ถาม :  พระสยามเทวาธิราชนี่เป็นใครค่ะ ?
      ตอบ :  พระสยามเทวาธิราชส่วนใหญ่จะเป็นบูรพามหากษัตริยาธิราชและเชื้อพระวงศ์ที่ท่านขึ้นไปได้ดีอยู่ข้างบนแล้วก็ยังห่วงใยประเทศชาติอยู่ รับหน้าที่ดูแลรักษาด้วยกัน เรียกรวม ๆ ว่าพระสยามเทวาธิราช จริง ๆ มีบานเลย ฟังนิทานย้อนยุคหน่อย อตีตากำลังฮิต ว่าเรื่องเก่า ๆ ว่าไปเรื่อยเลย คนอื่นมันไม่รู้มันเถียงไม่ได้หรอก
      ถาม :  แล้วเรื่องแหม่มแอนนา ?
      ตอบแหม่มแอนนาสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่จริง ๆ คือสมัยรัชกาลที่ ๒ เลย เพราะว่าจ้างมาเป็นพี่เลี้ยงสอนภาษาให้ แต่ว่าที่เขาเขียนเดอะคิงส์แอนด์ไอน่ะ คิงส์นั้นหมายถึงรัชกาลที่ ๔
      ถาม :  เขาเขียนธรรมเนียมไม่ชัดเจน
      ตอบ :  สายตาของเขา เขาใช้สายตาของเขา เขาใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีของเขา โลกทัศน์ของเขามามอง มันก็จะเห็นอย่างนั้น เขาเองเขาก็ไม่ได้เข้าใจลึกซึ้งว่าของเราเป็นยังไง ก็แบบเดียวกับเราไปดูพวกกระเหรี่ยงลำบากยากจนเสียเหลือคณา ที่ไหนได้อยู่อย่างเป็นสุขเสียด้วยซ้ำไป เขารู้จักพอ
      ถาม :  ............(ไม่ได้ยินเสียง)............
      ตอบพระคาถาชินบัญชร เป็นการเร่งบารมี เร่งเจ้ากรรมนายเวรมันเร่งยังไง ?
      ถาม :  จากหนักก็เป็นเบาอย่างนี้น่ะคะ ?
      ตอบ :  คือว่าถ้าเราภาวนาคาถาเป็นประจำ ก็คือสมาธิภาวนา คนที่มั่นคงในทาน ศีล ภาวนานี่ กฎของกรรมตามได้ไม่เกิน ๒๕ เปอร์เซ็นต์ หลวงพ่อบอกไว้ชัดเลย เพราะฉะนั้นมันสำคัญว่าเราทำจริงจังและต่อเนื่องมั้ย ทำทิ้ง ๆ ก็ช่วยอะไรไม่มากหรอก ต้องให้ต่อเนื่องด้วย
      ถาม :  ผมก็เข้าใจว่า ( ฟังไม่ชัด) เพราะว่าช่วงนี้ผมก็กำลังตกงานอยู่ด้วย
      ตอบ :  ก็เอาสิ ใครเขาว่าอะไร ถ้าเป็นอาตมาตกงานนี่นั่งภาวนาคาถาเงินล้านสักวันหนึ่ง พันสองพันจบไปเลย สบายกว่าเยอะ อยู่ที่เราเองชอบแบบไหนเอาแบบนั้น เพราะว่าคาถาทุกบทคือเครื่องทำใจให้เป็นสมาธิ ผลของสมาธินั้นเป็นอันดับแรก ถ้ากำลังใจเป็นสมาธิใจก็สบาย ถ้าใจดีใจสบายทุกอย่างมันดีหมด ถ้าไปดิ้นรนไปอยากได้ใคร่มีมันร้อนรนกระวนกระวาย เรื่องมรรคเรื่องผลมันตัดไป เรามีหน้าที่ภาวนา ก็ภาวนาของเราไป ผลจะเกิดยังไงก็แล้วแต่เขา
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด ) หนีไปอยู่ที่ป่าช้า
      ตอบ :  จริง ๆ แล้ว การที่เราอยู่กับคน ถ้าเราสามารถทำใจได้ ถ้าชนะแล้ว ก็ชนะเลย แต่ถ้าเราหลบไปที่ใดที่หนึ่งแบบพระธุดงค์เข้าป่าไป ถ้าใจสงบกลับมากระทบมันอาจกำเริบใหม่ได้ ลักษณะนั้นเราทำถูกที่เราหลบซะก่อน เรารู้ว่ามันไม่ไหวมันจะเกินกำลังของเราแล้ว
              สาเหตุมันเกิดจากการที่เรารับอารมณ์ไปสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่รู้ตัว มันนิดหน่อย ๆ เรายังรับได้ ๆ แต่ความจริงพอสะสมไป ๆ เหมือนฟางเส้นสุดท้ายแล้ว ที่ภาษิตฝรั่งเขาว่าฟางเส้นสุดท้ายทำให้อูฐหลังหัก บรรทุกไปตั้งหลายร้อยกิโลมันยังบรรทุกได้ เอาฟางใส่เข้าไปอีกเส้นเดียวมันล้มแผละเลย ของเรามันต้องระวังตัวเองเอาไว้ เรื่องของการรับอารมณ์นี่อย่าให้มันรับเข้ามา เรารู้อยู่ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ดี กระทบตาให้มันอยู่แค่ตา กระทบแค่หูให้มันอยู่แค่หู ให้เราทำความดี
      ถาม :  (ไม่มีเสียง)
      ตอบ :  เรื่องของบุญกฐินหลวงพ่อเคยบอกเอาไว้ว่า ใครเป็นเจ้าภาพกฐินตั้งแต่ ๓ ปี ติดกันขึ้นไปให้สังเกตตัวเองไว้ ความเป็นอยู่จะคล่องตัวกว่าคนอื่นเขา อันนี้พิสูจน์มาแล้ว เพราะว่าจะเป็นเจ้าภาพกฐินทุก ๆ ปี ติดกันมาตั้งแต่ก่อนบวช จนกระทั่งบวชมาสิบกว่าปีแล้วรู้สึกว่าทำอะไรคล่องตัวดี
      ถาม :  หมายถึงในปัจจุบันด้วยนะคะ ?
      ตอบ :  จ้ะ ชาติปัจจุบันนี้เลย ความคล่องตัวมันจะเกิดขึ้นเอง ถ้าเราไม่มีความสามารถจะเป็นประธานกฐินเองก็ร่วมกับคนอื่นเขา จะปัจจัยหรือว่าเป็นสิ่งของก็ได้ อย่างพระพุทธเจ้าสมัยท่านเกิดเป็นมหาทุคคตะ เจ้านายจะทอดกระฐิน ท่านเองท่านอยากจะร่วมบุญด้วย มีแค่เข็มกับด้ายเท่านั้นเอง ร่วมในกฐินแล้วท่านตั้งความปรารถนาขอให้ท่านสำเร็จพระโพธิญาณในอนาคตด้วย อย่าคิดว่าทำแค่นั้นนะ ปรากฏว่าได้อย่างที่ต้องการ
              บุญกฐินเป็นบุญสังฆทานพิเศษ เหตุที่เรียกว่า เป็นสังฆทานพิเศษ เพราะจำกัดจำเขตที่ทำปีหนึ่งจะมีเวลาทำบุญกฐินได้แค่เดือนเดียว คือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงกลางเดือน ๑๒ วันลอยกระทง เพราะฉะนั้นบุญกฐินก็เลยถวายเป็นบุญพิเศษ เป็นสังฆทานที่มีอานิสงส์ใหญ่มาก
              หลวงพ่อท่านบอกว่าบุคคลที่ทำบุญกฐินถ้าเกิดใหม่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ หมดบุญจากนั้นลงมาเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ เป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ ได้ลงไปเรื่อย ๆ ยังไม่ทันจะหมดบุญจากกฐินเข้านิพพานกันหมดแล้ว เพราะฉะนั้นถ้ามีโอกาสก็ทำถ้าไม่มีโอกาสก็รวมกันหลาย ๆ คน ไม่จำเป็นต้องมาก บุญกฐินสำคัญที่สุดตรงผ้าไตร ถ้าเรามีน้อยสบงผืนหนึ่งก็ได้ มีมากหน่อยก็จีวรสักผืนหนึ่งถ้าหากว่ามีครบไตรได้ก็ดี ถ้ามีมากกว่านั้นพระเขามีกี่องค์ถวายให้ครบองค์เป็นมหากฐิน
              เพราะฉะนั้นกฐินสำคัญตรงผ้าไตร กว้างคืบยาวคืบพระท่านเรียกว่าผ้าไตรแล้ว ผ้าสบงมันเกินคืบแน่ ๆ ก็คือจีวรในพระพุทธศาสนาดังนั้น ผู้ที่ถวายจีวรในพระพุทธศาสนาถ้าเป็นผู้หญิงเกิดใหม่จะมีเครื่องมหาลดาปสาธน์แบบนางวิสาขามหาอุบาสิกา เครื่องมหาลดาปสาธน์นี่เป็นเสื้อคลุมทั้งตัว ที่มีมงกุฏเป็นรูปนกยูงรำแพน หางลงมาข้างล่างต่อลงมาเป็นเสื้อคลุมทั้งตัว ท่านใช้คำว่า ร้อยด้วยแก้วมณี เฉพาะแก้วก็คือเพชร แก้วมณีคือเพชร เฉพาะเพชรอย่างเดียว ๑๖ ทะนาน บุญไม่ดีจริงคอหักตายไปเลย ถ้าเป็นผู้ชาย ถ้าได้บวชกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพอท่านตรัสเอหิภิกขุจะมีจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ลอยมาสวมตัวให้เลย ได้ทั้งหญิงได้ทั้งผู้ชาย เกิดเป็นผู้หญิงก็ได้บุญอันนี้ เกิดเป็นผู้ชายก็ได้บุญอันนี้
              เพราะฉะนั้นการถวายจีวรในพระพุทธศาสนาจะมีกุศลขนาดนี้ แล้วถ้ายิ่งเป็นจีวรในช่วงกฐินด้วย กฐินสมัยก่อนผ้ามีน้อย ส่วนใหญ่ท่านจะคัดเลือกบุคคล คือ ภิกษุที่มีผ้าเก่าที่สุดเพื่อที่จะมอบผ้าใหม่ผืนนั้นให้กับท่านไป
              แต่ว่าในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ผ้าจะได้มากอย่างวัดท่าซุงสมัยก่อน หลวงพ่อท่านถวายองค์ละไตรเลย อย่างของอาตมาที่นิมนต์เขามาทุกวัดก็ถวายครบทุกองค์ เพราะฉะนั้นแต่ละปี ๆ จะสั่งผ้าไตรจีวรจากร้านประจำ สั่งกันมาทีหนึ่งหลายลัง ทางด้านร้านประจำเขาจะมาส่งจีวรถึงที่แล้วคิดราคาเดิมทุกปีไม่มีขึ้น เขาถือว่าเป็นลูกค้าประจำ ปีที่แล้วก็สั่งไป ๕๐ ชุด

      ถาม :  ถ้าจบกฐินแล้ว (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  ไม่มีปัญหาอะไร เพราะว่าอนิสงส์กฐินจริง ๆ มันอยู่ที่คนทำซะมาก พระนี่พอรับกฐินแล้วจะมีอานิสงส์ตรงที่ว่าสามารถจะผ่อนคลายสิกขาบท คือ ศีลพระ ได้หลายข้อ อย่างเช่นว่า เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ถ้าก่อนจะได้อานิสงส์กฐินนี่จะไปไหนต้องแจ้งก่อนทุกครั้ง
              บางคนจะไปในที่ ๆ ตนเองคิดว่ามันไม่น่าจะบอกคนอื่นก็จะอึดอัดใจ ไม่อยากบอกใคร อย่างนี้สามารถฉันโภชนาได้ คณะโภชนาก็คืออาหารที่เจ้าภาพเขาออกชื่อ ถ้าเจ้าภาพนี่เขาออกชื่อนี่จะไปฉันเกิน ๓ องค์ไม่ได้ ถ้าเกิน ๓ องค์ เขาปรับอาบัติศีลขาดหมดเลย เพราะว่าสมัยก่อนพระมีเยอะ พอเจ้าภาพออกชื่ออย่างเช่นว่าถ้านางวิสาขามหาอุบาสิกา บอกพรุ่งนี้จะเลี้ยงข้าวมธุปายาส พระไปซะ ๕๐๐ องค์ อยากกินของดี เลยต้องสั่งห้ามคณะโภชนา คือเจ้าของออกชื่ออาหาร ไม่ว่าจะเป็นแกงหมู แกงเป็ด แกงไก่ ถ้าบอกชื่อขึ้นมานี่ห้ามฉันเกิน ๓ องค์ ถ้า ๔ องค์ขึ้นไปเรียกว่า คณะโภชนา โดนปรับอาบัติทุกองค์ ถือว่ารบกวนเขามาก
              เพราะฉะนั้นพวกเราถ้านิมนต์พระฉันนี่ ให้บอกว่านิมนต์ฉันเช้า นิมนต์ฉันเพล อย่าไปออกชื่ออาหาร ถ้าออกชื่ออาหารพระไม่ได้ฉันหรอก ให้ฉันปรัมโภขนาได้ ปรัมโภชนานี่หมายความว่าเราฉันจากที่ของเราก่อนแล้วไปในที่นิมนต์ฉันต่อได้ เพราะว่าบางเจ้า อย่างทางวัดท่าซุง ถ้าเจอผู้ใหญ่จันทร์นิมนต์นี่หน้ามืดทุกทีแหละ เพราะผู้ใหญ่จันทร์นี่สองโมงครึ่งยังไม่ได้ฉันเช้าเลย แกจะลากยาวของแกไปเรื่อยแหละ พอคนเตือนก็ ฮึ้ม ! มันจะหิวอะไรนักหนาเชียว ก็ตัวเองกินข้าวเย็น ตื่นเช้าขึ้นมาฟาดกาแฟไปอีกต่างหาก ส่วนพระแขวนท้องมาอย่างน้อย ๑๘ ชม. แล้วเขาไม่ได้นึกถึงตรงจุดนี้
              เพราะฉะนั้นถ้าได้อานิสงส์กฐิน เราฉันไปก่อนจะเป็นข้าวต้ม หรือกาแฟ หรือโอวัลติน ไปก่อนได้ แล้วไปฉันต่อที่โน่น แต่ถ้าหากว่าไม่ได้อานิสงส์กฐินแล้ว ไปฉันอย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านปรับอาบัติ ศีลขาดเพราะว่าไปฉันของเขาได้น้อย เดี๋ยวเจ้าภาพเขาจะเสียใจ มันทำลายศรัทธาเขา
              ผ้าที่เกิดขึ้นในที่นั้นสามารถเก็บไว้เป็นของตัวเองได้ คือหมายความว่า ผ้าที่ได้ในช่วงนั้น ถ้าเราได้อานิสงส์กฐิน เราเก็บไว้ใช้เองได้ ถ้าหากว่าไม่ได้อานิสงส์กฐินได้มาต้องวิกัป คือทำเป็น ๒ เจ้าของ หมายความว่า เป็นเจ้าของร่วมกับคนอื่น หากเขาต้องการใช้เขาเอาไปได้ ไม่อย่างนั้นแล้วกลัวจะเป็นการสะสมเพราะสมัยนั้นถ้าหากว่าเศรษฐีเขาถวายใช่มั้ย ? อย่างผ้าสาฏกผืนหนึ่งราคาต่ำสุด ๒๐๐,๐๐๐ กหาปณะ ๘๐๐,๐๐๐ บาทสมัยโน้นน่ะ สมัยนี้ ๘๐๐,๐๐๐ ก็ไม่ได้หรอก กลัวว่าพระจะสะสมของดี ๆ เยอะไป ก็เลยห้ามไว้เหล่านี้ เป็นต้น
              เพราะฉะนั้นจะผ่อนคลายสิกขาบทนี้ได้ ศีลทั้งหลายเหล่านี้ พระพุทธเจ้าท่านจะหย่อนให้ คือ เครียดมาทั้งพรรษาแล้ว ออกพรรษาได้อานิสงส์กฐิน ผ่อนให้หน่อยหนึ่งจนถึงกลางเดือนสี่ เป็นอันว่าเริ่มกลับเข้าไปเข้างวดตามเดิม อานิสงส์กฐินนี่ถ้าจำพรรษามาตลอดพรรษาแล้ว ไม่ได้กรานกฐินจะได้อานิสงส์นี้เดือนเดียว แต่ถ้าได้กรานกฐิน ก็เพิ่มให้จนถึงกลางเดือนสี่ ก็เท่ากับว่าได้ไปห้าเดือนเต็ม ๆ เพราะฉะนั้นอานิสงส์กฐินมีมาก คนทำได้เยอะแต่ขณะเดียวกันก็ช่วยให้พระสงส์ได้ผ่อนคลายจากระเบียบอันเข้มงวดลงไปบ้าง แล้วอีกอย่างหนึ่งเป็นทานที่จำกัดเวลา ก็เลยมีอานิสงส์มากเป็นพิเศษ
              หลวงพ่อท่านให้สังเกต ก็ลองสังเกต จริงอย่างท่านว่าทุกอย่าง ท่านบอกว่าใครได้เป็นเจ้าภาพกฐินติดกันตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไป สังเกตความเป็นอยู่ของตัวเองจะคล่องขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่เราเองถ้าไม่ได้สังเกตก็ไม่รู้สึก แต่ถ้าสังเกตแล้วจะรู้ อย่างคนคนอื่นลำบากทำไมเราไปของเราเรื่อย ๆ จะเป็นอย่างนั้น ที่วัดก็ตั้งใจทอดกฐินถวายหลวงพ่อปีละ ๙ วัดทุกครั้ง แต่ส่วนมากมันเกินปีที่ผ่านมาเจอไป ๒๒ วัด คือพอเขาได้ยินแล้ว เขาเองกฐินไม่มีเขาก็จะมาขอ พอมาขอก็เอา ถึงเวลานิมนต์เขามา พอเรารับกฐินได้เท่าไหร่ก็หารกันไปเลย
              ตอนนั้นนะกลายเป็นว่า ถ้าเป็นกฐินของมาตมานี่ ตัวเองแทบจะไม่ได้รับเลย (หัวเรา) คราวที่แล้วเจ้าภาพหลวงพี่สพฤกษ์ ท่านเป็นเจ้าภาพ ท่านจะนิมนต์พระมานั่งเรียงกันไปเลย แล้วเจ้าภาพแต่ละคนถวายเฉพาะของใครของมันเลย แต่ว่าโดยมารยาทแล้วถ้าถวายเสร็จนี่เขาจะถวายกลับคืนไห้กับเจ้าของวัด เราต้องประกาศเลยว่า อันนี้ถวายขาดเป็นสิทธิ์ให้เขาเอากลับได้เลย ไม่อย่างนั้นถ้าเขาคืนมาเขาจะไม่ได้อะไร เพราะฉะนั้นเจ้าภาพแต่ละคนมีแต่ประเคนไปเองเลย แล้วเขาเองเขารับเสร็จก็หอบกลับวัดไปได้เลย
              หลายคนเขาแปลกใจว่าเรารับกฐินแล้วทำไมไม่ได้สตางค์อะไรมากมายเหมือนคนอื่นเขา บอกไม่ขาดทุนก็บุญแล้ว (หัวเราะ) เพราะว่ายังต้องเลี้ยงโยมเลี้ยงอะไรอีก มันจะมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ว่าจากความตั้งใจคือเดือนตุลาคม ซึ่งมักจะเป็นช่วงกฐิน จะเป็นเดือนมรณภาพของหลวงพ่อ แล้วเป็นเดือนที่จัดงานวันเกิดหลวงพ่อด้วย ทั้งเกิดและทั้งตายเดือนเดียวกัน ตั้งใจตั้งแต่ออกไปอยู่ทองผาภูมิว่าจะทำถวายหลวงพ่อทุกปี แล้วก็สามารถทำมาได้ทุกปีเหมือนกันนะ
      ถาม :  แล้วชาวบ้านแถวนั้นไปทำบุญเยอะมั้ยคะ ?
      ตอบ :  แรก ๆ ชาวบ้านจะมีอยู่ ๔ หมู่บ้าน เขาไปกันชนิดยกหมู่บ้านเลย เพราะว่าเป็นชนกลุ่มน้อย คือ มอญ ทวาย กะเหรี่ยง เหล่านี้ พวกนี้เขาศรัทธามากแล้วมาอยู่ได้ ๒ ปีครึ่ง ทางการเขา ไม่ต้องการให้กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ป่า เพราะว่าเป็นการทำลายป่าเลยกวาดล้างทั้งหมด ไปรวมกันที่หน้าอำเภอ ไปจัดศูนย์อพยพหน้าอำเภอประมาณ ๘๐๐ หลังคาเรือน รอบ ๆ ที่เราเคยบิณฑบาตได้ ๔ หมู่บ้านหมดเกลี้ยงไปเลยไม่อย่างนั้นถึงเวลาเขามาทำบุญนี่กินกันปางตายเลยล่ะ
              เพราะว่าเขามานี่เขาจะมาปิ่นโตบ้านแต่ละเถา ๆ หิ้วกันมาเลย ไอ้เราตักของเขาอย่างละช้อนเดียวมันก็ค่อนบาตรแล้ว ฉันกันไหวซะเมื่อไหร่ล่ะ ศรัทธาของพวกนี้เขาดีมาก ประเทศชาติของเขาไม่สงบเขาก็หนีมาพึ่งอาศัยบ้านของเรา แต่น่าสงสารเขาว่าของเขามาถึงต้องการที่อยู่ก็ต้องไปหักล้างถางพงหาพื้นที่ที่ไม่มีใครอยู่
              พื้นที่ที่ไม่ไม่มีใครอยู่ส่วนใหญ่บ้านเราตอนนี้ไม่เป็นป่าสงวนก็เป็นอุทยานหมด เลยต้องมีการเอาเขาไปรวมที่นั่น ถึงเวลาใครต้องการแรงงานช่วงนี้ก็ต้องไปเซ็นรับรองเขาออกมา จ่ายค่าหัวคนละ ๑,๕๐๐ จะเอาเขาไปทำงานได้ปีหนึ่ง ๑,๕๐๐ บาท ต่อคนต่อปี แต่ว่าเอาเช้าแล้วตอนเย็นต้องไปส่งคืน ยกเว้นหน่วยราชการอย่างพวกป่าไม้หรือว่าทางอำเภอเอาไปอยู่ประจำได้แต่ว่าห้ามเพ่นพ่าน จะต้องจัดที่อยู่ให้เขาโดยเฉพาะเลย
              ถ้าหากว่าเป็นชาวบ้านทั่ว ๆ ไปต้องการแรงงานไปรับเซ็นออกมา เย็นเขาไปส่งเซ็นเข้าไป กลัวว่าพวกนี้เขาจะหลบเข้าเมือง เลยต้องเข้มงวดกันหน่อย ตรงนั้นก็เลยกลายเป็นเมืองมอญ เมืองพม่าไปเลย ที่ชอบใจที่สุดเป็นพวกขายกับข้าว เพราะรถปิ๊กอัพกับข้าววิ่งเข้าไปออกมารถเปล่าเลย (หัวเราะ) ๗๐๐ - ๘๐๐ หลังคาเรือนน่ะ วิ่งของไปเต็ม ๆ ออกมารถเปล่าเลย
      ถาม :  พวกนั้นมาม่า ยังไม่ค่อยรู้จักกันเลย
      ตอบ :  มันเป็นของดีของเขา ท่านนาวินไปพระบรมธาตุอินแขวน ลงจากพระธาตุเดินมาถึง ท่านนาวินสั่งมาม่าต้มยำให้ บอกว่า คุณ.... ที่วัดน่ะฉันอาทิตย์ละ ๗ วันเท่านั้นแหละ ของดีของเขา มันก็เลยกลายเป็นว่าของดีแล้วแพงด้วยคนทำมาม่าเขาก็ภูมิอกภูมิใจ อุตสาห์มาถามว่าอร่อยไหม (หัวเราะ) บอกที่อาตมาอยู่เนี้ย บางอาทิตย์นั้นฉันไม่มากหรอกฉันแค่ ๗ วันเท่านั้น