ถาม:  จำเป็นไหมคะ เวลาปฏิบัติไปเยอะ ๆ แล้วต้องเรียนอภิธรรมด้วย
      ตอบ:   ไม่จำเป็นจ้ะ เรื่องของอภิธรรมเป็นธรรมะที่ยากมาก พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เทศน์อภิธรรมให้คนฟัง ท่านเทศน์ให้พรหมให้เทวดาฟัง จะมีธรรมะอยู่ ๒ หมวดที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเฉพาะคนทั่วไปคือ หมวดอภิธรรม อภิธรรม ๗ บท ท่านสอนพรหม สอนเทวดา และมหาสติปัฏฐานสูตร สอนเฉพาะชาวแคว้นกุรุ ชาวแคว้นกุรุเขาเป็นมนุษย์ต่างดาว ปัญญาเขาสูงมาก อุตรกุรุทวีปนี่ดาวพลูโตนะ
              เพียงแต่ว่าสมัยหนึ่งที่โลกมีพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อปราบไปถึงอุตรกุรุทวีป ท่านก็จะกวาดต้อนประชาชนของเขามาไว้ที่ชมพูทวีปนี้ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงพระราชอำนาจ ถึงเขาจะมาอยู่ร่วมกับเราก็ดี แต่เผ่าพันธุ์ของเขา นั่นพูดง่า ยๆ ก็คือต้องมีความแตกต่างกัน ในเมื่อความแตกต่างของเขามีอยู่ ปัญญาและสมองของเขาจะเหนือกว่าของเรามหาศาล ถ้าเราไปจัดมหาสติปัฏฐานสูตร ถ้าพ้นบรรพแรกไปแล้วจะรู้เลยว่าละเอียดขึ้น ๆ จนเราเกาะไม่ติด ถ้าไม่ใช่ตั้งใจทำจริง ๆ เกาะไม่ติด เพราะว่าท่านเอาไว้สอนผู้ที่มีปัญญาขนาดนั้น
              ดังนั้นถ้าหากว่าปฏิบัติไป ถ้าทำดีจริงทำถูกจริง เอาแค่หมวดเดียวก็พอ ถ้าหมวดเดียวเข้าใจ พื้นฐานเดิมมีอยู่จะเข้าใจทั้งหมด
      ถาม :  หมวดเดียวนี่ หมวดไหนคะ ?
      ตอบ:   หมวดไหนก็ได้ อย่างเช่น อานาปานสติ หมวดเดียวอย่างเดียวก็เริ่มตั้งหน้าตั้งตาอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก พิจารณาไปอย่างเดียวเลย หรือว่าจะเอาพุทธานุสตินึกถึงพระพุทธเจ้าอย่างเดียว ทุกอย่างกำลังสูงสุดจะเหมือนกัน เปลี่ยนแต่วิธีการนิดหนึ่ง ถ้าหากว่าพื้นฐานเดิมมีอยู่ หมายความว่าชาติก่อน ๆ เคยทำมาแล้ว มีความแตกฉานเชี่ยวชาญมาบางส่วน หรือว่าพื้นฐานเดิมจะเป็นปฏิสัมภิทาญาณอยู่ ได้บทเดียวมันก็ได้หมดนั่นแหละ
      ถาม :  ไปแต่ละที่ ก็ไม่เหมือนกันค่ะ
      ตอบ:   ไม่เหมือน ที่ไม่เหมือนเพราะว่าส่วนใหญ่เรียนไม่จบ ไม่ใช่เรียนไม่จบ เรียนไม่หมด ในเมื่อเรียนไม่หมดถึงเวลาเขาถนัดอันไหนเขาก็เอาอันนั้น ถึงแม้ว่าจะเรียนหมดเรียนครบก็ตามจะมีสิ่งที่ท่านชำนาญเป็นพิเศษอยู่ หรือไม่เหมือนยังกับว่าส่วนนั้นควรที่จะเอาขึ้นมาเพื่อที่จะมาเป็นเครื่องหมายการค้า เช่น สำนักวัดปากน้ำท่านก็จะใช้อาโลกสิณ คือการจัดดวงแก้วเป็นเครื่องหมายการค้าใช่ไหม อย่างของหลวงพ่อก็จะใช้มโนมยิทธิ เพราะฉะนั้นจึงแตกต่างกัน เหมือนอย่างกับเปิดร้านอาหาร ถนัดทำอาหารแบบไหนก็ต้องเอาอันนั้นออกมา คนจะชอบกินหรือไม่ชอบกิน เดี๋ยวเขามาเอง ถ้าหากท่านที่เรียนครบถึงเวลาอาหารรสนี้ในร้านนี้ไม่ได้ทำ ก็จะแนะนำว่าร้านไหนเก่ง เดี๋ยวก็ให้ไปกินที่โน่น ร้านอื่นในโลกนี้ไม่มีก็เรียบร้อยล่ะ อยู่ใต้กะลาใบเบ้อเร่อ เลยโดนครอบ
      ถาม :  ถ้าบุญที่เราทำมาแล้ว ในชาตินี้เราเอามาใช้ทำกิจด้วยหลายกิจ บุญมันถูกพร่องไปหรือไม่ ถ้าความดีที่เรามาเติมไม่พอ
      ตอบ:   บุญไม่มีคำว่าพร่อง
      ถาม :  ไม่พร่อง แต่เหมือนเราจะไปติดหนี้ไหมคะ ?
      ตอบ:   ไม่ติดหรอกจ้ะ การที่เราอธิษฐานก็ดี บนบานศาลกล่าวก็ดี มันเหมือนกับภาชนะอันนี้ที่เราสะสมบุญเอาไว้ ถ้าสมมติว่าเราขาดอยู่เพียงแค่นี้ เราขอด้วยการตั้งใจว่าจะทำความดี ในลักษณะเหมือนกับบนว่าถ้าหากว่าเราได้สำเร็จแล้ว เราจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านที่เป็นพระ เป็นพรหม เป็นเทวดา เห็นว่ามันขาดแค่นี้เองเติมให้มันก่อนก็ได้ เดี๋ยวมันก็ไปทำดีแน่ ๆ อยู่แล้ว ก็ช่วยให้ แต่ถ้าว่าเราขาดมากท่านเติมให้ไม่ไหวเพราะฉะนั้นสิ่งที่เราขอมันก็จะไม่สำเร็จ ของเรามันไม่ได้พร่อง ไม่ได้ไปไหนหรอก แต่ต้องทำเพิ่มเท่านั้นเอง
      ถาม :  ท่านคะ อรสานี่คิดใบ้หวยงานนี้งานแรก คุณ....เกิดวันที่ ๙ ตายวันที่ ๙ อายุ ๙๐ ปี เวลา ๑๙.๐๐ น. สาก็จะไปบอกทุกคนเลยค่ะ ปรากฎว่าหวยมันกินเรียบเลยค่ะ วันหลังไม่ริจะใบ้หวยแล้วค่ะ
      ตอบ:   ไม่ต้องใบ้จ้ะ จำไว้ว่าคนเราทำบุญมาไม่เสมอกัน เมื่อทำบุญมาไม่เสมอกัน ถ้าคนที่ไม่ได้ทำบุญร่วมกันมามีส่วนอยู่ในนั้นด้วย มันจะไม่ได้กินหรอก เพราะฉะนั้นถ้าคนรู้น้อยมันจะได้ โดยเฉพาะเรื่องของหวยอย่าให้มันเกินบุญ คำว่าอย่าให้เกินบุญก็คือว่า ถ้าเกิดเราเคยเล่นถูกแค่ ๒๐ บาท ก็อย่าไปเล่นเกิน เล่นเกิน ไม่ได้กินหรอก ถ้าเคยถูก ๕๐ บาท ก็อย่าให้เกิน ๕๐ บาท ส่วนใหญ่แล้วจะโลภ
              อันนี้ต้องดูตัวอย่างลุงปาน สมัยที่อยู่บึงลับแล ลุงปานแกคอยแบเสบียงแบข้าวของเข้าไปให้ เราเองก็สงสารแก แก่ก็แก่และต้องขึ้นเขาลงห้วยตั้งหลายสิบลูกมันก็ไม่ไหว แกไปแบกของให้เราก็ไม่ได้ทำงานทำการและเสียงานด้วย ก็เลยใช้วิธีเขียนตัวเลขทิ้งไว้ข้างกองไฟ พอลุงปานแกเห็นแกก็ย่องไปซื้อ คราวนี้ตัวเลขมันสามตัว มันก็ไม่แน่นอน แกก็กลับไปกลับมา ตัวไหนเล่นมากไม่ถูกหรอก ตัวไหนเล่นไม่เกิน ๕๐ บาท ลุงจะได้ ลุงปานแกก็หงุดหงิดมากเลย แหม! อาจารย์บอกตรง ๆ ก็ไม่ได้ แล้วก็ถามว่าบอกตรง ๆ แล้วจะทำอย่างไร แกบอกว่าจะเล่นล้มเจ้ามือ เจริญเลยเดี๋ยวเจ้ามือก็มายิงกระบาลข้าเท่านั้น
              คราวนี้ปรากฎว่ามันพอดีช่วงใกล้ปีใหม่ เขาก็นัดกับท่านแสง ตอนนั้นท่านแสงยังไม่ได้บวช นัดกันว่าเดี๋ยววันที่ ๒๙ เราไปหาอาจารย์กัน ท่านแสงก็รับปากดิบดีเลย เตรียมข้าวเตรียมของไว้ ปรากฎว่าเข้าไปวันที่ ๒ ลุงปานก็ไม่ว่าแบกของเข้าไป พอไปถึงเห็นเราเขียนไว้ข้างกองไฟ ๓ ตัวตรงเป๊ะเลย ลุงปานโกรธมากไม่พูดกับท่านแสงไปตั้งครึ่งปี เขาบอกว่าถ้าหากว่าท่านแสงไม่ผิดนัดยังไงงวดนี้เขาได้แน่ ๆ เลย ลองคิดดูบุญคนก็แล้วกัน มันมีเหตุ ในเมื่อบุญของเขาทำมาแค่นั้น ได้เกินไม่ได้ มันก็มีเหตุให้เขาพลาดไปจนได้ ตอนนที่ตัดสินใจ เอาละว่ะให้มันสักที อดอีก อันนั้นเลิกแล้ว ปกติแล้วจะไม่ให้ใคร เพราะหลวงพ่อท่านสั่งห้ามเอาไว้ แต่ว่างานนั้นเพราะว่าสงสารลุงเขาจริง ๆ แก่ก็แก่และต้องขึ้นเขาลงห้วย เดินไปที ๒-๓ ชั่วโมง กว่าจะถึง แบกของไปอีกต่าง หาก เสียการเสียงานไปหมดทุกอย่าง แกก็ยังอุตส่าห์ตามไปสงเคราะห์ กลัวพระจะอดอย่างนี้
      ถาม :  .......................................
      ตอบ:   พระที่ถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ถ้าท่านอยู่มานานจนถึงระยะหนึ่งให้สังเกตเรื่องรูป ถ้าไม่เคยทำมาก่อน แล้วอยู่ ๆ สร้างรูปแทนตัวเมื่อไหร่ เห็นไปเร็วทุกรายเลย เคยสังเกตไหม หลวงพ่อท่านสร้างรูปใหญ่ของท่านสูงตั้ง ๔ เมตรครึ่ง แล้วก็สร้างรูปเล็ก แล้วปีรุ่งขึ้นท่านก็ไป เท่าที่ดู ๆ มาอยู่กันไม่เกิน ๓ ปี สักราย รูปหล่อหลวงพ่อรุ่นนี้สำคัญตรงข้างหลังหน่อยหนึ่งคือ จะมีชนวนส่วนที่หล่อสมเด็จองค์ปฐมองค์ใหญ่ ชนวนก็คือพ่อที่เขาเจาะรูตอนที่จะเททองเพื่อให้เนื้อโลหะวิ่งถึงกัน ส่วนที่เป็นฟองอากาศจะโดนไล่ออกทางด้านนั้น และโลหะบางส่วนมันก็จะออกไปด้วย มันก็จะยาวอยู่ เขาเรียก ชนวน ท่านให้ตัดชนวนนั้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ มาแปะอยู่ข้างหลังรูป
      ถาม :  .............................................
      ตอบ:   เดือนที่แล้ว กลับจากที่นี่ไปพม่า ไปตรวจงาน งานก่อสร้างวัดไทยที่พม่า ปีนี้ฝนมันดีเป็นพิเศษ จนกระทั่งเดือนธันวาแล้ว ฝนยังไม่ค่อยอยากจะหมดเลย นั้นทางที่จะไป มันก็เลยเละเป็นพิเศษเหมือนกัน บอกไม่ถูกว่ามันเละขนาดไหน ระยะทางประมาณ ๑๐๐ กิโล ใช้เวลา ๒ วัน กับ ๑ คืน ต้องค้างคืนกลางทางคืนหนึ่ง ผลัดกันฉุด ผลัดกันลาก ผลัดกันเข็น เอ็งติด ข้าก็ลากให้ ข้าติด เอ็งก็ลากให้ สะใจมาก (หัวเราะ)
      ถาม :  แล้วขากลับล่ะครับ ?
      ตอบ:   เหมือนกัน ไม่ได้ดีกว่าเดิมเลย ก็ไปสองอาทิตย์ มีเวลาทำงานแค่ไม่กี่วัน คราวนี้ตอนไปก็ไม่มีปัญหา ก็เป็นอันว่า ออกเดินทางวันนี้ ก็ต้องไปรอรถอยู่วันหนึ่ง พอได้รถมาก็วิ่งไปเถอะ ของเราไม่ได้ติดหรอก คันอื่นมันติด ก็ต้องไปลากมันออก เพราะว่าทางมันแคบ ๆ แค่รถไปได้แค่นั้น ทางประเทศพม่านี่ หาดียาก ขนาดทางลาดยางดี ๆ ของเขานี่ มันโดนประมาณแสนกว่า ๆ ของบ้านเรา เวลารถจะหลีก จะแซงกันนี่ ต้องเอาล้อลงข้างทางคนละครึ่ง มันถึงจะไปได้ สร้างใหญ่ไม่ได้ เดี๋ยวสตางค์หมด ไม่มีอะไรไว้กิน สร้างเล็กเท่าไหร่ ก็เหลือเยอะเท่านั้น ถนนในป่า ก็คือถนนป่าจริง ๆ ถ้าหากว่าเป็นหน้าแล้ง ก็ฝุ่นท่วม ชนิดที่รถวิ่งไปก็เลี้อยไปเลย เพราะว่าฝุ่นมันหนานี่ ล้อรถมันเกาะไม่ได้ มันก็ต้องเลื้อย บังคับรถไม่ค่อยได้หรอก แต่ถ้าหน้าฝน มันก็กลายเป็นปลักควาย ที่เขาบอก ถนนเหมือนเตาขนมครกนะ เตาขนมครกดีกว่าเยอะเลย เพราะว่า เตาขนมครกเป็นหลุม ๆ ยังเป็นระเบียบใช่มั้ย ? ไอ้นี่มันไม่เป็นระเบียบเลย (หัวเราะ) ต้องไปค้างคืน คืนหนึ่ง
              แล้วคราวนี้ปีนี้ เป็นเรื่องที่หน้าอเน็จอนาถสำหรับเรา อำเภอด่านเจดีย์สามองค์ของพม่า มีรถไทยที่ขโมยเข้าไป ตกค้างอยู่ประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ คัน เพราะว่าตอนนี้ รัฐบาลพม่ากำลังใจไทยเนื่องจากไทยยอมโยกย้ายทหารตามที่เขาต้องการ แล้วนายกรัฐมนตรียังไปลงทุนเกี่ยวกับการคมนาคม พวกโทรศัพท์มือถือ จะสร้างถนนฟรี ๆ ให้เขาตั้ง ๒-๓ สาย เขาก็เลยเอาใจ ในเมื่อขอให้เขาจัดการเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติด เรื่องของการขโมยรถ มันก็เลยปิดด่านเจดีย์สามองค์ไว้ รถมันก็เลยขึ้นลงไม่ได้
              ในเมื่อขึ้นลงไม่ได้ เขาก็เลยใช้วิธีพลิกแพลง เพราะว่าทางพม่านี่ ถ้าหากว่าทำทะเบียนรถ สมมุติว่าซื้อรถมา ๑ แสนบาท ค่าทะเบียนคือ ๑ แสนบาท เท่านตัวหนึ่งของค่ารถ เขาก็เลยใช้วิธีพลิกแพลง เพราะว่าทางพม่าเขามีหลายเผ่า หลายชนชาติรวมกัน เขาก็พลิกแพลงไปทำทะเบียนมอญบ้าง ทะเบียนกะเหรี่ยงบ้าง เจ้าพวกนี้มันจะเรียกว่า เป็นทะเบียนเถื่อนก็ว่าได้ คือจะเป็นที่ทางทหารมอญ ทหารกะเหรี่ยง เขาออกให้ มีสิทธิ์วิ่งอยู่ได้เฉพาะในเขตของเขา ถ้าพ้นเขตแล้วเขาไม่รับผิดชอบ ถ้าหากว่าจะเอาป้ายทะเบียนกลาง อย่างที่รัฐบาลกลางออกให้ วิ่งได้ทั่วประเทศก็จริง แต่มันแพงสาหัส เขาก็ใช้วิธีนี้ ปี ๒๕๒๔ โกเต็ง เดินทางมาที่ด่านเจดีย์สามองค์เพื่อหาช่องทางทำกิน
              ตอนนั้นเงินพม่า ๑ จั๊ต แลกเงินไทยได้ ๒ บาท เงินเราเล็กกว่าเขาเท่าหนึ่ง ปัจจุบัน ณ วันนี้ พ.ศ. นี้ เงิน ๑ บาท แลกได้ ๒๘ จั๊ต (หัวเราะ) ระยะเวลาแค่ ๒๐ กว่าปีรัฐบาลพม่าสามารถทำให้บ้านเมืองล่มจมไปได้ขนาดนั้ น ความสามารถสูงจริ งๆ ปี ๒๔-๔๖ เท่าไหร่ ? ๒๒ ปี ทำให้บ้านเมืองที่พูดง่าย ๆ ว่า ค่าเงินแข็งกว่าไทย ๑ เท่าตัวกลายเป็นอ่อนกว่าไทย ๒๘ เท่าได้
              คราวนี้ลำบากอาตมาซิ วัดนี้ไปสร้างให้เขาตั้งแต่ ๑ บาทแลกได้ ๖ จั๊ต ข้าวของตอนนั้นเราก็ว่าแพงนะ หิน ๑ ลำเรือ ราคา ๑๙,๐๐๐ จั๊ต เมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่ผ่านมา หิน ๑ ลำเรือ ราคา ๑ แสนจั๊ต จากหมื่นเก้า เป็น หนึ่งแสน มันขึ้นไปเท่าไหร่ ? ๕ เท่าตัวได้ เพราะรัฐบาลมันบ้า รู้ว่าตัวเองจะอยู่ไม่ได้ หาคะแนนนิยมขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ๕๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นะ ๕๐๐ เปอร์เซ็นต์
              ตอนสมัยเข้าไปใหม่ ๆ มีอาจารย์เขาจบปริญญาโท เป็นอาจารย์อยู่โรงเรียนมัธยม ก็มาคุยกัน พวกนี้เขาจะเก่งภาษาอังกฤษ ก็คุยกันรู้เรื่อง ถามเขาเงินเดือนเท่าไหร่ ? เขาบอก ๑,๒๐๐ เราถามว่าบาทหรือ ? ไม่ใช่ ดอลล่าร์หรือ ? ไม่ใช่ ๑,๒๐๐ จั๊ต ตอนนั้น ๒๐๐ บาทไทย ตอนแรกเราได้ยินว่ามีอาจารย์จบปริญญาโท ปริญญาเอก ลาออกไปเป็นกรรมกรที่สิงคโปร์ ก็ว่าทำไมมันไม่รักดีเอาเสียเลย ขนาดจบปริญญาโท ปริญญาเอก ไปเป็นกรรมกรสิงคโปร์ พอรู้ว่าเงินเดือนของเขาแค่ ๒๐๐ บาทไทย เฮ้ย ! เอ็งรีบลาออกไปอีกคนเถอะ (หัวเราะ) หมดเรื่องหมดราวไปเลย ถึงว่าคนของเขาต้องการมาประเทศเรามาก เพราะว่า ๒๐๐ นี่บ้านเรา ทำกันวันสองวันมันก็ได้แล้ว แต่อยู่บ้านเขานี่ทั้งเดือน จบปริญญาโททำงานทั้งเดือน ได้เท่ากับเมืองไทยทำแค่สองวันสามวัน เป็นเรา เราก็เอา แล้วเงินสิงคโปร์ใหญ่กว่าเราตั้งเยอะ ไปอยู่ที่นั่นมันก็ต้องได้มากกว่า ถ้าหากว่า เขาขึ้นให้ ๕-๑๐ เปอร์เซ็นต์ ก็เชื่อว่าเขาดีใจกันตายแล้ว เพราะว่าเงินเดือนมันไม่เคยขึ้นมาเลย
              ตอนช่วงที่ไปใหม่ ๆ ตอนนั้นผู้หมวดกันยุ้นท์ เขาเป็นทหารเรือ พาไปเที่ยวกัน เราก็ เออ...เราออกค่าเช่ารถนะ ออกค่าน้ำมัน ค่าอาหารมื้อเช้า มื้อกลางวัน ผู้หมวดบอกว่าจะแชร์ด้วย อย่างนั้นผู้หมวดก็จ่ายมื้อเย็นไปแล้วกัน เพราะว่าจะมีฆราวาสแค่ ๔ คน พระยังไงก็กินมื้อเย็นไม่ได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมื้อเย็นก็จ่ายไปแล้วกัน พอเย็นนั้นเขาก็หายไปกินข้าวด้วยกัน พอรุ่งขึ้นผู้หมวดบอกว่า ไปไม่ไหวหรอก นั่งรถไม่ไหวมันยอกไปหมด เขาว่าอย่างนั้น คือรถมันกระแทก ถนนมันไม่ดี เขาก็ขอแยกตัวไปกลางคัน เราก็เอ๊ะ ! มันเป็นทหารภาษาอะไรวะ ไม่มีความอดทนเลย ปรากฎมารู้ทีหลังว่า มื้อนั้นเขากินไป ๙๐๐ จั๊ต ๔ คน แล้วเงินเดือนของคุณร้อยโท ผู้หมวดนั้นน่ะ เงินเดือนแค่ ๙๐๐ เท่านั้น (หัวเราะ) กินมันหมดไปเดือนหนึ่ง มันก็เลยไม่กล้าไปต่อ
              คราวนี้รัฐบาลอยากจะหาคะแนนเสียงจากพวกข้าราชการ พวกทหาร ขึ้นเงินเดือน ๕๐๐ เปอร์เซ็นต์ เงินถึงได้รูดลงไปขนาดนั้น จากบาทละหก ก็ไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งพรวดเดียวไป ปัจจุบันนี้ ครั้งที่แลกได้มากสุดได้ ๒๘.๕๐ เกือบ ๆ ๓๐ จั๊ต พอไปถึงวัดหนองบัว ก็ไปดูงาน ตรวจงาน ไอ้งานการของทางพม่านี่ ไปดูแล้วประสาทมันจะกิน เพราะคนของเขานี่ มันทำงานให้ได้วัน มันไม่ได้ทำให้ได้งาน เขาเคยชินกับค่าแรงรายวัน ก็เลยพยามอู้ให้ครบวัน ถ้าทำเร็วเกินไป เดี๋ยวงานหมด ไม่มีทำ เขาใช้วิธีอย่างนั้น แล้วอีกอย่างหนึ่ง วิธีคิดงาน ทำงานแก้ไขงาน ของเขาไม่เหมือนกับเรา ไปนั่งดูเขาทำบันได บันไดไม้ ไม้บ้านเขาเยอะ ไสไม้เสร็จ เอาไปประกอบกับพื้น ยาวไปครึ่งนิ้ว เป็นเราทำอย่างไร ? ตัดออกไม่หรอก เสียของ มันสกัดพื้นซีเมนต์น่ะ ไปสกัดคอนกรีตให้ได้ลึกครึ่งนิ้ว เสียเวลาไปครึ่งวัน สกัดเสร็จแล้วเอาไม้ไปประกอบ เสร็จแล้วก็ต้องฉาบใหม่เพื่อให้มันเรียบตามเดิม ไปนั่งดูอยู่พักหนึ่ง เขาจะทำขั้นบันได แล้วจะมีที่บังตาใช่มั้ย ? ใต้บันไดจะทำเป็นโค้ง ๆ ปิดระหว่างขึ้นบันไดอยู่ เขาก็จะไปวัด ๒๐ ซม. ลงไปอีกหน่อย ๑๙.๕ ซม. เขาก็ขีดเส้นโค้งได้ที่ ก็เลื่อย พอเลื่อย ขัดเสร็จเรียบร้อยก็เก็บ เอาอันใหม่มาถึง ก็เริ่มวัดใหม่ ๒๐ ซม. ๑๙.๕ ซม. บ้าชิบเป๋ง ! เป็นเรา เราก็เอาอันเก่าทาบขีดปั๊บก็ได้แล้ว แต่เขาทำอย่างนั้น ไม่เท่าไหร่
              คราวนี้มาทำกุฏิเจ้าอาวาสครูบาน้อย ก็ใช้สังกะสี ๑๐ ฟุต สังกะสีเคลือบสีอย่างบ้านเรา มันจะทนอยู่ได้นาน ก็มุงไปเรื่อย ๆ คราวนี้ไม่ได้คำนวณว่าสังกะสีกว้างเท่าไหร่ ? แล้วเวลามุงซ้อนใช้พื้นที่ไปเท่าไหร่ ? แล้วต้องทำหลังคากว้างเท่าไหร่ถึงจะพอดี พอมุงไปมันก็เหลือครึ่งแผ่น เราก็บอกซ้อนเข้าไปเลย คือเลื่อนซ้อนเข้าไป มันก็จะพอดี ลงล็อก ไม่หรอก มันลงมาถึง จัดแจงคว้าสกัดมา ค่อย ๆ ตอก ตัดสังกะสีให้ขาดครึ่ง แล้วคิดดูมันใช้สกดั หน้ามันก็ประมาณนิ้วเดียว แล้วสังกะสียา ว๑๐ ฟุต มันก็ตอกไปเรือ่ย ๆ แล้วก็จะได้ขอบเยิน ๆ อย่างกับฟันเลื่อยมาขอบ เอาค้อนมาไล่เคาะให้มันเรียบอีก หมดเวลาไปหนึ่งวันแล้วก็ขึ้นไปมุง เสร็จเรียบร้อย มันประหยัดสังกะสีให้เราครึ่งแผ่น ซึ่งเอาไว้ใช้อะไรไม่ได้เลย มันภูมิใจมากเลย ที่มันช่วยประหยัดให้เราครึ่งแผ่น
      ถาม :  เขาไม่เชื่อหรือเจ้าคะ เวลาที่เรา ?
      ตอบ:   เขาคิดว่า เขาทำได้ดีกว่า คืออย่างน้อย ๆ มันเหลือสังกะสีให้เราครึ่งแผ่น เอาไปชั่งกิโลได้ แต่มันกินค่าแรงเราไปวันหนึ่งเต็ม ๆ แล้วงานก็ไม่เสร็จด้วย
      ถาม :  แล้วเขาไม่ฟัง
      ตอบ:   ไม่ฟังหรอก ก็เขาคิดว่าทำได้ดีกว่า ไปนั่งแล้วนั่งกุมหัว บอกครูบาน้อย คุณคุมงานไปเถอะ ถ้าผมคุมงาน ไอ้พวกนี้โดนเตะทุกคนเลย (หัวเราะ) เป็นอย่างนั้น แล้วการเลือกซื้อของเครื่องใช้อะไรต่าง ๆ ก็เหมือนกัน ประเทศพม่าเขาเคยชินกับระบบอย่างนั้น ไม่มีการแข่งขัน เราแนะนำเขา เขาไม่ฟังเราหรอก เขาขายของตั้งราคาตายตัวมาเลย ๑๑๐,๐๐๐ ต่อเขาหนึ่งแสน ไม่ขาย เป็นตายอย่างไรก็ไม่ขาย บอกเขาว่า ถ้าหากคุณยอมขายหนึ่งแสน คนเขาจะซื้อมากขึ้น เพราะเขาซื้อหลายชิ้น คุณจะได้กำไรมากกว่า ๑๑๐,๐๐๐ อีก ไม่ขาย จะขาย ๑๑๐,๐๐๐ คือเขาจะเอาครั้งนั้นครั้งเดียว ครั้งต่อไปไม่ต้องคิด แล้วการซื้อของ เห็นครูบาน้อยซื้อ ถ้าเป็นบ้านเรา โดนถอดรองเท้าตบแน่เลย เขาเข้าไปต่อราคา ต่อกันหน้าดำหน้าแดง ไม่ได้ เดินต่อไป ไล่ต่อทีละร้านไปจนหมดถนน แล้วขึ้นต้นใหม่ วันนั้นจะต้องเจอหน้าเดิม ๆ วันละ ๗-๘ ครั้ง แล้วเขาก็ซื้อกันจนได้ ของเราไม่เคยชินจริง ๆ
              ตอนที่ไปเขาเอาไม้มาส่ง ไม้สักทอง ๙ ตัน ตันหนึ่งประมาณ ๓ ยกบ้านเรา ยกหนึ่งก็คือ หนึ่งคิวบิกเมตร บ้านเราพวกไม้ทำไม้แบบ แล้วงัดทิ้งเลย ตันหนึ่งก็เป็นหมื่นแล้ว แต่ของเขาไม้สักทองตันหนึ่ง ๒๓๐,๐๐๐ ราว ๆ ๙,๐๐๐ กว่าบาทไทยในปัจจุบันนี้ ก็เท่ากับยกหนึ่งราว ๆ ๓,๐๐๐ บาทเศษ ๆ เท่านั้น ที่มันมาก็จะมีเสาไม้หน้า ๑๐ หน้า ๘ หน้า ๖ มีท่อนซุง มีไม้กระดานเลื่อยเป็นแผ่นมาแล้ว ครูบาน้อยก็ไปวัดทีละอัน กว้างเท่าไหร่ ? ยาวเท่าไหร่ ? หนาเท่าไหร่ ? ได้มา ๖ หน้ากระดาษแกก็เอามาคิดตัวเลข
              เมื่อตอนเริ่มสร้างวัดใหม่ ๆ ไปจ้างหม่องอ่องโซ เขามาปั้นอิฐ คืออิฐบ้านเขาไม่มีทำขายอย่างบ้านเรา บ้านเราไปถึงร้านวัสดุก่อสร้าง สั่งได้เลยจะเอากี่หมื่นกี่แสนก้อน บ้านเขานี่ จะซื้อทีต้องไปสั่ง แล้วเขาจะปั้นให้ทีหนึ่ง ไปสั่งเขาปั้น ๔ แสนก้อน ก้อนละ ๓ จั๊ต ตอนนั้นก็ราว ๆ ๕๐ สตางค์ แต่ถ้า ๕๐ สตางค์ ตอนนี้ก็คือ ๑๔ จั๊ต ตอนที่ครูบาน้อยเข้าไปตรวจสินค้า เรานี่ประสาทกลับไปเลย แกพลิกดูทีละก้อน อันนี้สุกไม่ทั่ว โดนไฟไม่ทั่ว เดี๋ยวมันหักง่าย เอาไปคืน อันนี้โดนไฟมากเกินไป กลายเป็นเซรามิก เดี๋ยวปูนไม่เกาะ เอาไปคืน หม่องอ่องโซเป็นพม่าด้วยกันแท้ ๆ นั่งกลุ้มอยู่ ซักพักบอกครูบา ๆ ไม่ต้องหรอก เดี๋ยวผมปั้นให้ แล้วมันก็ปั้นให้อีก ๔๐,๐๐๐ ก้อนให้ เอาไปเลย ๑๐ เปอร์เซ็นต์ คุณไม่ต้องมาตรวจทีละก้อน เราก็ว่าครูบาน้อยใช้เงินสะใจมากเลย
              ปรากฎว่ามางานนี้อีกเหมือนกัน เล่นวัดกระดานทีละแผ่น แล้วก็ได้ตัวเลขมา ๖ หน้ากระดาษ ช่วงที่เขาวัด ๆ กันอยู่ เราก็เซ็งแล้ว เพราะว่า เกวียนมันมาถึงประมาณ ๗.๓๐ น. กว่าจะวัดเสร็จ ๙ โมงแล้ว ก็เห็นยายกระแต เจ้าเก๋ แล้วก็แม่เขา หุงข้าวทำกับ เราก็ เอ๊ ! วันนี้เขาจะเลี้ยงเพลอีท่าไหน ทำไมทำเร็วจังวะ ปรากฎว่า พวกเขาหุงเสร็จก็จัดแจงตั้งโต๊ะ เราก็เฮ้ย ! โต๊ะทำไมมันเยอะ เพราะว่าพระมีแค่ ๕ องค์ มันแค่โต๊ะเดียว นี่ตั้งไปตั้ง ๓ โต๊ะ พอโยมตั้งโต๊ะจัดอาหาร จัดกับข้าวเสร็จ ไปเรียกพวกขับเกวียน ๑๗-๑๘ คนมากิน นั่นน่ะเขารู้จริง ว่าอาจารย์เขาเป็นอย่างไร กินเสร็จเขาแจกหมอนให้นอนเลย สรุปวันนั้นกว่าครูบาน้อยจะคิดไม้เสร็จ ว่าเนื้อไม้เท่าไหร่ แล้วเป็นเงินเท่าไหร่ บ่ายสองโมง เขาละเอียดขนาดนั้น เราเองทำอะไรเร็วซะจนชิน ก็เลยไม่ค่อยชินกับระบบของเขา ของเขารถเสียกลางทาง ปูเสื่อนอน ของเรารถเสียไปต่อไม่ได้แล้ว ต้องหารถใหม่
              คราวนี้พอตรวจงานเสร็จก็ไปไหว้พระ จุดหมายใหญ่ ๆ ถ้าไปพม่าจะไปอยู่ ๔ ที่ ที่หนึ่งก็คือ เจดีย์ชเวดากอง อีกที่ก็คือ หลวงพ่อมหามุนี ที่หนึ่งก็พระธาตุอินแขวน แล้วที่สุดท้ายเป็นพระหลวงพ่อตามะยะ จะเป็นพระที่มีคนไปหาวันละเป็นแสน ๆ ทุกวัน ใครไปเท่าไหร่ ท่านเลี้ยงเขาได้หมด จะกินจะนอนอยู่กับวัดท่านหมด รถเมล์จะเริ่มต้นที่วัดท่าน เป็นสิบ ๆ สายเลย เพราะว่าคนไปทุกวัน ก็จะไปอยู่ ๔ ที่
              ปรากฎว่าปีนี้ พม่าน้ำท่วมใหญ่ทั่วประเทศ ถนนหนทางสุดยอดเลย ค่ารถทัวร์ที่เราเคยนั่งจากเมืองมุด่งไปย่างกุ้ง จาก ๑,๑๐๐ จั๊ต ขึ้นเป็น ๔,๐๐๐ แล้วก็นั่งกระแทกไป กว่าจะถึงก็ตับทรุดไปครึ่งหนึ่ง ไปถึงย่างกุ้งมันแปลก เป็นที่ ๆ เราไม่เคยเห็นมาก่อน ปรากฎว่าย่างกุ้งเขาเพิ่งจะสร้างหมอชิตใหม่ (หัวเราะ) เขาย้ายสถานีขนส่ง ของเราเคยชินกับระบบการเดินทางของบ้านเรา ไม่ว่ารถ เรือ เครื่องบิน ถึงเวลามันออก แต่ที่โน้น มันไม่เหมือนบ้านเรา ตั๋วรถลงเอาไว้ ๗.๓๐ น. รถจะออก รอจน ๙.๓๐ น. ยังไม่ออกเลย รอจนกว่าจะได้คนเท่าที่เขาพอใจ เขาถึงจะไป พอไหว้เจดีย์ชเวดากองเสร็จ ก็จะเดินทางไปมัณฑะเลย์ต่อ จากย่างกุ้งถึงมัณฑะเลย์ประมาณ ๔๓๐ ไมล์ ก็ราว ๆ ๘๐๐ กว่ากิโล เพราะ ๑ ไมล์ ประมาณ ๑,๖๐๐ เมตร ปกติรถออกประมาณ ๕ โมงเย็น จะถึงราว ๆ ๙ โมงเช้า
              คราวนี้พอออกรถได้ไม่เท่าไหร่ หม้อลมเบรกระเบิด เขาก็จัดแจงลงไปซ่อมกัน พวกพม่านี่รู้จริง ๆ ไปถึงปูเสื่อนอนเลย ของเราไม่ชิน ก็เดินเข้าเดินออกดูเขาซ่อมกัน ซ่อมเสร็จก็ไปต่อ รถวิ่งกลางคืน เกียร์หลุด โอย ! สุดยอดของความทุกข์ทรมานเลย ซ่อมเกียร์ในความมืด เขาก็ซ่อมไปเรื่อย ๆ ก็ปรากฎว่า ๒ โมงเช้าแล้ว ก็แวะให้เรากินข้าว ไปกับครูบาน้อย ครูบาน้อยกินเจของกินก็ไม่ค่อยมี ก็เลยสั่งขนมปัง กาแฟ มานั่งฟาดกัน เราไม่รู้โดนกาแฟดีหรือเปล่าไม่รู้ ?