ถาม : หลวงพ่อครับ คาถาสหัสสเนตโต มีการใช้อย่างไรที่ได้ผลครับ?
ตอบ : ทำจริง ๆ ฟังง่ายไหม ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจะทำไม่จริง เรื่องของคาถานี้เป็นเรื่องของอภิญญา ขั้นแรก ๆ อภิญญานี่เราต้องเป็นคนจริงสม่ำเสมอ มีสัจจะ ทำอะไรก็ทำจริงไม่ท้อถอย ถ้าหากว่าเราทำจนสม่ำเสมอแล้วจะเกิดความเชื่อมั่นขึ้น ในเมื่อเกิดความเชื่อมั่นจิตใจของคุณนิ่งสงบ คาถาต่าง ๆ ก็จะบังเกิดผลตามนั้น ตัวคาถาสหัสเนตโตสำคัญที่สุดตรงที่ว่าเมื่อคุณเกิดความรู้สึกขึ้นมาต้องเชื่อ ค้านไม่ได้ถ้าคุณค้านเมื่อไรเจ๊งเลย
อาตมาเองก่อนบวชเคยเขียนหนังสือขาย เป็นนักแต่งหนังสือมาก่อน แรก ๆ ก็ได้หน้าละ ๕๐ บาท ไป ๆ มา ๆ ก็เพิ่มเป็น ๗๕ บาท ก็ขึ้นไปเรื่อย ๆ เราอยากได้เยอะก็เขียนให้มันมากเข้าไว้ ตานี้คนแต่งหนังสือขายมาก่อน สำนวนเขารู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี วันนั้นพอใช้คาถาปุ๊บ ความรู้สึกว่าอย่างนี้ ๆ ก็เขียนไปเรื่อย ๆ พอเรามาอ่านดูรู้สึกสำนวนมันพื้น ๆ แหม! มันต่อกันไม่ติดเหมือนกับโน้ตเพลงไปกันไม่ได้ ก็เลยต้องยอมกราบขอขมาพระ น้อมใจนึกถึงท่านใหม่ ขอท่านใหม่ ความรู้สึกมาก็เขียนไปเรื่อย ๆ ตานี้เขียนจนจบแล้วไม่อ่านต้น-กลาง-ปลาย มันสัมพันธ์กันอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียว กลมกลืนกันหมด อยู่ในลักษณะว่าเรามีความรู้แต่เราไม่อวดความรู้มันพอเหมาะพอดีไปทุกอย่างชนิดที่ประเภทคนอ่าน ๆ แล้วจะถูกใจเลย แต่ของเราน่ะมันเว่อร์ ก็เลยเข้าใจว่าความรู้สึกนั้นเราค้านไม่ได้เลย รู้สึกอย่างไรให้เขียนไปตามนั้น แต่ส่วนใหญ่ข้อสอบสมัยนี้เป็นช้อยส์ให้เลือกใช่ไหม? ถ้าหากว่ายิ่งเขียนยิ่งสบายเลย อาตมาเขียนมาแล้ว ลองถามคุณมอยเขาดู ของเขาโน่นถึงเวลาเขาก็ให้อธิบายความแก้กระทู้ธรรมที่ตั้งขึ้นในเบื้องต้น ยกกระทู้มารับไม่ต่ำกว่า ๓ หัวข้อ ซ้ำนิกายได้ แต่ห้ามซ้ำหัวข้อ จงเขียนมาอย่างต่ำ ๗ หน้ากระดาษอย่างนี้ไหวไหม ก็นี่แหละที่เขียนมาก็เขียนมาอย่างนี้แหละ
ถาม : แต่หมายความว่าเราต้องอ่านด้วยใช่ไหมครับ?
ตอบ : ถ้าเราอ่านเราจะนึกได้มากกว่า ถ้าเราไม่อ่านเลยนี่เราต้องมั่นใจตัวเองจริง ๆ อาตมาเองก็ไม่ได้คิดจะใช้หรอกเพราะว่าเป็นคนเรียนเก่งมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่ตอนที่เรียนนักธรรมเอกนั้นป่วยเป็นไวรัสลงตับ ไม่มีเรี่ยวไม่มีแรง หายใจยังเหนื่อย หมอเขาแนะนำให้กินแต่น้ำหวาน ขวดเฮลบลูบอยอยู่ใต้ถุนกุฏิเป็นกอง พอถึงเวลาไม่ได้เรียน แต่ตอนสอบเราไปสอบ ก็มีวิธีเดียวเท่านั้นหมดท่าแล้ว ปู่จ๋าช่วยผมด้วย
ถาม : ต้องท่องตั้งแต่ตอนอ่านหนังสือ แล้วก็อะไรครับ ?
ตอบ : อ่านหนังสือ ท่อง อ่านจบ ท่อง ประเภทท่องเช้าท่องเย็นไปเลย ของอย่างนี้ต้องซ้อมไปบ่อย ๆ ทำสม่ำเสมอ ไม่ใช่รอให้ถึงเวลาจะสอบแล้วค่อยไปท่อง อันนั้นมันไม่ทันกิน แต่ตาอ้วนเขาสอบได้ เขามั่นใจลักษณะนั้นเท่ากับไม่ได้อ่าน ในเมื่อไม่ได้อ่านต้องมั่นใจ ถ้าไม่มั่นใจเจ๊งเลย ตอนที่สอบเขาจะมีบาลีขึ้นมาบทหนึ่งว่า น หิ รุณฺเณน โสเกน สนฺตึ ปปฺโปติ เจตโส ตอนก่อนจะเข้าห้องสอบ เดินไปห้องน้ำเราก็ว่าคาถาไปเรื่อย ๆ บาลีประโยคนี้มันเมาในหูเลย แต่เราไม่เชื่อ ในเมื่อเราไม่เชื่อเราก็เลยไม่ไปเปิดทวนดู เขียนคำสุดท้ายผิดไป โดนตัดคะแนนไป เขียนผิดคำเดียว ถ้าเชื่อแต่แรกไปเปิดทวนก็สบายเลย ถ้าความรู้สึกดี ๆ มันจะมาชัดขนาดนั้น
ถาม : กระทู้ที่เราเขียนเราก็ต้องเลือกตัวตั้งที่เรามั่นใจ ?
ตอบ : ตัวที่เรามั่นใจคือ ให้มันสามารถกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ แต่จริง ๆ ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะกระจายมันได้รวมมันได้มันมันไม่ยากเลย ผ่านโทแล้วเอกก็เหมือนกัน เพียงแต่เพิ่มรายระยะขึ้นหน่อยเดียวเท่านั้นเอง น หิ รุณฺเณน โสเกน สนฺตึ ปปฺโปติ เจตโส อยู่ในสันติที่เขาบอก บุคคลที่เขาถึงสันติแล้วย่อมไม่ทุกข์โศกร่ำไร ไม่ต้องเสียเวลาไปเศร้าโศกร่ำไรอีกแล้ว สันติอันนี้คือความสงบที่แท้จริง เขาหมายถึงเข้าถึงนิพพาน จะมีวิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน สันติไม่กี่วันก็อ่าน ถึงเรียนมา ๑๐ กว่าปี ยังจำได้หมด บางทีนั่งท่องตำราตั้งแต่ ป.๑ ขึ้นมาให้เขาฟัง เขายังงง ๆ ว่าจำได้หรือ อะไรที่เรียนมาจะจำได้
ระยะนี้มีผู้หวังดีและประสงค์ดี เขาไปลงอินเตอร์เน็ตบรรยายสรรพคุณอาตมาเสียจนเลิศเลอเกินความเป็นจริง ก็เลยทำให้คนบางรายเขาเกิดอยากจะลองขึ้นมาว่า มันแน่จริงหรือเปล่า คราวนี้ในเมื่อเขาอยากจะลองมันแน่จริงหรือเปล่า ก็น่ากลัวเหมือนกัน เพราะพลาดก็ตาย คราวนี้เมื่อรู้ถามตัวเองว่ากังวลกับเรื่องนี้ไหม มันเฉย ๆ ของเราอยู่ก็ได้ ตายก็ดีใช่ไหม แต่รู้สึกว่าสงสารเขาคือ เขาทำเขาไม่ได้อะไรเลย ถ้าหากว่าเขาทำแล้วเราไม่เป็นอะไรเขาก็ได้แค่เสมอตัว คือว่าคำโฆษณามันก็เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าเขาทำแล้วพระตายแหง๋ไปก็ขาดทุนยับเยินล่ะสิ เรียบร้อยใช่ไหม แต่อย่างว่าแหละคนเราถ้าขาดสติก็ทำอะไรบวม ๆ ได้เหมือนกัน
ขนาดหลวงตามหาบัวเขายังวางยาพิษไปแล้ว เมื่อกลางวันก็ยังบอกกับท่านกอล์ฟ บอกว่าคุณฉันข้าวกับผมระวังไว้บ้างนะ ไม่ใช่ฉัน ๆ อยู่ตกเก้าอี้ไปเฉย ๆ เมื่อคืนใกล้จะเลิกราว ๆ สัก ๓ ทุ่ม นั่งคุยกับโยมแล้วเงียบไปเฉย ๆ เดี๋ยวโยมเขาสงสัยว่าทำไม ? หัวใจมันเต้นผิดปกติแบบจะช๊อค ก็เลยต้องเงียบก่อน นึกเสียว่าสภาพร่างกายเรามันไม่ดีก็แล้วกันไม่ต้องคิดมาก จริง ๆ แล้วความตายอยู่กับเราทุกลมหายใจเข้า-ออก หายใจเข้าไม่หายใจออกมันก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าไปมันก็ตายแล้ว ไม่ใช่ของห่างไกลอะไร อยู่กับเราตลอดเวลา เพียงแต่ว่าเวลาที่เราเผชิญหน้ากับความตายได้ หรือทราบแน่ว่าตัวเองจะต้องตายหรือมีอันตรายถึงตาย กำลังใจของเราเป็นอย่างไร ตรงจุดนี้แหละที่เราจะวัดกำลังการปฏิบัติของเราได้ ลองถามตัวเองสิคนที่รักมีไหม ? ของที่รักมีไหม ? ทรัพย์สมบัติมีไหม ? มันห่วงไหม ? ตัวนี้แหละสำคัญที่สุด ถ้าสามารถตอบได้ว่า ไม่ห่วงอะไรเลย ปล่อยวางทุกอย่าง ๆ จริงใจ คุณเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าหากตอบว่าไม่ห่วงเพราะรู้ว่าตอบแบบนี้แล้วถูก ไม่รอดหรอก หรือไม่ก็รู้สึกว่าห่วงยังไม่อยากตาย อะไรอย่างนี้ก็เสร็จอีกเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นกำลังใจให้วางในจุดที่อยู่ก็ได้ตายก็ดี อยู่เราก็สร้างบุญสร้างบารมีต่อไป ถ้าตายก็ไปนิพพานของเรา ใครเขาอยากลองของอีท่าไหนเชิญ เขาอยากจะฆ่าเขาอยากจะแกงตามสบายของเขา เขาทำจริง ๆ นะ เพียงแต่ว่าสงสารเขา
มีอยู่สมัยหนึ่งมีคนปองร้ายหลวงพ่อ แล้วพระท่านบอก หลวงพ่อท่านบอก เขาเพิ่งทำหรือครับ พระท่านตรัสว่าเขาทำมานานแล้วแต่แกไม่รู้เอง เคยบ้างไหมบางทีแกกินอาหารลงไปแล้ว มันจะปวดท้องผิดปกติ หลวงพ่อบอก เคยครับ ท่านบอกนั่นแหละแกโดนวางยาไปหลายหนแล้วแต่แกไม่รู้ตัวเอง หลวงพ่อท่านก็คิดว่าท่านเป็นโรคกระเพาะประจำอยู่แล้ว มันก็เป็นอาการปกติ แต่ความจริงมันไม่ใช่ แล้วหลวงพ่อท่านก็ถามพระว่า เขาทำอย่างนั้นเพราะอะไร มันมีอยู่ ๒ พวก พวกหนึ่งความดังของหลวงพ่อไปกลบเขาเอาไว้ ถ้าเขาสามารถหักหลวงพ่อลงไปได้เขาจะเด่นขึ้นมาแทน เขากะว่าได้คนที่ไปหาหลวงพ่อเป็นแสน ๆ จะได้ไหลไปทางเขา
ส่วนอีกพวกหนึ่งอาชีพของเขาก็คือการทำไสยศาสตร์ ถ้าเขาสามารถล้มหลวงพ่อลงไปได้นี่ ไม่ต้องเสียเวลาโฆษณาเลย คนไหลไปเทไปแน่นอน ก็เลยกลายเป็นว่าจริง ๆ แล้วก็แค่พวกลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เท่านั้นเอง โลกธรรมธรรมดาทำให้เขาเห็นผิดเป็นชอบ เขาทำได้ขนาดนั้น พวกนี้ที่บอกว่าสงสารเขาก็เพราะว่าโอกาสเสมอตัวมันยังยากมีแต่ขาดทุน แทนที่เราจะเป็นห่วงตัวเองกลับไปห่วงเขาแทน
เมื่อคืนนั่งดูใจตัวเอง เออ! พอรู้เรื่องอย่างนี้ขึ้นมาแล้วมันมีความรู้สึกอย่างไร มันเฉย ๆ ยิ่งกว่านี้มันก็เจอมาแล้ว ทุกวันนี้บางทีทำอะไรเสี่ยงจนคนอื่นเขาไม่กล้าทำ เขาถามว่าไม่กลัวตายหรือ บอกเขาว่าชีวิตอยู่มาจนป่านนี้ก็คุ้มเหลือจะคุ้มอีก หลังอายุ ๒๗ ปีมาถือว่ากำไรล้วน ๆ แล้ว อยู่มาจนป่านนี้กำไรจนจะเท่าตัวอยู่แล้วคุ้มแล้วคุ้ม ในเมื่อคุ้มขนาดนี้แล้วก็ไม่มีอะไรต้องไปห่วงไปใยอะไรกับมันอีก ถ้าอยู่ได้ก็ให้อยู่ต่อไปถือว่ากรรมยังไม่สิ้นทนทุกข์ทรมานต่อไป ถ้าอยู่ไม่ได้ เออ! ดี สบาย หมดเรื่องกัน
เพราะฉะนั้นบางทีเราเห็นคนเข้าวัดเข้าวามาในลักษณะของผู้แสวงบุญ มาในลักษณะผู้ตั้งใจละกิเลส แต่ว่าสภาพจิตใจจริง ๆ เขาเป็นอย่างไรนี่เราไม่รู้ เพราะฉะนั้นวิชาการของหลวงพ่อ พวกเจโตปริยญาณ ทิพยจักษุญาณ ต้องซ้อมให้คล่องตัวไว้ แต่มีข้อแม้ว่ารู้แล้วห้ามเชื่อ พวกเชื่อง่ายโดนหลอกอีกชั้นหนึ่ง โอ้โห! มันวางหมากหลายชั้นเหลือเกิน ยอมแพ้มัน เชื่อก็เจ๊ง ไม่เชื่อก็เจ๊ง ยอมรับมัน ถ้าเชื่อเขาจะหลอกเราง่าย ถ้าไม่เชื่อเห็นไหมเกิดขึ้นจริง ๆ เราก็เสร็จ
ฉะนั้นสรุปได้ว่าอะไรจะเกิดขั้นก็ตาม ช่างมัน ถ้าสมควรจะอยู่มันก็ได้อยู่ต่อไป ถ้าไม่สมควรจะอยู่มันก็ตายเอง
หากไม่ถึงคราวตายวายชีวาตม์ ใครพิฆาตเข่นฆ่าไม่อาสัญ
หากจะถึงคราวตายวายชีวัน ใครไม่ทันทำร้ายก็ตายเอง
ใครไม่รู้ไปแปลงใหม่ว่า
หากจะถึงคราวตายวายชีวัน ไม้จิ้มฟันทิ่มเหงือกก็เสือกตาย
บาดทะยักกิน...!
ถาม : เวลาเราทำความดีมากเท่าไร จะชื่นชมกับความดีบ้างไม่ได้หรือครับ ?
ตอบ : ไม่ได้เลย ไม่ว่าจะดีจะชั่วก็ตามถ้าใจไปฟูไปฟุบกับมันนี่ไม่ได้ทั้งนั้น ใจจะต้องปล่อยวางเฉย ๆ ปล่อยวางเป็นกลางกับมัน ไม่ยินดีกับมันแล้วก็ไม่ยินร้ายกับมัน ยินดีกับมันก็เจ๊งยินร้ายกับมันก็เจ๊ง มันกินเราทั้งบนทั้งล่างเลย
อาตมาสมัยก่อนเป็นทหารอยู่ เห็นพวกเล่นไฮโลก็รำคาญก็ไปแกล้งเขา เต็งสูง ๑๐ บาท เต็งต่ำ ๑๐ บาท ออกอะไรเราก็ได้คืนอยู่แล้ว เพราะถ้าออกเราก็ได้ ๒๐ บาทใช่ไหม ก็เท่ากับเราลงไป ๒๐ บาท เอาคืนมา ๒๐ บาท ไม่ได้ไม่เสียใช่ไหม พอเราเต็งสูง ๑๐ บาท เต็งต่ำ ๑๐ มัน มันเสือกออก ๑๑ ไฮโลพอดี กินเราเข็ดเลย คือดวงมันจะซวยจริง ๆ มันกินเราทั้งบนทั้งล่าง ไม่แน่เหมือนกันเราหลบไปตรงกลางมันอาจจะกินเราอีก
ถาม : ................พอเริ่มชินครับ
ตอบ : คือพอทำไปถึงระดับหนึ่งจะเป็นสีลานุสสติ จริง ๆ แล้วตัวสีลานุสสตินี่พอเราขยับตัว มันจะมีสติรู้อยู่ว่าศีลจะขาดหรือเปล่า ถึงเวลานั้นเราก็เลือกทำส่วนที่ทำให้ศีลไม่บกพร่อง มันเหมือนกับเราระวังแต่ไม่ได้ระวังอะไร สภาพจิตมันจะอัตโนมัติของมันเอง ขยับก็รู้แล้วว่าศีลจะขาดหรือเปล่า
ถาม : ถ้าไม่ค่อยใส่ใจล่ะครับ แต่ว่าเราไม่ได้ล่วง ?
ตอบ : ถ้าไม่ค่อยใส่ใจ แต่ว่าไม่ได้ล่วง บางทีสติมันขาด สติขาดมันยังไม่ได้ทำผิด ระวังไว้นิดหนี่ง
ถาม : ทำไมบางคนฝึกมโนมยิทธิได้เร็ว แต่พอมาจับกสิณ จับไม่ได้ ?
ตอบ : จริง ๆ แล้ว มโนมยิทธิเป็นการใช้ผลของกสิณ เหมือนกับคนมีเงินอยู่แล้ว ให้ไปทำงานหาเงินมันขี้เกียจ ในเมื่อมีกำลังของกสิณอยู่แล้ว ฝึกมโนมยิทธิจะได้เร็วมาก แต่ถ้าให้ไปจับกสิณใหม่ เหมือนกับให้ย้อนกลับไป ก.ไก่ ข.ไข่ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองจบปริญญาแล้ว ใครจะมีอารมณ์ไปทำ กลายเป็นว่ากสิณเป็นของยากสำหรับเขา จริง ๆ แล้วไม่ยากหรอก แต่ได้แล้วไม่รู้จะทำไปอีกทำไม ?
ถาม : หมายถึงว่า ชาติก่อนเราเคยปฏิบัติมาแล้ว ?
ตอบ : ถ้าหากว่าคุณไม่เคยมีพื้นฐานเก่ามาก่อน ฝึกมโนมยิทธิไม่ได้ มโนมยิทธิเป็นพื้นฐานของทิพจักขุญาณ ทิพจักขุญาณจะเกิดจากกสิณ ๓ กอง คือ เตโชกสิณ กำหนดไฟ อาโลกกสิณ กำหนดแสงสว่าง โอทาตกสิณ กำหนดสีขาว ถ้าไม่มีพื้นฐานกสิณพวกนี้ จะเป็นทิพจักขุญาณไม่ได้ อดีตเคยทำได้ ปัจจุบันก็แค่มาฟื้นความรู้หน่อย สตางค์อยู่ในกระเป๋าแล้ว แค่บอกวิธีล้วงไปใช้เท่านั้นเอง ฉะนั้น...บางคนล้วงได้เร็วมาก แต่บอกให้ไปหาสตางค์ใหม่ ไม่เอาหรอก กูมีแล้ว (หัวเราะ)
ถาม : จะรู้ได้อย่างไรคะ ว่าเราเคยฝึกอะไรมา ?
ตอบ : หาวิสุทธิมรรค หรือไม่ก็หนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานของหลวงพ่อ ตั้งใจจุดธูปบูชาหน้าหิ้งพระ อธิษฐานว่า กรรมฐานกองใดที่เราเคยทำได้แล้ว อ่านแล้วขอให้ชอบ คราวนี้ถ้าชอบเยอะ ให้อธิษฐานใหม่ กองใดที่เราทำแล้วได้ผลเร็วที่สุด ให้ชอบกองนั้นมากที่สุด
ถาม : เคยภาวนา พุทโธ (ไม่ชัด)
ตอบ : เหมือนกินอาหาร เราชอบอย่างไหน ? ไปเจอของที่เราไม่ชอบ ไม่ถูกปาก ก็ไม่มีอารมณ์จะกินเหมือนกัน กรรมฐานพระพุทธเจ้าที่ท่านต้องสอนไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพื่อให้เหมาะกับจริตของคนทุกประเภท จะต้องมีหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่เหมาะกับเรา
ถาม : ภาวนา ยุบหนอ-พองหนอ แล้วเรามาฝึกมโนมยิทธิ ไม่ถูกกันใช่ไหมคะ ?
ตอบ : ได้ทั้งนั้นแหละจ้ะ เพียงแต่เราเปลี่ยนจาก ยุบหนอ-พองหนอ มาเป็น นะมะพะธะ แค่นั้นเอง จับอาการเหมือนเดิม
ถาม : การใช้ นะมะพะธะ มีความจำเป็นหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : ถ้าคุณจะฝึกมโนมยิทธิ จำเป็น...! นะมะพะธะ เหมือนกับรหัสบอกฝ่าย รู้จักคำว่ารหัสบอกฝ่ายไหม ? รหัสบอกฝ่ายนี่ พวกทหารหรือหน่วยรบเขาใช้กัน เพื่อให้รู้ว่าเป็นพวกเดียวกันหรือเปล่า ? เรื่องของมโนมยิทธิ ถ้าอาศัยเฉพาะกำลังของพวกเรา ความชัดเจนจะน้อยมาก ทิพจักขุญาณของพระพุทธเจ้าชัดเจนแจ่มใสที่สุด ในวิสุทธิมรรคท่านเปรียบว่า เหมือนพระอาทิตย์ยามเที่ยง ไม่มีสิ่งใดหลุดรอดออกไปได้ ทิพจักขุญาณของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ท่านเปรียบว่า "เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ ถึงจะ
สว่างรุ่งเรืองขนาดไหน ก็ยังสว่างน้อยกว่าพระอาทิตย์อยู่ดี" ทิพจักขุ
ญาณของพระอัครสาวก "เหมือนกับคบไฟดวงใหญ่" ทิพจักขุญาณของ
พระปกติสาวก "เหมือนกับเทียนดวงน้อย" ส่วนทิพจักขุญาณของปุถุชน
โลกียอย่างพวกเรา ท่านบอกว่า "เหมือนเวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำ มองอะไรไม่
ถนัด" คราวนี้พระท่านให้พรเอาไว้ว่า ถ้าฝึกมโนมยิทธิโดยใช้คำว่า
"นะมะพะธะ" ตัวนี้ นะมะ คือ "นโม" นมัสการ พะธะ คือ "พุทโธ"
พระพุทธเจ้า แปลว่า "เรานอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า" ไม่ใช่ นะมะพะทะ ของธาตุสี่ ถ้าเราใช้คำว่า นะมะพะธะ
พระองค์ท่านจะส่งกำลังมาช่วย เพื่อความแจ่มใสในทิพจักขุญาณของเรา
ดังนั้น...ถ้าเราใช้คำว่า "นะมะพะธะ" เท่ากับเราใช้รหัสบอกฝ่ายว่าเป็น
พวกเดียวกัน กำลังต้องการความช่วยเหลือแล้ว ท่านจะได้สงเคราะห์
ช่วยให้ ถ้าถามว่าการฝึกมโนมยิทธิจำเป็นต้องใช้คำว่า "นะมะพะธะ"
ไหม? จำเป็นไหม? ต้องบอกว่าจำเป็น..!
ถาม : เราจะไปทำบุญทอดกฐิน ผ้าป่า เพื่อนนัดแล้วว่าจะไป แต่ยังไม่ไป
เราก็นอนหลับ แล้วฝันเห็นเป็นภาพศาลา มีชื่อคนเขียนนามสกุล ก็ไม่ได้
คิดอะไร นึกว่าฝันธรรมดา พอไปที่โน่น ซึ่งวัดนี้ก็ไม่เคยไปเลยในชาตินี้
แต่พอไปแล้วนั่งมองแล้วตรงกับในฝัน คืออะไรคะ?
ตอบ : อันนี้เขาเรียกว่า "นิมิต" นิมิต มีกรรมนิมิต ความดีความชั่วที่เรา
ทำบอกเหตุ โบราณเรียกว่า "ลางสังหรณ์" เป็นทิพจักขุญาณอย่างอ่อน
ประเภทหนึ่ง แต่ว่าส่วนใหญ่จะไม่มีหัวไม่มีท้าย อยู่ ๆ ก็มา อยู่ ๆ ก็ไป
จะไม่ขึ้นต้นลงท้ายให้จบเรื่อง พอถึงเวลาถึงวาระ พอเกิดขึ้นแล้ว เราจะ
ร้องอ๋อ..! ที่แท้เรารู้มาก่อน จะเป็นอย่างนี้ตลอด เขาเรียกว่า "นิมิต" จ้ะ
ถาม : ..........................
ตอบ : ลักษณะนั้นเรียกว่า "กรรมนิมิต" ก็ได้จ้ะ แต่บางทีจะไม่ชัดเจน
บางทีเราจะมาตีความเอาเอง อาจจะเป็นเหตุบังเอิญก็ได้
ถาม : ก่อนหน้านั้นจะแป๊บ ๆ หลอดไฟก็ไม่ได้เป็นอะไรนะคะ เป็นหลอด
ไฟใหม่
ตอบ : อันนี้ถือว่าไม่ชัดเจนจ้ะ เพราะฉะนั้น...ถ้าหากว่าไม่ชัดเจนเราจะ
ไปถือเป็นจริงเป็นจังมากไม่ได้ อาจจะบังเอิญก็ได้ พระพุทธเจ้าท่านบอก
แล้วว่า "อย่าเพิ่งเชื่อ" เพราะฉะนั้น...ให้ถือว่าเป็นเรื่องบังเอิญไว้ก่อน
ถาม : ฟังเทปหลวงพ่อบอกว่า "นิพพิทาญาณ" จะทำให้ (ไม่ชัด) อยาก
ฆ่าตัวตาย
ตอบ : ไม่ถึงขนาดนั้นก็ได้ ยกเว้นว่าบางคนเกิดขึ้นมาอย่างรุนแรง แล้วก็
ขาดปัญญา จะรู้สึกอยากจะฆ่าตัวตาย นิพพิทาญาณเวลาเกิดจะเบื่อ
บางคนเบื่อชนิดที่เรียกว่า "ไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร? ก็เลยฆ่าตัวตาย
ไป" แต่จริง ๆ ถ้าหากว่าพอเบื่อแล้วเราพิจารณาดูว่า เนื่องจากว่าเรายัง
ไม่ถึงอายุขัย จำเป็นจะต้องอยู่ต่อไป การจะอยู่ต่อไปอย่างไร? ก็ไม่ถึง
๑๐๐ ปีอยู่แล้ว ต่อให้อยู่ได้ถึง ๑๐๐ ปี ถ้าหากว่าเราตายแล้วไปนิพพานได้
เปรียบกับการที่ต้องเวียนตายเวียนเกิดนับกัปไม่ถ้วน ก็เป็นเวลาแค่พริบ
ตาเดียวเท่านั้นเอง ทำไมเราจะอยู่กับมันไม่ได้ ถ้าหากปัญญาคิดมาถึง
ตรงจุดนี้ ก็จะเกิดความรู้สึกว่า เออ..! ธรรมดาของมันอยู่ก็ได้ ตายก็ดี
ถ้าอย่างนั้นมันจะเปลี่ยนจากตัว "นิพพิทาญาณ" ไปเป็น "สังขารุเปก
ขาญาณ" แทน ถ้าถึงสังขารุเปกขาญาณแทน จะเห็นทุกอย่างเป็น
ธรรมดา ธรรมดาเกิดมาก็ต้องน่าเบื่ออย่างนี้ ธรรมดาเกิดมาก็ต้องทุกข์
อย่างนี้ เขาก็ปล่อยได้ วางได้ ก็ไม่ไปทุกข์ไปกลุ้มอีก
ถาม : ความรู้สึกกับคำว่า "อยู่ก็ได้ ตายก็ได้" (ไม่ชัด)
ตอบ : ถ้าหากว่าอยากตายนะ ปฏิบัติไปถึงระดับว่าอยากตาย นั่น
อารมณ์เฮงซวยเลย อย่าคิดว่าได้อะไรเยอะนะ ตัวนั้นจิตจะเศร้าหมอง
ถ้าใช้อารมณ์จริง ๆ จะเป็นอารมณ์ปล่อยวางอยู่ก็ได้ ตายก็ดี อยู่เราก็ได้
สร้างบุญสร้างบารมี ตายเราก็ไปนิพพาน ไม่ได้อยากตาย แต่พร้อม
เสมอที่จะตาย รู้ตัวอยู่เสมอว่าจะต้องตาย
ถาม : แม้ว่าตอนนั้นยังไม่เข้าถึงอารมณ์นั้น?
ตอบ : จะเป็นอย่างไร ? ช่างหัวมัน..! ทำให้ได้ถึงตรงนี้ก็พอ เสียเวลาไป
เรียกมัน หามันให้เจอ ทำมันให้ได้ก็ใช้ได้แล้ว จะเรียกว่าอะไร ? ก็สมมุติ
ทั้งนั้นแหละ
หลวงปู่ครูบาไชยวงศ์ท่านเคยสอนให้อธิษฐานเผื่อพวกสรงน้ำ
ท่านมีคาถาเหมือนกัน ท่านว่า "อุปาสะกะ อุปาสิกา นิพพานะ สัมปฏิ
สุขัง" ถึงเวลาก็รับไปเรื่อย อุปาสะกะ คืออุบาสก ผู้ชาย อุปาสิกา
คืออุบาสิกา ผู้หญิง
ถาม : ตอนที่ท่านถาม จังหวะไหนภาพมีมา ก็ลองตอบ ๆ อีกส่วนหนึ่ง
ก็เหมือนไม่แน่ใจ เพราะไม่ชัดเลย แต่ก็มีผ่านมาแวบ ๆ อันไหนพอตอบ
ได้ก็จะตอบ พอเริ่มฝึก ๆ ไป ผมก็กังวลกลัวว่า ที่ตอบ ๆ ไป บางทีเราอาจ
คิดไปเอง ?
ตอบ : ตอบถูกได้กำไร ตอบผิดได้บทเรียน ไม่มีอะไรเสียเลย จริง ๆ เอา
ความรู้สึกก็พอ ไม่ต้องเห็นภาพก็ได้ รู้สึกอย่างไร ? ให้ตอบอย่างนั้น
ถาม : ภาพที่ได้เห็น มีความรู้สึก ?
ตอบ : จริง ๆ ไม่ต้องไปสนใจเรื่องภาพหรอก รู้สึกอย่างไรตอบอย่างนั้น
ไปเลย ถ้าหากว่าเราเอ๊ะเมื่อไหร่ ? หรือคิดว่า เอ๊ะ..! ไม่ใช่มั้ง เราคิดเองมั้ง
จะเริ่มผิด
งานสงกรานต์เขานับวันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔
เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวัน (ไม่ชัด) คำว่า "สังขาร" จริง ๆ เป็นคำว่า
"สงกรานต์" นั่นแหละ แต่เป็นคำว่าสงกรานต์ของภาษาลาว เพราะ
ฉะนั้น...ถ้าคุณไปประเทศลาวจะไม่มีนางสงกรานต์ มีแต่นางสังขาร นาง
สงกรานต์จริง ๆ เขาว่า "เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม พอท่านแพ้พนัน
ธรรมบาลกุมาร ก็ต้องตัดเศียรของท่านเองเพื่อบูชาธรรม" ท่านบอกว่า
"ถ้าหากว่าเศียรของท่านตกลงบนโลกมนุษย์ จะเกิดไฟบรรลัยกัลป์ล้าง
โลก ถ้าหากว่าโยนขึ้นไปบนฟ้า ก็จะฝนแล้งไป ๗ ปี" เขาเลยต้องจัดให้
บรรดาลูกสาวทั้ง ๗ ของท่านสลับกันออกมา เอาพานรับศีรษะเอาไว้ แล้ว
แห่รอบเขาไกรลาศทุกปี
ถาม : แล้วปีนี้ลูกสาวลำดับที่เท่าไหร่คะ ?
ตอบ : ลำดับที่เท่าไหร่ ? เขาดูว่าวันสงกรานต์ตรงกับวันอะไร แต่ละวัน
เขาจะกำหนดเลยว่า วันอาทิตย์ชื่ออะไร ? วันจันทร์ชื่ออะไร ? วันอังคาร
ชื่ออะไร ? เพราะฉะนั้น...ถ้าหากว่าวันสงกรานต์เกิดซ้ำวันก็ซวยหน่อย
(หัวเราะ)
ถาม : แล้วตัวจริง ๆ ท่านมีหรือเปล่าคะ ?
ตอบ : ตัวจริง ๆ บรรดาตำนานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเทวดานี่ ถ้าหากว่าคนให้
ความเคารพนับถือ พระอินทร์ หรือท่านท้าวจตุโลกบาลท่านจำเป็นต้อง
กำหนดตัวเทวดาให้มารับหน้าที่นั้น เพราะการที่เขาเคารพนับถือ ถือว่า
เป็นเทวตานุสติอย่างหนึ่ง เลยกลายเป็นคนตั้งเทวดาได้ เก่งเป็นบ้าเลย
อย่างเช่นเขาบอกว่า "พระพิฆเนศมีความสามารถอย่างนี้ ท่านก็หา
เทวดาที่มีบารมี มีความสามารถใกล้เคียงกับที่เขาว่ามารับตำแหน่ง
อย่างพระนารายณ์มีความสามารถแบบนี้ ก็ต้องหาเทวดาที่มีความ
สามารถใกล้เคียงมารับไป" อย่างนั้นจริง ๆ แล้ว พวกฮินดูเก่ง สร้างเทวดา
ได้เยอะแยะ แต่เทวดาของฮินดูนี่ เฮงซวยไปหน่อย ความประพฤติ
แย่กว่ามนุษย์อีก อย่างเช่น พระอินทร์ไปเป็นชู้กับเมียฤๅษีโคดม มันว่า
ของมันไปเรื่อย
|