กระโถนข้างธรรมาสน์ เล่ม 6
สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ เดือนเมษายน ๒๕๔๔

      ถาม :  ถามเรื่องฤกษ์พรหมประสิทธิ์ที่หลวงปู่ปานท่านให้น่ะครับ วันพุธฤกษ์ห้ามคือสามค่ำหรือห้าค่ำครับ เพราะเท่าที่ผมดูในตารางแล้ว.........
      ตอบ :  จริง ๆ แล้วมัน ๓ แต่ว่าอีกอันหนึ่งวัดท่าซุงเขาพิมพ์มามันจะเป็น ๕ ค่ำ
      ตอบ :  ตกลง ๓ นะครับ แล้ววันจันทร์ละครับหลวงพี่ อมฤตโชคนี่
      ตอบ :  ๓ ค่ำ อันนั้นมันผิด เพราะว่ามันจะมีที่เขาพิมพ์มามันตกไป ๒ อัน แล้วก็จะมีเกินอันหนึ่ง ฤกษ์ประสิทธิ์โชคมันจะเป็นอมฤตโชคไปเลย ( หัวเราะ) ของเรามันไม่ผิดหรอกเพราะเราไปเปิดไล่จากปฎิทิน ๑๐๐ ปี มันลำบาก ถ้าหากว่ามีประเภทปฎิทินปกติมาเลยมันก็เร็ว แต่ถ้าเราไปรอปฎิทินปกติมันร่วมปีใหม่มันทำไม่ทัน เปิดไล่จากปฎิทิน ๑๐๐ ปี มันก็มีลอดหูลอดตาไปบ้าง
      ตอบ :  คราวนี้ขอถามที่เป็นปีเกิดน่ะครับ ที่หลวงปู่ท่านเขียนไว้ว่าวันนี้เป็นวันลาภ ชัย เสมอตัว กาลกิณีโจร มรณะ ตกต่ำ แต่ละอย่างหมายความว่ายังไงครับ ?
      ตอบ :  ความหมายมันก็ตรงตัวอยู่แล้ว วันลาภ ถ้าหากว่าเราทำงานอะไร จะทำอะไรที่เกี่ยวกับลาภผลเงินทองวันนั้นมันก็จะได้ดี วันชัยก็คือเกี่ยวกันการต่อสู้ อย่างเช่นว่าอาจจะขึ้นชกมวยหรือก็ไปว่าคดีความ ตกต่ำก็คือวันนั้นไม่ดีไม่ควรทำ เสมอตัวก็บอกตรงอยู่แล้ว กาลกิณีก็คือไม่ดีแน่ วันโจรก็คือให้ระวังไว้ วันลักษณะนั้นของจะหายง่าย
      ตอบ :  แบบนี้ต้องระวังทุกอาทิตย์เลยสิครับ ?
      ตอบ :  ก็ อาทิตย์ละครั้ง แต่จริง ๆ ระวังไว้ทุกวันนะ ไม่ใช่วันอื่นที่ไม่ใช่วันโจรก็เปิดประตูหน้ายันหลังเลย ต่อให้ไม่ใช่วันโจรมันก็หาย
      ตอบ :  แล้วมรณะนี่ล่ะครับ ?
      ตอบมรณะนี่มันจะเป็นวันคล้าย ๆ กับว่าวันที่เจ้าของดวงชะตาจะตกต่ำที่สุด โอกาสที่มันผิดพลาดจะเจ็บหรือตายมีมากกว่าวันอื่น
      ตอบ :  แย่กว่ากาลกิณีอีกเหรอครับ ?
      ตอบ :  แย่กว่าเยอะ มรณะนี่อันตรายที่สุดของเจ้าของปีเกิดนั่นแหละ อาตมาเองโดนไปเต็ม ๆ ๔ เขี้ยวนี่ก็วันมรณะ ปกติแล้วมันกัดไม่เข้า (ถูกงูกะปะกัด)
      ตอบ :  วันมรณะนี่ของดีอะไรก็ช่วยไม่ได้เหรอคะ ?
      ตอบ :  ก็ต้องดูด้วยว่าเราทำบุญมาพอไหม ? กำลังใจของเราสูงพอไหม ? ถ้าหากว่ากำลังบุญกำลังใจมันสูงพอจากหนักก็เป็นเบา จากเบาก็เป็นหาย แต่ถ้ากำลังใจแย่ ๆ ไม่เจ็บหนักก็ตาย
      ตอบ :  แล้วอย่างสมมุติว่าคนที่เกิดช่วงปีปลายปีจะต้องนับเป็นปีไทยนี่ก็ต้องนับไปอีกปีหนึ่งใช่ไหมครับ ?
      ตอบ :  ไม่ใช่ ปลายปีสากลใช่ไหม ? อย่างธันวาคม อย่างเช่นว่าเป็นปีนี้เกิดธันวาคมก็เป็นปีมะเส็ง
      ตอบ :  มันจะกลายเป็นเดือนหนึ่งหรือเดือนสอง
      ตอบ :  จะเป็นเดือนอ้าย ปีมะเส็งเดือนอ้าย สมัยก่อนเขานับขึ้นปีใหม่เขานับเดือนห้า เริ่มเดือนห้า แรม ๑๕ ค่ำเดือน ๔ เป็นสิ้นปี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เป็นปีใหม่ อย่างเช่นเด็ก ปีหน้า ถ้าหากว่าเกิดก่อนขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ยังเป็นปีมะเส็งอยู่ แต่ถ้าหากว่าขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ ปี ๒๕๔๕ ไปแล้วเป็นปีมะเมีย เขาจะเริ่มนับกันอย่างนั้น พอเริ่มขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ ก็เริ่มนับเปลี่ยนศักราช
      ตอบ :  ถ้านับตามเดือนสากลก็จะเป็นอะไรคะ ?
      ตอบ :  นับตามสากลก็จะเป็นปลาย ๆ เดือนมีนาคมไม่ก็ต้นเดือนเมษายน
      ตอบ :  อย่างที่เขาเรียกว่าปีใหม่ไทยหรือเปล่าคะ ?
      ตอบ :  ปีใหม่ไทยเขานับสงกรานต์เลย ก่อนหน้านั้นเขาก็จะนับกลางเดือนห้า ๑๕ ค่ำเดือน ๕ ไป ๆ มา ๆ มันลำบากเลื่อนขึ้นเลื่อนลง เขาก็กำหนดให้มันถาวรไปเลยว่า ๑๓ เมษายน เป็นวันสงกรานต์ ๑๔ เมษายนเป็นวันเนา ๑๕ เมาษายนเป็นสังขารล่อง
      ตอบ :  แล้วเท่าที่ลองดูสถิติตามหลวงปู่น่ะครับ โอกาสเกิดแบบนี้เท่าไหร่ครับ ?
      ตอบจำ ๒ วันเท่านั้น คือ วันลาภกับวันชัย วันอื่นไม่ต้องจำเพราะมันไม่ดีอยู่แล้ว (หัวเราะ) ง่ายดีไหม จะทำอะไรเกี่ยวกับลาภผลเงินทองเราก็ไปวันลาภ จะทำอะไรอย่างชนิดที่เรียกว่าเราต้องเหนือกว่าเขา ต้องการชนะเขาเราไปวันชัย จำมัน ๒ วันแค่นั้นแหละอันอื่นเลิกจำเถอะ
      ตอบ :  ผมนึกว่าแทนที่เราจะต้องไปจำวันมรณะ วันกาลกิณี จะได้ระวังตัวเอาไว้ ?
      ตอบ :  เสียเวลา เอาวันดีไว้ ๒ วันพอ นอกจากนั้นมันหาดียาก เสมอตน มันก็เสมอตัวไง หีนะก็ตกต่ำ กาลกิณีก็เลวร้ายมรณะนี่ตายเลย โจระก็คือโดนโขมยแน่ รู้ครบมันก็ดีแต่บางทีรู้ครบมันยุ่งนะ ก็เลยตัดเหลือแค่นั้น
      ตอบ :  ......(ไม่ได้ยิน)......
      ตอบ :  ถ้าหากว่บารมีเราสูงกำลังใจเราดีไม่จำเป็น แต่เรียกว่าไม่ประมาทก็ได้ พวกฤกษ์ยามต่าง ๆ มันเหมือนกับการข้ามถนน ถ้าเราดูดีแล้วว่าปลอดภัยไม่มีรถมาแล้วเราข้ามมันก็โอเค ๑๐๐% ชัวร์ว่าไม่มีอันตรายแน่ แต่ถ้าหากว่าคนที่เขาคล่องตัวแล้วเขาอาจจะข้ามตอนที่รถกำลังวิ่ง ๆ อยู่เยอะแยะเขาก็ข้ามได้
              คราวนี้จะเอาแบบไหนดีล่ะ ประกันความปลอดภัยดีหรือจะเสี่ยงดี คือ ถ้ามันไม่ลำบากมากนักเราก็ประกันความปลอดภัยใช่ไหม ? ถือฤกษ์ถือยามมันสักนิดหนึ่งแต่ถ้ามันลำบากมากเรามั่นใจว่ากำลังใจระดับของเราสร้างมาจนถึงขนาดนี้แล้วอันตรายไม่มีแน่ก็ลุยมันเลย แต่จริง ๆ แล้วพระพุทธเจ้าท่านสอนว่าอย่าประมาท อย่างนั้นก็ระวังไว้หน่อยดีกว่า มองซ้ายมองขวา... มองขวามองซ้ายสิ มองซ้ายมองขวารถชนแน่ (หัวเราะ) มองขวามองซ้ายมองขวาอีกทีปลอดภัยแล้วค่อยข้าม
              การถือฤกษ์ยามก็เป็นอย่างนั้น หลวงพ่อวัดท่าซุงปกติแล้วท่านถือฤกษ์ สะดวก คือ พร้อมเมื่อไหร่ทำเมื่อนั้น แต่ว่า... อันไหนก็ตามที่ท่านบอกกับลูก ๆ แสดงว่าท่านลองซะจนช่ำแล้ว ว่า ถ้าฝืนเมื่อไหร่เป็นเจ็บตัวแน่ ท่านก็ถึงได้บอก ของเราถ้าเราไม่มั่นใจคิดเราอาจจะรอดเราก็ลองดูได้นี่ ถ้าเจ็บตัวกลับมาค่อยมาถือ ตามท่าน (หัวเราะ) เพียงแต่ว่ามันจะรอดกลับมาหรือเปล่า ?
      ตอบ :  แล้วอย่างฤกษ์ห้ามล่ะครับ อย่างวันอาทิตย์ห้ามขึ้นบ้านใหม่หมายความว่ายังไงครับ ?
      ตอบโบราณเขาถือว่าอาทิตย์เป็นวันร้อน การขึ้นบ้านใหม่มันควรจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ส่วนใหญ่เขาถือฤกษ์วันศุกร์กัน วันอาทิตย์เขาก็ไม่ขึ้นบ้านใหม่
      ตอบ :  แล้วอย่างฤกษ์แต่งงานล่ะครับ เขาถือเอาวันที่ทำพิธีหมั้น หรือทำพิธีสงฆ์ หรือว่าส่งตัวครับ ?
      ตอบ :  วันส่งตัว
      ตอบ :  หมายถึงวันส่งตัวน่ะครับ
      ตอบ :  ฤกษ์แต่งงานคือส่งตัว ไอ้วันเข้าหอนั่นล่ะ
      ถาม :  .....................
      ตอบ :  ที่เราทำแบบนี้มันถูกต้องเพราะว่าผีเขาต้องการสังฆทาน แต่ว่าการที่เราไปไหว้เช็งเม้งที่ไปสุสานไปมันได้ตัวกตัญญู สมัยก่อนจะถือคนจีนเขาถือมากเลยเรื่องอกตัญญู ไม่ไหว้สุสาน ไม่แต่งงาน คือ ไม่มีลูกเขาจะถือ ของเราเองเราทำทางนี้แล้วถ้าหากจะไปไหว้ถ้ามีเวลาก็ไปกับเขา นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี พระพุทธเจ้าท่านยังสรรเสริญไว้ชัดเลย ตรงจุดนี้แหละที่หลวงพ่อท่านเคยบอกว่าไว้ว่า สังเกตดูมั้ยคนจีนอยู่ที่ไหนก็ลำบากไม่นานเดี๋ยวก็ตั้งหลักฐานได้ ท่านบอกว่าคนกตัญญูที่ไหนก็มีแต่ความเจริญ
      ถาม :  อย่างนั้นสมมุติว่าโจรฆ่าพ่อแม่ตายแล้วเอาลูกไปเลี้ยง ลูกรู้เข้า ก็ต้องการแก้แค้นให้พ่อแม่ตัวเองก็ต้องฆ่าผู้มีคุณที่เลี้ยงตัวเองมา คิดว่าทางออกของคนที่อยู่ในสภาวะอย่างนี้จะทำอย่างไรครับ ?
      ตอบ :  สำหรับตัวเราที่เป็นนักปฎิบัติอยู่แล้วก็ต้องทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ไป เพราะว่าถ้าเขาไม่เลี้ยงเรามาก็ไม่แน่ใจว่าจะรอดมาจนป่านนี้ บุญคุณกับความแค้นมันทดแทนกันได้ พ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดแต่ว่าเขาเป็นผู้ให้ชีวิตรักษาชีวิตเรารอด แต่ถ้าหากว่าไม่ใช่ผู้ปฎิบัติธรรมนี่ เออ มันฆ่าพ่อแม่เราก็ไม่ดีก็ลงมือเอาเหมือนกัน (หัวเราะ) ต้องตัวอย่างฑีฆาวุกุมาร ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าจะเป็นพระเจ้าปเสนทิโกศล สมัยก่อนการตีบ้านตีเมืองคนอื่นเป็นการแสดงออกซึ่งพระราชอำนาจ มันเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของทหารของพระมหากษัตริย์
              คราวนี้การที่ไปตีบ้านตีเมืองของพระเจ้าฑีฆีติโกศล ทำให้เขาตายแล้วลูกหนีรอดไปได้ ไปเรียนศิลปศาสตร์กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เสร็จก็กลับมาล้างแค้นให้พ่อแม่ ทำอย่างไรจะเข้าใกล้ตัวได้ ก็ไปสมัครเป็นคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า พอกลางคืนก็ดีดพิณกล่อม ระบายอารมณ์หรือว่ากล่อมช้างกล่อมม้าไปด้วยในต้ว ปรากฏว่าเสียงพิณได้ยินเข้าไปถึงในปราสาท พระเจ้าแผ่นดินท่านก็ว่า เออ คนนี้เขาเก่ง เลยเรียกเข้ามาให้เป็นนักดนตรีประจำพระองค์มีหน้าที่ดีดพิณขับกล่อมแล้ว ฑีฆาวุกุมารเป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนตั้งใจปฎิบัติงานดี พระเจ้าแผ่นดินท่านก็ไว้ใจจนกระทั่งกลายเป็นมหาดเล็กส่วนพระองค์ไป
              คราวนี้วันหนึ่งออกล่าสัตว์ก็ไปด้วยกัน ฑีฆาวุกุมารขับรถม้าให้ก็แกล้งขับซะเร็วจนพวกทหารตามไม่ทันลดเลี้ยวไปตามป่าจนกระทั่งแกล้งบอกว่าหลงทาง พระเจ้าปเสนทิโกศลท่านเหนื่อยมากขอพักนอนหนุนตักฑีฆาวุกุมารนั่นแหละแล้วก็หลับ ฑีฆาวุกุมารเห็นว่าได้โอกาสล้วงมีดออกมาว่าจะเสียบเสียซะ มานึกถึงว่าตอนที่พระเจ้าฑีฆาติโกศลผู้เป็นพ่อจะโดนประหารชีวิต ฑีฆาวุกุมารหนีรอดไปแล้วแต่แอบมาดูการประหาร พระเจ้าฑีฆาติโกศลรู้อยู่ว่าลูกตัวเองมา ก็ตะโกนขึ้นมาลอย ๆ ว่า “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” คนอื่นฟังไม่รู้เรื่อง แต่ว่าฑีฆาวุกุมารฟังรู้ว่าพ่อบอกว่า “อย่าจองเวรกัน” ถ้าหากว่าจองเวรกันต่อไปแล้วมันก็จะต่อเนื่องยาวนานกันไปไม่มีที่สิ้นสุดใช่ไหม ?
              เพราะฉะนั้นก็ควรจะตัดมันให้สั้นลง แต่ถ้าหากว่าคิดสั้นเฉพาะหน้าจะต่อความยาวสาวความยืด ให้มันเป็นเวรเป็นกรรมกันนับชาติไม่ถ้วนก็ทำเหอะ เท่ากับว่าพ่อสั่งห้ามไว้ นึกขึ้นมาได้ถึงคำสั่งพ่อก็เก็บอาวุธ มองไปมองมาความแค้นเกิดขึ้น ก็ชักอาวุธขึ้นมาใหม่ เงื้อง่าอยู่ถึง ๓ ครั้ง ๓ ครา จนในที่สุดเก็บอาวุธแล้วปลุกพระเจ้าปเสนทิโกศลขึ้นมาสารภาพว่าตัวเองเป็นเชื้อสายพระเจ้าฑีฆีติโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นฆ่าพ่อแย่งราชสมบัติไป จะล้างแค้น แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว
              เพราะฉะนั้นต่อไปนี้จะไม่อยู่ด้วยจะกลับบ้านกลับเมืองของตนเองเวรกรรมทั้งหมดขอให้สิ้นสุดลงแค่นี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลพอได้ยินก็เลยซาบซึ้งว่า ลูกศัตรูมีโอกาสก็ยังไม่แก้แค้นเลยมอบสมบัติคืนให้ครึ่งหนึ่ง เท่ากับว่ามีศักดิ์เสมอกันต่างคนต่างช่วยกันปกครองแผ่นดิน
              คราวนี้ของเรา ก็ดูสิ ถ้าเขาสมบัติเยอะ ๆ ก็ขอสักครึ่งหนึ่ง (หัวเราะ) รีบล้างแค้นไม่ได้อะไร อันนี้ไม่แน่ใจเพราะว่าอ่านมาตั้งแต่เด็ก ๆ รู้สึกว่าสมัยก่อนเรียนตอน ป. ๒ หรือ ป. ๓ เองล่ะมั้งเรื่องนี้ แต่ว่าในธรรมบทเขามีจริง ๆ รุ่นหลัง ๆ เรียนทันไหมฑีฆาวุกุมารน่ะ ? แหะ ๆ ลืมหมดแล้ว ไม่ได้เรียนเลยใช่ไหม ?
              เรื่องดี ๆ สมัยก่อนเขาเยอะเลยสมัยนี้มันตัดเกลี้ยง หน้าที่พลเมืองกับศีลธรรมเขายกเลิกไปเลยใช่ไหม ? มาระยะหลังเห็นท่าไม่ดีเปลี่ยนเป็นจริยศึกษา เฮ้อ ....มันจะศึกษาแบบอย่างที่ไหน ไอ้คนเขียนแบบมันยังหาดีไม่ได้เลย จริยะแปลว่า แบบอย่าง จริยศึกษา ก็เลียนแบบที่ดี ที่นี้แบบที่ดีมันไม่ค่อยมีให้เลียน แบบที่ดี ๆ เขาต้องวางยาให้ตาย
              หลวงตาบัวโดน (หัวเราะ) เออ มันไม่ใช่แต่หลวงตาบัวนะ สมัยก่อนหลวงพ่อเราก็โดนประจำ หลวงพ่อวัดท่าซุงนี่เขามีทั้งซุ่มยิง มีทั้งวางยา มีทั้งเล่นไสยศาสตร์ ทำกันจนทุกวิถีทางทำไม่ได้ต่างคนต่างตายไปเอง
      ถาม :  พวกนี้เขาทำไปเพื่ออะไร เขาได้อะไรคะ ?
      ตอบ :  เขาจ้างมา ของหลวงพ่อนี่บางจุดน่าเกลียดมากเลยเหตุผล ถ้าหลวงพ่อตายคนจะได้ไปวัดเขาบ้าง แหม เหตุผลทุเรศที่สุด แต่ไอ้คนรับจ้างน่ะว่าไม่ได้หรอกมันมีเงินมันก็เอาเงินใช่ไหม ? ไอ้ตัวเองอยากได้เงินทองมันก็ไม่ไป หลวงพ่อท่านได้มาเท่าไหร่ท่านก็ต้องเหนื่อยไปก่อสร้างมันก็ไหลมาเอา ๆ (หัวเราะ) คนไม่อยากได้ ได้เยอะ