทุกข์ ผู้ใหญ่นั่งอยู่ทุกข์ เพราะว่าเมื่อย อาตมานั่งอยู่ตรงนี้ก็ทุกข์ ตั้งแต่เช้ามาจนป่านนี้ กว่าจะได้ลุกไปห้องน้ำแต่ละที มันแสนยาก ให้เห็นว่าทุกคนมีแต่ทุกข์ เราเองก็ทุกข์อยู่เช่นเดียวกับเขา
      ถาม :  หลังจากนั้นก็ทรงอารมณ์ ?
      ตอบ :  จ้า รักษาอารมณ์อานาปาฯ ประคับประคองเอาไว้ ให้ความรู้สึกของเรา ขึ้นชื่อว่าโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์เช่นนี้ ไม่มีสำหรับเราอีกเราขอเกิดชาตินี้ชาติเดียวแล้วรักษาอารมณ์นั้นให้อยู่กับเราให้นานที่สุด